พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8339/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาจำกัดในคดีสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจวินิจฉัยเบื้องต้น
การสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ กฎหมายให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย และให้หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าไม่ประสงค์ให้ศาลฎีกาเข้าไปวินิจฉัยในเรื่องที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้วินิจฉัยมาแล้ว การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ประกาศรายชื่อผู้ร้องให้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14066/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนวินัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งและการปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมาย ป.ป.ช.
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 91 บัญญัติว่า เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วมีมติว่าข้อกล่าวหาใดไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหานั้นเป็นอันตกไป ข้อกล่าวหาใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ามีมูลความผิดให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ถ้ามีมูลความผิดทางวินัย ให้ดำเนินการตามมาตรา 92 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีมีมูลความผิดทางวินัย เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดแล้วมีมติว่าผู้ถูกกล่าวหาผู้ใดกระทำความผิดวินัย ให้ประธานกรรมการส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่ พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาผู้นั้นเพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ในการพิจารณาโทษทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถือว่ารายงานเอกสารและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัยตามกฎหมายหรือระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ แล้วแต่กรณี บทบัญญัติดังกล่าวบังคับเฉพาะกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำความผิดวินัยเท่านั้นที่ให้ถือตามรายงานเอกสารและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ได้บังคับในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลความผิด จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จึงยังคงมีอำนาจมีมติให้คณะกรรมการสอบสวนวินัยสอบสวนโจทก์ได้ ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มาตรา 28 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีเลขาธิการคนหนึ่ง ซึ่งประธานกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2542 ข้อ 76 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า พนักงานผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้เลขาธิการหรือประธานกรรมการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี และ ( 2 ) กำหนดว่า สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้สั่งการ ดังนั้น แม้คณะกรรมการสอบสวนวินัยรายงานการสอบสวนโจทก์ว่าเห็นควรยุติเรื่องและจำเลยที่ 1 เห็นชอบ ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งเป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งและลงโทษโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในฐานะคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีอำนาจมีมติให้คณะกรรมการสอบสวนวินัยสอบสวนโจทก์ต่อไปได้ ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มาตรา 28 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีเลขาธิการคนหนึ่ง ซึ่งประธานกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2542 ข้อ 76 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า พนักงานผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้เลขาธิการหรือประธานกรรมการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี และ ( 2 ) กำหนดว่า สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้สั่งการ ดังนั้น แม้คณะกรรมการสอบสวนวินัยรายงานการสอบสวนโจทก์ว่าเห็นควรยุติเรื่องและจำเลยที่ 1 เห็นชอบ ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งเป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งและลงโทษโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในฐานะคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีอำนาจมีมติให้คณะกรรมการสอบสวนวินัยสอบสวนโจทก์ต่อไปได้ ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลือกตั้งใหม่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง: การใช้อำนาจตามกฎหมายและหนังสือมอบอำนาจ
ตามมาตรา 235 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 10 แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าประสงค์ให้โจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการเลือกตั้งทั้งหมด สอดคล้องกับมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ที่กำหนดให้โจทก์จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการจัดการเลือกตั้ง ประกอบกับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง กำหนดให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลทั้งในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง โดยให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. และกฎหมายอื่น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินค่าเสียหายในการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ส่วนที่ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 10 บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งทั้งหมด และมาตรา 99 วรรคสอง บัญญัติให้ค่าเสียหายที่ได้รับชดใช้จากผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้ตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นเพียงวิธีการเพื่อให้การเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว และกำหนดหน่วยงานที่จะได้รับจัดสรรเงินในกรณีที่ได้รับชดใช้จากผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับอำนาจในการฟ้องร้องดำเนินคดี