คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีไม่แน่นอน โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้จำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัย ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่ง ของเจ้าพนักงานประเมินได้ หนี้ค่าภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 แต่ก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 เมื่อหนี้ยังไม่แน่นอนจึงหาอาจถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้วได้ไม่ แม้การที่จำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำกัดเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้พิจารณาแล้วเท่านั้น
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้เป็นเจ้าพนักงานประเมินซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 16 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์เท่านั้นจะไปตั้งประเด็นใหม่นอกเหนือไปจากประเด็นเดิมที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหาได้ไม่ ส่วนการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจทำการไต่สวนและเรียกพยานมาตรวจสอบเพิ่มเติมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 32 และมีอำนาจในการวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 31 วรรคสอง นั้น คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะมีอำนาจดำเนินการดังกล่าวได้ต้องเป็นการดำเนินการ ในประเด็นเดียวกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ด้วย คดีนี้หลังจากโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535ต่อเจ้าพนักงานประเมินแล้ว เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการตรวจสอบ เห็นว่า แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้นั้นถูกต้อง แต่โจทก์คำนวณภาษีในอัตราร้อยละเจ็ดของยอดขายและยอดซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535ไม่ตรงกับตัวเลขตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ปรับปรุงการคำนวณภาษีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ในเดือนภาษีกุมภาพันธ์2535 เป็นเงิน 10,825 บาท และเดือนภาษีพฤษภาคม 2535เป็นเงิน 33 บาท ส่วนในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับเห็นว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวไม่ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบใบกำกับภาษีขายกับใบกำกับภาษีซื้อแล้ว โจทก์ได้นำใบกำกับภาษีขายและใบกำกับภาษีซื้อในเดือนภาษีอื่นนำมาเครดิตภาษีในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ขัดกับมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ววินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีและเงินเพิ่มในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535 เป็นเงิน25,585.01 บาท ส่วนเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 ให้ปลดภาษีที่จะต้องชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเสียคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องใหม่ที่ในชั้นตรวจสอบเจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งประเด็นไว้ในการไต่สวนเพื่อทำการประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 88,88/2และ 88/4 โจทก์จึงไม่มีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานและอุทธรณ์โต้แย้งตามลำดับขั้นตอนได้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยผู้พิจารณาคำอุทธรณ์ของโจทก์กลับไต่สวนเสียเอง แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ได้ความจากพยานหลักฐานที่ไต่สวนในประเด็นอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้มีคำสั่งไว้ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เพราะผู้ที่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเด็นดังกล่าวได้นั้น คือเจ้าพนักงานประเมินเท่านั้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องแยกจากกัน คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่อาจพิจารณาประเด็นนอกเหนือจากที่อุทธรณ์
ป.รัษฎากรได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินกับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้ต่างหากจากกัน โดยเริ่มแรกหากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้องตรงความเป็นจริง หรือไม่บริบูรณ์ ก็มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแสดงได้ แล้วมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิม โดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏ แล้วแจ้งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระหรือต้องชำระเพิ่มไปยังผู้ที่ ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้ผู้ต้องเสียภาษีจะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 และ 20 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรดังกล่าวตามประเด็น ที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ และผู้ที่ต้องเสียภาษีอากรได้อุทธรณ์ จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินและผู้อุทธรณ์มิได้อุทธรณ์ รวมทั้งจะเปลี่ยนแปลงหรือประเมินเพิ่มเติมจากที่ประเมินไว้เดิมไม่ได้ เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมินและยังเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 19 และ 20 แห่ง ป.รัษฎากรด้วย อีกทั้งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง ก็มิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดหรือทำการประเมินเองก็ได้แต่อย่างใด ดังนั้นการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ปลดภาษีโจทก์จากการประเมินตามมาตรา 71 (1) แล้วให้ประเมินภาษีของโจทก์ใหม่ตามมาตรา 65 โดยไม่ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินใหม่ จึงเป็นการพิจารณา ในประเด็นข้ออื่นที่มิได้ประเมินและอุทธรณ์ไว้ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นรายจ่ายต้องห้ามที่ไม่ได้รับการประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมินและไม่ได้อุทธรณ์ เป็นการข้ามขั้นตอนไม่ถูกต้อง
เจ้าพนักงานประเมินไม่ได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ถึง 2527 เกี่ยวกับประเด็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี(18) การที่คณะกรรมการวินิจฉัยว่าโจทก์มีรายจ่ายซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ อันเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(18) และปรับปรุงรายได้ของโจทก์เพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ทำการประเมินในรายการนี้ไว้และโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ ย่อมเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19,20 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องอุทธรณ์ภาษี: การยื่นอุทธรณ์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมิน
ตามมาตรา30แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดว่าในกรณีเจ้าพนักงานประเมินผู้ทำการประเมินมีสำนักงานอยู่ในเขตจังหวัดพระนครให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กรมสรรพากรไม่มีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และตามฟ้องโจทก์มิได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและเนื่องจากเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้เท่านั้น
ประมวลรัษฎากรได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินกับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้ต่างหากจากกัน โดยเริ่มแรกหากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ก็มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แล้วมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏและแจ้งจำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรดังกล่าวตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์ จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้หาได้ไม่ เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมิน อีกทั้งยังเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 19, 20
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงรายได้ของโจทก์เพิ่มขึ้นในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2526ทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ทำการประเมินในรายการนี้ จึงเป็นการพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฏากร ส่วนประมวลรัษฎากร มาตรา 31วรรคสอง นั้น มิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนภาษีอากรต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน แม้จะถูกแจ้งให้แก้ราคาสินค้า
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์มิได้มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแก่จำเลย หนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นจำเลยมิได้ต่อสู้โดยตรงว่า โจทก์มิได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเลขที่... ที่ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเลขที่ใบขนสินค้าในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายละเอียดจึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้การแก้ราคาสินค้าและจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระในใบขนสินค้ากับใบกำกับสินค้าให้สูงขึ้นจากเดิมจะเป็นการกระทำของโจทก์เองมิใช่เป็นการกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยก็ตาม แต่การแก้ดังกล่าวก็เป็นการแก้ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์กระทำ หากโจทก์ไม่แก้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยก็คงไม่ตรวจปล่อยสินค้าพิพาทจากอารักขามอบให้โจทก์ไป ทั้งโจทก์ก็ได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาสินค้าในส่วนที่เพิ่มขึ้นไว้ที่หลังใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าว แสดงว่าโจทก์มิได้แก้ราคาสินค้าและจำนวนเงินภาษีอากรด้วยความสมัครใจหรือเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย การยอมแก้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการแก้ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินแล้ว เมื่อโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามการประเมินนั้นแล้วมาอ้างว่าได้ชำระเกินกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมาย ขอเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินภาษีอากรดังกล่าวให้อันเป็นการโต้แย้งผลการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย โจทก์จึงต้องอุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้วินิจฉัยเสียก่อนว่าโจทก์เสียภาษีอากรไว้เกินกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมายหรือไม่ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยและมีคำสั่งแล้ว โจทก์จึงจะอุทธรณ์ต่อศาลหรือนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย: คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานได้
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ. โจทก์นำมาถือเป็นรายจ่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่ปรากฏว่าการจ่ายเงินจำนวนนี้ โจทก์ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้พิจารณาลดเงินเพิ่มให้เหลือเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งนับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะงดเงินเพิ่ม
เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน196,719.80 บาท มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงถือเป็นเงินได้ของโจทก์และคำนวณภาษีและเงินเพิ่มให้โจทก์เสียรวม 70,818.88 บาท แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าเงินจำนวน 196,719.80 บาทนี้ เจ้าพนักงานประเมินนำไปคำนวณภาษีโดยถือเป็นเงินได้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นภาษีที่โจทก์ถูกหักณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะเอาไปเครดิตภาษีได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้ เมื่อปรากฏว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินภาษีที่โจทก์ถูกหัก ณ ที่จ่ายก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเอามาเครดิตภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงวินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีในจำนวนที่เอาไปเครดิตไม่ได้เป็นเงิน 196,719.80 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 196,719.80 บาท ดังกล่าวนั้นได้มีการโต้แย้งกันมาแต่ชั้นเจ้าพนักงานประเมินตลอดมาจนถึงชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แก้ไขโดยคิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น หรือใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5555/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน แม้โจทก์เป็นกรมสรรพากร
ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ของจำเลยหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8 บัญญัติถึงการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ต่อศาลภาษีอากรว่าจะต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนและบทกฎหมายมาตรานี้ หาได้บังคับเฉพาะผู้ถูกประเมินแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5555/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน
ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 8 บัญญัติถึงการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ต่อศาลภาษีอากรว่าจะต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนและบทกฎหมายมาตรานี้หาได้บังคับเฉพาะผู้ถูกประเมินแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางตามบทกฎหมายดังกล่าว
of 2