คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คณะกรรมการอิสลาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7230/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแต่งตั้งถอดถอนกรรมการมัสยิด: คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจเด็ดขาด คำสั่งคณะกรรมการกลางไม่มีผลผูกพัน
ตาม พ.ร.บ.มัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 8 ให้การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิดเป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะมีคำสั่ง ไม่มีบทบัญญัติใดของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจแก้ไขคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดดังนั้น เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ใช้อำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวถอดถอนผู้ร้องที่ 2 จากตำแหน่งอิหม่าม กับถอดถอนบุคคลอีกหกคนจากตำแหน่งกรรมการของมัสยิดผู้ร้องที่ 1 แล้ว แม้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจะสั่งแก้ไขคำสั่งถอดถอนดังกล่าวและให้ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกเข้าดำรงตำแหน่งตามเดิม ก็หามีผลให้ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกเป็นกรรมการมัสยิดผู้ร้องที่ 1 ไม่และสำหรับผู้ร้องที่ 2 นั้น เนื่องจากมีคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ผู้ดำรงตำแหน่งอิหม่ามรักษาการในตำแหน่งคอเต็บ เมื่อผู้ร้องที่ 2 ถูกถอดถอนจากตำแหน่งอิหม่าม ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีฐานะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งคอเต็บตามคำสั่งดังกล่าว ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรรมการของมัสยิดผู้ร้องที่ 1 ตามคำร้อง ผู้ร้องที่ 2 และผู้ร้องที่ 1 โดยผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7230/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการมัสยิด: คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจเฉพาะ คณะกรรมการกลางอิสลามฯ แก้ไขคำสั่งไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8ให้การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิดเป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะมีคำสั่ง ไม่มีบทบัญญัติใดของพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจแก้ไขคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ใช้อำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวถอดถอนผู้ร้องที่ 2 จากตำแหน่งอิหม่าน กับถอดถอนบุคคลอีกหกคนจากตำแหน่งกรรมการของมัสยิดผู้ร้องที่ 1 แล้ว แม้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจะสั่งแก้ไขคำสั่งถอดถอนดังกล่าวและให้ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกเข้าดำรงตำแหน่งตามเดิม ก็หามีผลให้ผู้ร้องที่ 2กับบุคคลทั้งหกเป็นกรรมการมัสยิดผู้ร้องที่ 1 ไม่ และสำหรับผู้ร้องที่ 2 นั้น เนื่องจากมีคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ผู้ดำรงตำแหน่งอิหม่านรักษาการในตำแหน่งคอเต็บ เมื่อผู้ร้องที่ 2 ถูกถอดถอนจากตำแหน่งอิสลามผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีฐานะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งคอเต็บตามคำสั่งดังกล่าว ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรรมการของมัสยิดผู้ร้องที่ 1 ตามคำร้องผู้ร้องที่ 2 และผู้ร้องที่ 1 โดยผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการมัสยิด: คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจเฉพาะ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยไม่มีอำนาจ
โจทก์ฟ้องคดีนี้มีใจความสำคัญว่า โจทก์ทั้งเจ็ดกับพวกในฐานะที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ถอดถอน พ. กับพวกซึ่งเป็นกรรมการประจำมัสยิดออกจากตำแหน่งเนื่องจากกระทำการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาสนสมบัติ และเสื่อมเสียประโยชน์ของมัสยิด ทำให้เกิดการแตกแยกต่อมาจำเลยในฐานะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ประชุมมีมติและคำสั่งให้แก้ไขมติและคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดดังกล่าวเป็นว่าให้ภาคทัณฑ์ พ.กับพวกและให้กลับเข้าดำรงตำแหน่งต่อไปดังเดิม เช่นนี้เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีในฐานะที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง มิได้ฟ้องในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิดเป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะกระทำได้ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8 โดยมีระเบียบการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า) พ.ศ. 2492 ใช้บังคับซึ่งในหมวด 2 ของระเบียบดังกล่าวนี้บัญญัติในเรื่องการแต่งตั้งและถอดถอนให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดโดยเฉพาะโดยมิได้ระบุให้สิทธิกรรมการที่ถูกถอดถอนยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ ต่างกับหมวด 3 ในข้อ 21 เรื่องจริยาของกรรมการอิสลามประจำมัสยิดที่ว่า กรณีที่กรรมการอิสลามประจำมัสยิดถูกถอดถอนจากตำแหน่งเพราะละเมิดจริยาตามหมวด 3มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเพื่อวินิจฉัย และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้เมื่อปรากฏว่าตามคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้วินิจฉัยให้ พ.ออกจากตำแหน่งอิหม่ามมัสยิดร.ด้วยสาเหตุตามหมวด 2 ของระเบียบดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการขาดคุณสมบัติตามหมวด 1เป็นส่วนใหญ่และส่วนสำคัญ โดยอาศัยสาเหตุแห่งการละเมิดจริยาตามหมวด3 เป็นข้ออ้างเพิ่มเติมเท่านั้นคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขมติและคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในส่วนที่เกี่ยวกับ พ.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประชุมคณะกรรมการอิสลาม: จำนวนกรรมการที่เข้าประชุมต้องเกินกึ่งหนึ่งจึงครบองค์ประชุม คำสั่งถอดถอนไม่สมบูรณ์
ตามข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด พ.ศ.2492(ฮ.ศ.1368) ข้อ 20 กำหนดจำนวนกรรมการที่จะเป็นองค์ประชุมไว้ว่ากรรมการมาประชุมเกินกว่ากึ่งหนึ่งจึงนับเป็นองค์ประชุม เมื่อกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานครมีจำนวน15 นายกรรมการต้องมาประชุมอย่างน้อย 8 นาย จึงจะครบเป็นองค์ประชุมการประชุมของคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานครจำนวน 7 นายที่ลงมติถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งอิหม่ามไม่ครบองค์ประชุมจึงไม่มีผลบังคับโจทก์
แม้ข้อบังคับการประชุมฯ จะกำหนดให้ใช้ข้อบังคับนี้นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประธานกรรมการลงนามแล้วเป็นต้นไปและข้อบังคับที่ส่งศาลไม่ได้ระบุวันเดือนปีที่ประกาศไม่ได้ลงชื่อประธานกรรมการคงมีแต่แบบพิมพ์เว้นว่างไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างอิงคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ได้คัดค้านว่าเป็นข้อบังคับที่ไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือข้อความที่ลงพิมพ์ไม่ถูกต้องกับต้นฉบับจึงถือได้ว่าข้อบังคับดังกล่าวใช้บังคับแล้วและข้อความที่ลงพิมพ์ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการมัสยิดหลังมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด การจดทะเบียนมัสยิด และอำนาจในการโต้แย้ง
เมื่อมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลามแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านมิให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดดำเนินการให้มีคณะกรรมการประจำสุเหร่าทั้งไม่มีอำนาจขัดขวางในกรณีอิหม่ามคอเต็บและนิหลั่นขอจดทะเบียนมัสยิดหรือสุเหร่าตาม พ.ร.บ.มัสยิดอิสลามและเมื่อมัสยิดจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลถูกต้องแล้ว โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการจัดการมัสยิด: คณะกรรมการอิสลามมีอำนาจเหนือทรัสตีเดิมเมื่อมีกฎหมายสาสนูปถัมภ์
เมื่อมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลามแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านมิให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดดำเนินการให้มีคณะกรรมการประจำสุเหร่า ทั้งไม่มีอำนาจขัดขวางในกรณีอิหม่ามคอเต็บและบิหลั่นขอจดทะเบียนมัสยิดหรือสุเหร่าตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม และเมื่อมัสยิดจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลถูกต้องแล้ว โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สุเหร่าไม่ใช่ นิติบุคคล โอนที่ดินต้องได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการอิสลาม
สุเหร่าของชาวอิสลามไม่ไช่นิติบุคคล
เอกชนจะทำสัญญาเพื่อโอนที่ดินสุเหร่าตามลำพังคนเดียวไม่ได้