พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ ในการสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการหลังยึดอำนาจ และสิทธิการกลับเข้ารับราชการ
เมื่อคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินยึดอำนาจของรัฐได้โดยเด็ดขาดแล้วหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยย่อมมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการได้คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ 9/2519 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2519เป็นคำสั่งเกี่ยวเนื่องกับการบริหารราชการแผ่นดิน แม้ก่อนหน้านั้นจะมีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินหรือผู้ที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมอบหมาย และให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าเป็นอำนาจของรัฐมนตรี ให้เป็นอำนาจของปลัดกระทรวง คำสั่งดังกล่าวก็ไม่ตัดอำนาจของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่จะสั่งการเป็นกรณีเฉพาะเรื่อง เฉพาะรายตามอำนาจที่มีอยู่ ดังนั้น คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นข้าราชการ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากราชการ โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยบรรจุโจทก์กลับเข้ารับราชการไม่ได้ เพราะการขอกลับเข้ารับราชการนั้นขึ้นอยู่กับทางราชการว่าต้องการจะรับโจทก์เข้ารับราชการหรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 มาตรา 57
โจทก์เป็นข้าราชการ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากราชการ โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยบรรจุโจทก์กลับเข้ารับราชการไม่ได้ เพราะการขอกลับเข้ารับราชการนั้นขึ้นอยู่กับทางราชการว่าต้องการจะรับโจทก์เข้ารับราชการหรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 มาตรา 57
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองและจำหน่ายอาวุธปืนผิดกฎหมาย: คำสั่ง คณะปฏิรูปฯ ไม่คุ้มครองการค้า
ประกาศของคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 12 วันที่ 7 ตุลาคม 2519ยกเว้นโทษแก่ผู้นำอาวุธปืนที่ใช้เฉพาะการสงครามไปมอบแก่เจ้าหน้าที่ ไม่คุ้มครองถึงกรณีที่มีอาวุธปืนเพื่อการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการเลือกตั้งถูกจำหน่ายคดีเนื่องจากรัฐธรรมนูญและรัฐสภาสิ้นสุดลงหลังมีคำสั่งคณะปฏิรูปฯ
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ ขอให้มีการเลือกตั้งใหม่ ปรากฏว่าขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้มีคำสั่งให้รัฐธรรมนูญซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นและรัฐสภาสิ้นสุดลง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาที่ผู้ร้องฎีกา เพราะไม่อาจจะบังคับคดีให้เป็นไปตามคำร้องของผู้ร้องได้ ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13104/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของประกาศคณะปฏิรูปฯ ต่อกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และการพิสูจน์ความผิดฐานซื้อเสียง
แม้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 จะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีฐานะเป็น พ.ร.บ.ฉบับหนึ่งที่มีการประกาศใช้แยกมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทยฯ การที่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ สิ้นสุดลง หามีผลทำให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 สิ้นลงตามไปด้วยไม่ อีกทั้งประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ข้อ 4 ยังได้บัญญัติด้วยว่า "ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญคงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย" อันเป็นการรับรองให้กฎหมายทั้งปวงที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนการปฏิรูปการปกครอง ยังมีผลบังคับใช้ต่อไปอีกด้วย ดังนั้น เมื่อไม่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับใดออกมาบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงยังมีผลใช้บังคับต่อไป
แม้ในระหว่างพิจารณาคดีได้มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ออกมาใช้บังคับโดยให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 แต่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ก็ยังคงบัญญัติให้การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง (1) ดังนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (5)
แม้ในระหว่างพิจารณาคดีได้มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ออกมาใช้บังคับโดยให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 แต่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ก็ยังคงบัญญัติให้การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง (1) ดังนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (5)