คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีครอบครัว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีครอบครัว: ทุนทรัพย์เกินสองแสน และไม่ใช่สิทธิสภาพบุคคล
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนของหมั้น สินสอด และชดใช้ค่าเสียหายเพราะผิดสัญญาหมั้นแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 169,500 บาท จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท และไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1103/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาสมทบในคดีครอบครัว: ไม่จำต้องมีหากบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 24 วรรคท้ายและมาตรา 109 มุ่งประสงค์ที่จะให้การพิจารณาคดีครอบครัวที่ต้องมีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะด้วย ก็แต่เฉพาะคดีครอบครัวที่มีผู้เยาว์เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีเท่านั้น เมื่อขณะฟ้องบุตรทุกคนบรรลุนิติภาวะแล้วจึงเป็นคดีครอบครัวที่ไม่มีเป็นผู้เยาว์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่จำต้องมีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามคู่ความก่อนการพิจารณาคดีว่าประสงค์จะให้มีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะด้วยหรือไม่จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3290/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูที่เหมาะสม
เด็กหญิง อ. เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับจำเลย แม้มิได้จดทะเบียนสมรสกัน เด็กหญิง อ. ก็เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 แม้เด็กหญิง อ. จะอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของ น. กับ ป. ซึ่งเป็นบิดามารดาของโจทก์ที่ 1 หรือต่อมาหลังจากฟ้องคดีนี้แล้วน. กับ ป. จะไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง อ. เป็นบุตรบุญธรรมก็ตามก็หากระทบกระทั่งถึงสิทธิของเด็กหญิง อ. โจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมในการนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนรับรองเด็กหญิง อ. เป็นบุตรตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ เพราะการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรานี้ระบุให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทนผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจกระทำในนามส่วนตัวได้ แต่กระทำการในฐานะผู้ฟ้องแทนได้ ดังนั้น โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานในคดีเยาวชนและครอบครัว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จำคุก 1 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 7 ปี รวมจำคุก 8 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 3 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกสถานหนึ่ง แต่เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โดยกำหนดโทษและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีจึงไม่เป็นการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกสถานหนึ่งก็ตาม แต่คงให้ลงโทษตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไข คำพิพากษาศาลชั้นต้นเล็กน้อย โดยยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์มีเหตุสงสัยหลายประการฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม บทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีครอบครัว: สถานที่จดทะเบียนหย่าเป็นที่เกิดมูลคดี
บันทึกในทางทะเบียนการหย่าตามฟ้องทำที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ทำหน้าที่ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองจึงถือว่า เป็นกรณีที่อ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่านั้น แม้จำเลยและบุตรทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ก็ตาม ก็ถือว่าสถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนการหย่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในท้องที่ที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงในทะเบียน การหย่าไว้นั้น จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับ คำฟ้อง โจทก์แล้ว ต่อมามีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดี เมื่อศาลสูงเห็นว่า ไม่ถูกต้อง ย่อมพิพากษากลับเป็นให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์แล้วให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากกระบวนพิจารณาที่ได้ทำไว้ก่อนวันมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีสินสอดเป็นคดีครอบครัว ต้องส่งประธานศาลฎีกาวินิจฉัย
เมื่อปรากฏจากคำให้การและอุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งว่า โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินสอดเป็นคดีครอบครัว โจทก์จึงไม่มีอำนาจ ยื่นฟ้องคดีที่ศาลแขวงขอนแก่น เป็นการชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชอบที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 12 ซึ่งกำหนดถึงกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจ ศาลเยาวชนและครอบครัว หรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1พิจารณาพิพากษาคดีนี้ไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย บทกฎหมาย เมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่นหรือไม่ ขึ้นมาสู่การพิจารณา ของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากข้อตกลงก่อนหย่ามีผลบังคับใช้ได้ และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีครอบครัว
บันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ. 4 นั้น มีข้อตกลงเรื่องการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรของโจทก์และจำเลย แม้จะเป็นข้อตกลงที่ทำไว้ก่อนที่โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนหย่ากันตามกฎหมายก็ตาม เมื่อยังไม่มีการยกเลิกย่อมมีผลใช้บังคับ เพราะไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้สามีภริยาทำข้อตกลงดังกล่าวไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูตามข้อตกลงในเอกสารหมาย จ. 4
โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 มิถุนายน 2539 ซึ่งในขณะนั้นมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาที่ 3/2535 และ 7/2537 ที่วินิจฉัยว่า คดีดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จึงมีอำนาจที่จะรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาได้ แม้ว่าต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาที่ 3/2540 และ 4/2540 วินิจฉัยว่าคดีประเภทเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้อำนาจในการรับฟ้องและการพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ที่ชอบมาตั้งแต่ต้นตามคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาเดิมนั้นเสียไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และเมื่อประธานศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีครอบครัวดังวินิจฉัยมาแล้ว ทั้งเมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏขึ้นในชั้นอุทธรณ์ก็ได้มีการโอนคดีของโจทก์ไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ. 2534 มาตรา 15 วรรคสอง จึงถือได้ว่าการพิจารณาพิพากษาของศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีครอบครัวมีทุนทรัพย์: การชำระค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้องทั้งคดี
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคสองที่บัญญัติยกเว้นให้มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ไว้ว่า"บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครอง" นั้น มีความหมายว่าถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวแล้วมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้เท่านั้นแต่หาได้มีความหมายไปถึงว่าคดีเกี่ยวกับสิทธิสภาพบุคคลและสิทธิในครอบครัวดังกล่าวเป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์เสมอไปไม่ โจทก์ฟ้องหย่าและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพอันเป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องในครอบครัวระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันจึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวซึ่งมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคสองและ248วรรคสองแต่การที่โจทก์เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูมาจำนวน180,000บาทและเรียกค่าทดแทนมาจำนวน200,000บาทรวม380,000บาทอันเป็นการฟ้องเรียกร้องทรัพย์สินมีค่าเป็นจำนวนเงินเข้ามาด้วยกรณีสีจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งโจทก์จำต้องจำต้องชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเฉพาะเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าทดแทนที่โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระตามกฎหมายเท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ชำระจึงเป็นการทิ้งฟ้องเฉพาะในส่วนข้อกำหนดตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้เท่านั้นคำฟ้องเฉพาะเรื่องขอหย่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่จำต้องชำระค่าขึ้นศาลส่วนคำฟ้องเกี่ยวกับคำขอค่าเลี้ยงชีพเป็นคำฟ้องเรียกค่าเสียหายในอนาคตซึ่งโจทก์ได้ชำระค่าขึ้นศาลในอนาคตไว้ถูกต้องแล้วเมื่อฟ้องของโจทก์ในสองส่วนนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายอยู่และแยกเป็นคนละส่วนจากคำฟ้องที่โจทก์ทิ้งฟ้องได้เช่นนี้จึงไม่มีเหตุที่จะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องในสองส่วนนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9270/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีล้มละลาย: เพิกถอนการโอนทรัพย์สินของผู้เยาว์ ไม่เข้าข่ายคดีครอบครัว
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินของผู้ล้มละลายกับผู้คัดค้านซึ่งต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 อันเป็นกฎหมายพิเศษ มิใช่คดีแพ่งที่ฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แม้ผู้คัดค้านเป็นผู้เยาว์ก็ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลที่พิจารณาคดีล้มละลายจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีครอบครัว – การวินิจฉัยอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวโดยประธานศาลฎีกา
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 12กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้วินิจฉัย ชี้ขาดในปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือไม่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัย เมื่อมีปัญหาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลชั้นต้นขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาศาลฎีกาจึงส่งสำนวนไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป
of 3