พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389-390/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เช็ค การพิจารณาคดีความเกี่ยวพัน และการปฏิเสธชำระหนี้โดยชอบธรรม
คดีความผิดเกี่ยวพันกัน เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 25 หาจำต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอไม่
จำเลยกู้เงินโจทก์ 2 ครั้ง เพื่อนำไปลงทุนรับเหมาก่อสร้างอาคารของกรมตำรวจครั้งแรกกู้ 150,000 บาท จำเลยทำสัญญากู้และออกเช็คล่วงหน้าลงวันที่ 18 พ.ย. 2499 ลงจำนวนเงิน 150,000 บาท ให้โจทก์ไว้ กับทำหนังสือมอบฉันทะให้โจทก์ไปรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมตำรวจด้วย ครั้งที่ 2 กู้ 490,000 บาท ทำสัญญากู้และออกเช็คล่วงหน้าลงวันที่ 28 ก.พ. 2500 ลงจำนวนเงิน 490,000 บาท กับทำหนังสือมอบฉันทะมอบให้โจทก์เหมือนอย่างกู้ครั้งแรก ต่อมาวันที่ 26 ก.ย. 2499 โจทก์นำใบมอบฉันทะนั้นไปรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมตำรวจเป็นเงิน 249,000 บาท โดยโจทก์มิได้นำเงินนั้นมามอบให้จำเลยหรือเข้าบัญชีของจำเลยในธนาคาร จึงต้องถือว่าเป็นเงินที่จำเลยชำระหนี้ ให้โจทก์ในมูลหนี้เงินกู้ทั้ง 2 ราย และไม่พอชำระหนี้ได้หมดทั้ง 2 ราย เมื่อลูกหนี้ไม่ได้ระบุว่าชำระหนี้รายใด ก็ต้องถือว่า หนี้รายไหนถึงกำหนดก่อน เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 ดังนั้น หนี้เงินกู้รายแรกซึ่งถึงกำหนดชำระก่อน ก็ต้องถือว่าได้ถูกชำระหนี้หมดสิ้นไปแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามมิให้ธนาคารจ่ายเงินให้โจทก์ตามเช็คฉบับแรก นั้นได้ ส่วนเงินที่โจทก์รับแทนจำเลยจากกรมตำรวจนั้น เมื่อหักหนี้เงินกู้ทั้ง 2 รายแล้ว จำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เพียง 391,000 บาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ให้เต็มจำนวน 490,000 บาท ตามเช็คฉบับหลังได้ เมื่อโจทก์เอาเช็คฉบับหลังไปขึ้นเงิน เพื่อเอาชำระหนี้ตนเกินกว่าที่ตนมีสิทธิจำเลยย่อมปฏิเสธชำระหนี้ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยห้ามมิให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คฉบับหลัง จึงไม่ใช่เป็นการห้ามโดยเจตนาทุจริต การที่โจทก์นำเช็ค 2 ฉบับ ดังกล่าวไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3
จำเลยกู้เงินโจทก์ 2 ครั้ง เพื่อนำไปลงทุนรับเหมาก่อสร้างอาคารของกรมตำรวจครั้งแรกกู้ 150,000 บาท จำเลยทำสัญญากู้และออกเช็คล่วงหน้าลงวันที่ 18 พ.ย. 2499 ลงจำนวนเงิน 150,000 บาท ให้โจทก์ไว้ กับทำหนังสือมอบฉันทะให้โจทก์ไปรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมตำรวจด้วย ครั้งที่ 2 กู้ 490,000 บาท ทำสัญญากู้และออกเช็คล่วงหน้าลงวันที่ 28 ก.พ. 2500 ลงจำนวนเงิน 490,000 บาท กับทำหนังสือมอบฉันทะมอบให้โจทก์เหมือนอย่างกู้ครั้งแรก ต่อมาวันที่ 26 ก.ย. 2499 โจทก์นำใบมอบฉันทะนั้นไปรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมตำรวจเป็นเงิน 249,000 บาท โดยโจทก์มิได้นำเงินนั้นมามอบให้จำเลยหรือเข้าบัญชีของจำเลยในธนาคาร จึงต้องถือว่าเป็นเงินที่จำเลยชำระหนี้ ให้โจทก์ในมูลหนี้เงินกู้ทั้ง 2 ราย และไม่พอชำระหนี้ได้หมดทั้ง 2 ราย เมื่อลูกหนี้ไม่ได้ระบุว่าชำระหนี้รายใด ก็ต้องถือว่า หนี้รายไหนถึงกำหนดก่อน เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 ดังนั้น หนี้เงินกู้รายแรกซึ่งถึงกำหนดชำระก่อน ก็ต้องถือว่าได้ถูกชำระหนี้หมดสิ้นไปแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามมิให้ธนาคารจ่ายเงินให้โจทก์ตามเช็คฉบับแรก นั้นได้ ส่วนเงินที่โจทก์รับแทนจำเลยจากกรมตำรวจนั้น เมื่อหักหนี้เงินกู้ทั้ง 2 รายแล้ว จำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เพียง 391,000 บาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ให้เต็มจำนวน 490,000 บาท ตามเช็คฉบับหลังได้ เมื่อโจทก์เอาเช็คฉบับหลังไปขึ้นเงิน เพื่อเอาชำระหนี้ตนเกินกว่าที่ตนมีสิทธิจำเลยย่อมปฏิเสธชำระหนี้ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยห้ามมิให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คฉบับหลัง จึงไม่ใช่เป็นการห้ามโดยเจตนาทุจริต การที่โจทก์นำเช็ค 2 ฉบับ ดังกล่าวไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3