คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีจราจร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษคดีจราจรและการไม่แก้ไขโทษที่ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) ฐานขับรถขณะเมาสุรา และมาตรา 78 วรรคหนึ่งฐานไม่หยุดให้การช่วยเหลือและแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด ย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนต้องกันมาให้รอการลงโทษแก่จำเลยกับให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ ดังนี้ แต่โจทก์มิได้ฎีกาศาลอุทธรณ์ฎีกามาแต่เฉพาะในปัญหาว่าไม่ควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย ดังนี้เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าที่ศาลล่างทั้งสองรอการลงโทษจำคุกโดยคุมความประพฤติจำเลยไว้เป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอในฟ้องฎีกาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2870/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจราจร: ศาลฎีกาพิจารณาเองได้แม้ไม่มีการอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา43, 78, 157, 160 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมา จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 4 มกราคม 2529 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 8 มิถุนายน 2537 คดีของโจทก์สำหรับความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหานี้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2870/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจราจร: ศาลฎีกายกฟ้องข้อหาจราจรที่ขาดอายุความ แม้ไม่มีการอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43,78,157,160วรรคหนึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่1เดือนลงมาจึงมีอายุความเพียง1ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95(5)จำเลยกระทำความผิดวันที่4มกราคม2529นับถึงวันฟ้องคือวันที่8มิถุนายน2537คดีของโจทก์สำหรับความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(6)ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับอำนาจโจทก์ร่วมในคดีจราจร และการโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 43, 45, 157 และ ป.อ. มาตรา 300 สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายโจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายเฉพาะข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 300 เท่านั้น เมื่อผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตพอแปลความหมายได้ว่าอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมเฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 300
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยหลงข้อต่อสู้เพราะตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวหาว่า จำเลยขับรถแซงทางด้านซ้ายและเกิดเหตุเฉี่ยวชนที่ไหล่ทางจำเลยต่อสู้คดีตลอดมาว่า ไม่ได้แซงทางด้านซ้ายและไม่ได้เฉี่ยวชน ข้อเท็จจริงก็ได้ความตามที่จำเลยต่อสู้ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ ถ้าในขณะยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายแล้วก็เป็นอุทธรณ์ที่ชอบ ถึงแม้ภายหลังจะมีบทกฎหมายบัญญัติขึ้นใหม่ให้ต้องห้ามอุทธรณ์ก็ไม่ตัดสิทธิของผู้อุทธรณ์ที่จะได้รับการพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4390/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดีจราจร: ราษฎรไม่มีสิทธิเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ราษฎรย่อมไม่เป็นผู้เสียหายไม่มีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาโดยจำเลยเป็นผู้ฎีกา แม้ศาลฎีกาพิพากษายืน ก็ให้ยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายในคดีจราจรและอันตรายแก่กาย: การพิจารณาความเสียหายทางกายภาพและสิทธิในการฎีกา
ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรนั้น โจทก์ร่วมไม่ใช่เป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานนี้โดยตรงจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
รอยบาดเจ็บเพียงโหนกแก้มถลอกโตกลมประมาณ 3 เซ็นติเมตรเข่าบวมโตกลมประมาณ 5 เซ็นติเมตร ข้อศอกหนังถลอกโตกลมประมาณ 5 เซ็นติเมตร รักษาประมาณ 4 วัน ยังไม่เป็นอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390