พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3065/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐาน: การพิพากษาคดีชิงทรัพย์ที่ขัดแย้งกัน และผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือคำเบิกความ
ผู้เสียหายถูกคนร้ายชิงทรัพย์ ผู้เสียหายเบิกความในคดีนี้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ตีศีรษะและใช้มีดจี้ปลดทรัพย์ของผู้เสียหาย ระหว่างพิจารณาคดีนี้ในศาลอุทธรณ์ เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม ส. กล่าวหาว่าเป็นคนร้ายชิงทรัพย์ผู้เสียหายในวันเวลาเดียวกันกับคดีนี้ ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้อง ส. เป็นจำเลยในข้อหาเดียวกันกับคดีนี้ ส. ให้การรับสารภาพ ผู้เสียหายเบิกความในคดีดังกล่าวว่า ส. เป็นคนร้ายกระทำการเช่นเดียวกับที่เบิกความว่าจำเลยคดีนี้กระทำในขณะเดียวกัน เมื่อศาลคดีดังกล่าวฟังว่า ส. เป็นคนร้ายและพิพากษาลงโทษคดีถึงที่สุดแล้ว ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยเป็นคนร้ายคดีนี้จึงฟังไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหารยังคงมีผลแม้เลิกใช้กฎอัยการศึก คดีชิงทรัพย์ที่เกิดก่อนหน้านี้ยังอยู่ในอำนาจพิจารณา
ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2516 เวลากลางคืน ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 แม้ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 พ.ศ. 2517 มาตรา 3 ยกเลิกความผิดบางประเภทรวมทั้งความผิดนี้ แต่มาตรา 4 ให้คดีที่เกิดขึ้นหรือหลังวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 เวลา 20.11 นาฬิกา จนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2517 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้คงอยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษา และแม้จะมีประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัด ลงวันที่ 18 มีนาคม 2517 ให้ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัดรวมทั้งจังหวัดฉะเชิงเทราด้วย ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2517 เวลา 6.00 นาฬิกา เป็นต้นไปก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503 มาตรา 4 ก็บัญญัติว่า เมื่อเลิกใช้กฎอัยการศึกศาลทหารยังคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ค้างอยู่ในศาลหรือที่ยังมิได้ฟ้องเช่นคดีนี้ได้ ฉะนั้น ศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ที่ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราและศาลอุทธรณ์รับคำฟ้องและดำเนินการพิจารณาพิพากษามา จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวดับอำนาจศาล คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีชิงทรัพย์ที่เกิดก่อนประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก ยังคงอยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ฟ้องต่อศาลพลเรือน
ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 เหตุเกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2516 เวลากลางคืน ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พ.ศ.2514 แม้ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 พ.ศ.2517 มาตรา 3 ยกเลิกความผิดบางประเภทรวมทั้งความผิดนี้ แต่มาตรา 4 ให้คดีที่เกิดขึ้นในหรือหลังวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 เวลา 20.11 นาฬิกา จนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2517 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คงอยู่ในอำนาจศาลทหาร พิจารณาพิพากษา และแม้จะมีประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัดลงวันที่ 18 มีนาคม 2517 ให้ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัดรวมทั้งจังหวัดฉะเชิงเทราด้วย ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2517 เวลา 6.00 นาฬิกา เป็นต้นไปก็ตามแต่พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503มาตรา 4 ก็บัญญัติว่า เมื่อเลิกใช้กฎอัยการศึกศาลทหารยังคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ค้างอยู่ในศาล หรือที่ยังมิได้ฟ้องเช่นคดีนี้ได้ฉะนั้น ศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราและศาลอุทธรณ์รับคำฟ้องและดำเนินการพิจารณาพิพากษามา จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจศาล คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีชิงทรัพย์ แม้สร้อยไม่เป็นของผู้เสียหายโดยตรง แต่โจทก์ได้รับมอบหมายให้ใช้
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีชิงทรัพย์สร้อยคอแม้จะไม่ได้ระบุว่าสร้อยนั้นเป็นของโจทก์ทั้งได้ความว่าเป็นของมารดาโจทก์ให้โจทก์ใส่แต่ก็บรรยายว่าจำเลยแย่งไปจากคอโจทก์ก็ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเกี่ยวพันของโทษจำคุกและกักกันในคดีชิงทรัพย์ การพิจารณาโทษทั้งสองอย่างต่อเนื่อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตาม ม.299 แห่งกฎหมายอาญา กับให้ลงโทษกักกัน 3 ปี จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกโทษกักกันศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยได้ เพราะเป็นกรณีเกี่ยวพันกัน