พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีเรื่องเดียวกันซ้ำในศาลต่างกัน เป็นการฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการแก้ไขคำฟ้อง
คดีก่อนคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยพนักงานอัยการในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ในกรณีที่โจทก์คดีนี้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจากจำเลย โดยชำระเงินจองและผ่อนชำระราคาไปแล้ว ขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์คดีนี้ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์ได้ชำระไปตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารรายเดียวกันอีก จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นเพียงซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาโจทก์ในคดีก่อนจะขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอตัดรายชื่อโจทก์คดีนี้จากคำฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์คดีนี้ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2413/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในคดีซ้ำ จำเลยต้องรับโทษเดิมด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 12 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1570/2544 ของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2544 ซึ่งมิใช่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และจำเลยกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ขึ้นอีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ ขอศาลได้เพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมายด้วย คำขอท้ายคำฟ้องได้ระบุมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ไว้ด้วย ชั้นพิจารณาจำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพตลอดข้อหาและศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์จำเลยลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าว ดังนั้น คำให้การจำเลยที่รับสารภาพจึงย่อมหมายรวมถึงการรับว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์กล่าวหาในคำฟ้องตลอดจนรับตามบทบัญญัติที่ขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องด้วย ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จึงต้องเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีทรัพย์มรดกที่ศาลเคยมีคำพิพากษาแล้ว การฟ้องคดีซ้ำจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้าม
คดีแพ่งเรื่องก่อนพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ท. โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จำเลยคดีนี้ยื่นคำคัดค้านว่าเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุ ท. ที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศตกเป็นสมบัติของวัดจำเลย จึงมีประเด็นว่า พระภิกษุ ท. ได้ทรัพย์สินมาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศหรือไม่และเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่โจทก์หรือไม่ ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยกล่าวอ้างทำนองเดียวกันกับคดีก่อน แม้คดีก่อนพนักงานอัยการจะเป็นผู้ร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้อยู่แล้วให้พนักงานอัยการร้องขอแทน จึงถือได้ว่าเป็นการร้องขอแทนโจทก์ เมื่อคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทย่อมถือได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำเกี่ยวกับสัญญาเช่าเดิม แม้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษาในคดีก่อน ก็ต้องห้ามตามมาตรา 144
คดีก่อนจำเลยฟ้องขับไล่โจทก์ว่าสัญญาเช่าที่ทำกันไว้ 7 ปี ใช้บังคับได้เพียง 3 ปีและโจทก์ผิดสัญญาเช่าเพราะไม่ชำระค่าเช่าสัญญาเช่าจึงเป็นอันเลิกกัน โจทก์ให้การว่ามิได้ผิดสัญญาเช่า ขอให้ยกฟ้อง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าสัญญาเช่ามีกำหนด3 ปี ขึ้นไป แต่ไม่ได้จดทะเบียนจึงตกเป็นโมฆะ ขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำตามสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทั้งคำฟ้องคดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลวินิจฉัยเกี่ยวกับสัญญาเช่าในทรัพย์สินเดียวกับคดีก่อนที่สืบเนื่องมาจากประเด็นเดียวกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในคดีก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะได้วินิจฉัยชี้ขาดก็ตาม แต่เมื่อศาลในคดีก่อนได้พิจารณาชี้ขาดแล้ว ก็ตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 144 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีซ้ำ และการเพิกถอนการรอการลงโทษ กรณีผู้ต้องหาพ้นโทษแล้วกระทำผิดซ้ำ
ตามคำแถลงการณ์ประกอบอุทธรณ์ของจำเลยรับว่า จำเลยเคยกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตมาก่อน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษจำคุก 1 ปี แต่ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษจำคุกให้มีกำหนด 2 ปี และจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีกภายในระยะเวลาที่รอการลงโทษไว้ ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและมิได้ขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับคดีนี้มาในท้ายฟ้อง อีกทั้งมิได้อุทธรณ์ขอให้บวกโทษก็ตาม ก็เป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก นอกจากนี้ คำว่า "ศาล" ตามมาตราดังกล่าวก็หมายถึงทุกชั้นศาล หาได้มีความหมายเฉพาะศาลชั้นต้นที่มีอำนาจกำหนดโทษตามที่จำเลยฎีกาไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์นำโทษจำคุก 1 ปี ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7265/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีเดิมที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา ถือเป็นฟ้องซ้อน ห้ามตามกฎหมาย
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่า จำเลยตกลงเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ มีการทำสัญญาเช่าและต่อสัญญาเช่าหลายครั้งต่อมาเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปจึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ส่งคืนตึกแถวที่เช่ากับมีคำขอให้จำเลยออกไปจากตึกแถวที่เช่าและที่เช่าและใช้ค่าเสียหาย คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จะให้จำเลยเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้ทรงสิทธิใดในตึกแถวที่ให้เช่าและสิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำนืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งผู้ให้เช่าก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า ประกอบกับจำเลยได้ยื่นำให้การต่อสู้คดีในลักษณะเข้าใจข้อหาได้ดีและยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวตามฟ้องของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย แม้จะอาศัยเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนซึ่งโจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องได้ในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำคำฟ้องคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้ง จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง
ในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวตามฟ้องของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย แม้จะอาศัยเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนซึ่งโจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องได้ในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำคำฟ้องคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้ง จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7720/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด ห้ามฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
คดีล้มละลายเรื่องก่อน ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาแล้วไม่มีการอุทธรณ์ต่อไป คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายคดีนี้ขณะคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด เพราะอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 ประกอบด้วยพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีแล้วโดยพิพากษายกฟ้องเพราะพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายโดยอาศัยข้อเท็จจริงในหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมรายเดียวกันและข้ออ้างอันเป็นเหตุว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกันกับที่ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 และ 247ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีแล้วโดยพิพากษายกฟ้องเพราะพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายโดยอาศัยข้อเท็จจริงในหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมรายเดียวกันและข้ออ้างอันเป็นเหตุว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกันกับที่ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 และ 247ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีที่พิพาทซ้ำกับคดีก่อน ศาลยกฟ้องตามมาตรา 144
ปัญหาว่า โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณา คดีนี้ซ้ำและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งเรื่องก่อนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และมาตรา 148 หรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิ ที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง เดิมจำเลยทั้งสามในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ส.และต.เป็นจำเลยเป็นคดีแพ่งโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของ ผู้ครอบครองที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ต่อมาส.และต. ไปขอออก น.ส.3 ก. เลขที่ 4618โดยมิชอบทับที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ของจำเลยทั้งสามส.และต. ให้การว่า การขอออก น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ถูกต้องและได้เข้าครอบครองที่พิพาท อย่างเจ้าของ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า น.ส.3 ก. เลขที่ 4618 ออกทับที่พิพาทของจำเลยทั้งสาม อันจะต้องเพิกถอนหรือไม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องสอด ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ในคดีก่อน โจทก์จึงเป็นคู่ความในคดีก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) และ ต้องถูกผูกพันในกระบวนพิจารณาของศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เมื่อ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี ในคดีก่อนแล้วว่า น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ออกทับที่ของจำเลยทั้งสามตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ให้เพิกถอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 4618 อีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ก่อนศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนก็ตาม แต่เมื่อ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดคดีในคดีก่อนแล้ว กรณีก็ต้อง ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การยื่นคำร้องสอดที่มีประเด็นซ้ำกับคดีที่กำลังพิจารณาอยู่
ป.วิ.พ.มาตรา 1(3), 57, 58, 173
ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่า ผู้ร้องได้ซื้อและครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท และได้ฟ้องโจทก์และจำเลยเป็นคดีแพ่ง ขอให้บังคับโจทก์และจำเลยในคดีนี้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีเหตุจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ เป็นการตั้งสิทธิขึ้นมาใหม่เพื่อพิพาทกับคู่ความเดิม จึงเป็นการร้องสอดเข้ามาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) ผู้ร้องมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่า ตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ตามมาตรา 58 วรรคแรก และคำร้องสอดดังกล่าวถือว่าเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องสอดคดีนี้ ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลเดียวกันนี้อ้างว่า ผู้ร้องได้ซื้อและครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทอยู่ในปัจจุบัน ขอให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้แก่ผู้ร้อง อันเป็นประเด็นเดียวกับที่ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ เมื่อคดีที่ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนนั้นยังอยู่ในระหว่างพิจารณา จึงห้ามมิให้ผู้ร้องยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น ตามมาตรา 173 (1) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่า ผู้ร้องได้ซื้อและครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท และได้ฟ้องโจทก์และจำเลยเป็นคดีแพ่ง ขอให้บังคับโจทก์และจำเลยในคดีนี้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีเหตุจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ เป็นการตั้งสิทธิขึ้นมาใหม่เพื่อพิพาทกับคู่ความเดิม จึงเป็นการร้องสอดเข้ามาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) ผู้ร้องมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่า ตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ตามมาตรา 58 วรรคแรก และคำร้องสอดดังกล่าวถือว่าเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องสอดคดีนี้ ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลเดียวกันนี้อ้างว่า ผู้ร้องได้ซื้อและครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทอยู่ในปัจจุบัน ขอให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้แก่ผู้ร้อง อันเป็นประเด็นเดียวกับที่ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ เมื่อคดีที่ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนนั้นยังอยู่ในระหว่างพิจารณา จึงห้ามมิให้ผู้ร้องยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น ตามมาตรา 173 (1) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีแบ่งสินสมรสที่มีประเด็นและคำขอซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งสินสมรส คิดเป็นเนื้อที่ดิน 7 ไร่เศษที่ศาลชั้นต้น ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่ดินทั้งสามแปลงเป็นสินสมรส จำเลยนำไปขายขอให้บังคับจำเลยแบ่งเงินค่าที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับคดีก่อน จึงมีสภาพแห่งข้อหา ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย และคำขอบังคับอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน