พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 20,000 บาท: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการวางเงินประกัน ทำให้ศาลยกคำร้อง
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาในคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาทศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงการที่จำเลยยื่นคำร้องโดยอ้างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายนั้น เนื้อแท้ของคำร้องก็คือการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยตามมาตรา 234นั่นเอง เมื่อจำเลยไม่นำค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษา มาวางศาลภายในเวลาที่ศาลอุทธรณ์กำหนด ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาวินิจฉัยคดี: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องแม้ทุนทรัพย์น้อย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3จำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิเสธว่ามิได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 แต่ก่อนสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 รับว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ดังนี้ โจทก์ต้องนำสืบต่อไปว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ดังที่ฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบเช่นนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาวินิจฉัยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวน แม้ทุนทรัพย์คดีไม่เกิน 20,000 บาท ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง และการฟังข้อเท็จจริงใหม่ที่จำเลยร่วมเป็นผู้เอาประกันภัย
โจทก์สองคนฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายรวมเป็นเงิน 60,619 บาท โดยโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่ถูกชนเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ กับค่าที่รถยนต์เสื่อมราคารวมเป็นเงิน 27,500 บาท และโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยเรียกร้องเงินที่ได้ชดใช้ค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์และค่าลากจูงรถยนต์คันเกิดเหตุไปทำการซ่อมรวมเป็นเงิน 30,809 บาทดังนี้ไม่ใช่เป็นหนี้ร่วมที่ไม่อาจจะแบ่งแยกได้ โจทก์แต่ละคนฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทและศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยร่วมแม้จะปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์แต่แรกว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์และจำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีโดยอ้างว่าปรากฏข้อเท็จจริงใหม่ภายหลังว่า จำเลยร่วมเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันนี้และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามคำร้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลยที่ 3 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยร่วม จึงไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องและคำให้การ.
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยร่วมแม้จะปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์แต่แรกว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์และจำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีโดยอ้างว่าปรากฏข้อเท็จจริงใหม่ภายหลังว่า จำเลยร่วมเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันนี้และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามคำร้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลยที่ 3 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยร่วม จึงไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องและคำให้การ.