คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีประมง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจศาลในการริบของกลางคดีประมง และขอบเขตการฎีกา
ตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2496 มาตรา 10 ที่กำหนดว่า สิ่งของที่ใช้หรือได้มาในการกระทำผิด ศาลจะริบเสียก็ได้ ซึ่งเป็นการให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเรื่องของกลางที่ให้ริบเป็นไม่ริบ ก็เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจที่ให้ไว้ตามกฎหมาย และเป็นการแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเล็กน้อย โจทก์จึงฎีกาขอให้ริบของกลางไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272-1273/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนของ ผบ.เรือและการฟ้องคดีนอกเขตอำนาจศาล
ผู้บังคับการเรืองแห่งราชนาวีไทยผู้กระทำการจับกุม หรือสั่งให้จับกุมคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขตน่านน้ำไทยนั้น ย่อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และเป็นพนักงานสอบสวนคดีนั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย 2482
ความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย 2482 ซึ่งฟ้องโจทก์บรรยายไว้ด้วยว่า พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่แห่งหนึ่งและผู้บังคับการเรือซึ่งจับกุมจำเลยเป็นผู้สอบสวนจำเลยแล้วเมื่อจำเลยมิได้ให้การคัดค้านเรื่องการสอบสวนนี้ หรืออำนาจศาลแต่อย่างใดเลย ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฎโดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น ก็ต้องฟังว่า การสอบสวนนั้นได้กระทำโดยชอบถูกต้องตามที่กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272-1273/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวน: ผู้บังคับการเรือกับการสอบสวนคดีประมง
ผู้บังคับการเรือแห่งราชนาวีไทยผู้กระทำการจับกุม หรือสั่งให้จับกุมคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขตน่านน้ำไทยนั้น ย่อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และเป็นพนักงานสอบสวนคดีนั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย 2482
ความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย 2482 ซึ่งฟ้องโจทก์บรรยายไว้ด้วยว่า พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่แห่งหนึ่งและผู้บังคับการเรือซึ่งจับกุมจำเลยเป็นผู้สอบสวนจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยมิได้ให้การคัดค้านเรื่องการสอบสวนนี้ หรืออำนาจศาลแต่อย่างใดเลย ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏโดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น ก็ต้องฟังว่าการสอบสวนนั้นได้กระทำโดยชอบถูกต้องตามที่กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4514/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยในคดีประมง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 62 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 หลังจากนั้นระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 แต่ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดย พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 87 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าแสนบาท ส่วน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 141 ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ที่มีโทษจำคุกด้วย กรณีจึงไม่อาจลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยอีกต่อไป เพราะศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงโทษปรับเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโทษปรับที่ศาลจะนำมาพิจารณาลงโทษจำเลยนั้น โทษปรับตามมาตรา 87 แห่ง พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมีระวางโทษขั้นต่ำให้ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225