คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเภทคดีจากคำขอปลดเปลื้องทุกข์เป็นคดีพิพาทกรรมสิทธิ์ และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลจังหวัดสุรินทร์ว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าที่ดินเป็นของผู้คัดค้าน ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินคดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ มิใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(4) ศาลจังหวัดสุรินทร์ชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงสุรินทร์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีครอบครองปรปักษ์เปลี่ยนเป็นคดีพิพาทกรรมสิทธิ์ มีทุนทรัพย์ต่ำกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงมีอำนาจ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อผู้คัดค้านทั้งสี่ยื่นคำคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้านทั้งสี่ ผู้คัดค้านที่ 1 เพียงแต่อนุญาตให้ผู้ร้องอยู่อาศัย กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มิใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือทุนทรัพย์ของคดีไม่เกินสามแสนบาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพาทตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบ 25 (4) ศาลจังหวัดไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3570/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: คดีพิพาทหนี้ภาษีอากร แม้เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คำฟ้องของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้อง ของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร แม้ตามคำฟ้องจะปรากฏว่า โจทก์ เคยฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ในหนี้ดังกล่าว ซึ่งศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. รับผิดในหนี้ดังกล่าวแล้วก็ตามก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้กลายเป็นหนี้ ตามคำพิพากษาดังที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไม่ คดีของ โจทก์จึงเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์: การชำระค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ในคดีพิพาทเรื่องทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นเงิน 1,117,525.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงิน 816,020 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 416 บาทจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ไม่เกิน 780,000 บาท ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีหรือตามที่ศาลอุทธรณ์จะเห็นสมควร ดังนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คัดค้านจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ เป็นการพิพาทกันในเรื่องทรัพย์สิน จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ จำเลยที่ 2 จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 150 วรรคสอง
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระให้ครบถ้วนตามจำนวนทุนทรัพย์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ จำเลยจึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อมา แต่เนื่องจากระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำค่าขึ้นศาลที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์มาชำระสิ้นสุดแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้จำเลยนำค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์มาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: คดีความรับผิดในหนี้ภาษีอากรจากการละเมิด มิใช่อำนาจศาลภาษีอากร
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 10 วรรคสอง อำนาจในการวินิจฉัยกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือไม่ เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย ศาลฎีกาจึงได้ส่งสำนวนไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย
ตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในหนี้ภาษีอากรกับจำเลยที่ 1 ในทางละเมิด คดีของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากร ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลภาษีอากรกลางไม่ได้กระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบศาลฎีกาต้องพิพากษาเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับคำฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และยกอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. แม้เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ
แม้คดีนี้จะเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนและคำสั่งจังหวัด-กาญจนบุรีที่ 1139/2532 ที่ให้แก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงเพราะออกทับหนองน้ำสาธารณะหนองแฟบจะเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมก็ตาม แต่การฟังพยานหลักฐานของศาลยุติธรรมย่อมต้องเป็นไปตามนัยของ ป.วิ.พ. บันทึกถ้อยคำที่บุคคลให้การไว้ต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ทางราชการแต่งตั้งขึ้นนั้นย่อมรับฟังได้ แต่น้ำหนักของพยานหลักฐานดังกล่าวมีน้อยกว่าการที่ฝ่ายผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีจำเลยจะนำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความในศาลเพราะเป็นเพียงพยานบอกเล่า
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องดังกล่าวไว้จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลาง: คดีพิพาทเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สิน ไม่ใช่คดีภาษีอากรโดยตรง
การฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ของอธิบดีกรมสรรพากร ตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ขาดอำนาจฟ้อง: คดีพิพาทที่ดินที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
แม้ในคำบรรยายฟ้องของโจทก์จะกล่าวอ้างเพียงว่า จำเลยทั้งสองไปคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของโจทก์ต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยไม่ระบุว่าเป็นที่ดินที่มีหลักฐานแสดงถึงสิทธิการครอบครองแปลงใดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามส.ค.1 เลขที่ 180 โจทก์ก็ไม่ปฏิเสธว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงอื่นแต่กลับแถลงรับในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทซึ่งคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2522ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทในคดีนี้เป็นที่ดินแปลงอื่นจึงขัดกับข้อเท็จจริงที่โจทก์แถลงรับในคดี และโจทก์จะฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงอื่นไม่ได้ เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาทในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2522 ซึ่งวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนายยิ้ม จึงเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนายมิ้มที่ผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงสิทธิอื่นขึ้นใหม่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 บุตรของนายมิ้มซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ชั้นผู้สืบสันดาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629 ผู้มีสิทธิรับมรดกของนายมิ้มขอให้ขับไล่จำเลยที่ 2ออกจากที่ดินพิพาทไม่ได้ เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ส่วนจำเลยที่ 1ต่อสู้คดีโดยอ้างว่า เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยที่ 2จึงเป็นคำให้การที่อาศัยสิทธิของจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5165/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่คดีพิพาทภาษีโดยตรง
การที่กรมสรรพากรโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องแทนบริษัทจำเลยที่ 1ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้ยักยอกทรัพย์ของจำเลยที่ 1ไป เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่โจทก์นั้น มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1461/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีพิพาทกรรมสิทธิ์ตึกและการสิ้นสุดสัญญาเช่าที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา
คดีก่อน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากตึกพิพาทของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยเป็นผู้ออกทุนทรัพย์ปลูกสร้างตึกพิพาทในที่ดินของโจทก์และจำเลยยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้โจทก์ ตึกพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ากรรมสิทธิ์ตึกพิพาทตกเป็นของโจทก์แล้วแต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่ครบกำหนด โจทก์ยังไม่ครบกำหนด โจทก์ยังไม่มีอำนาจพ้องพิพากษายกฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่ากรรมสิทธิ์ในตึกพิพาทเป็นของจำเลย ขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ก็มาฟ้องคดีใหม่ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารโดยอ้างว่าสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จำเลยคงต่อสู้เช่นเดิมว่าตึกพิพาทเป็นของจำเลย ดังนี้ ทั้งสองคดีย่อมมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า ตึกพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย การที่โจทก์มาฟ้องคดีใหม่จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1)
of 2