คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมีอำนาจขยายเวลาอุทธรณ์คดีภาษี และการงด/ลดเบี้ยปรับต้องพิจารณาเหตุผลประกอบ
กำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน เป็นกำหนดเวลาในการฟ้องคดี ถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง แม้เป็นกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลาดังกล่าวให้โจทก์ได้ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/22 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2542 ข้อ 3 และ 4 เป็นเพียงระเบียบที่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินถือปฏิบัติ ไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องถือตาม ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เองในกรณีที่มีเหตุสมควรเพื่อให้สมควรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
บริษัท ข. จดทะเบียนเลิกบริษัทและอยู่ในระหว่างการชำระบัญชี โดยผู้ชำระบัญชีได้ทำการขายทรัพย์สินและรวบรวมรายได้เมื่อหักรายจ่ายทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิ และเมื่อนำผลขาดทุนสะสมยกมาจากปีก่อนมาหักแล้ว ทำให้บริษัทมีกำไรสะสมสิ้นปี การที่บริษัทดังกล่าวจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ไม่ถือว่าเป็นเงินปันผล เพราะมิได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1200 ถึง 1205 กำหนดไว้ แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (4) (ฉ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกณฑ์สิทธิในการคำนวณภาษี, การเว้นภาษีซ้อน, และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีภาษีอากร
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2527 มาตรา 20 บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี โดยรายได้ที่นำมาคำนวณให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะใช้เกณฑ์อย่างอื่นแทนเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิเพื่อคำนวณรายได้และรายจ่าย ทั้งกิจการของโจทก์มิใช่กิจการตามประเภทระบุไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่จะทำให้โจทก์สามารถใช้เกณฑ์อื่นในการคำนวณกำไรสุทธิได้แต่อย่างใด ดังนั้นโจทก์จึงต้องใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี โจทก์จะใช้ระบบบัญชีเกณฑ์เงินสดในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าดอกเบี้ยค้างรับมิใช่รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องใช้เกณฑ์สิทธินั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ค่าใช้จ่ายที่จะถือว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (18) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน เมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (18)
แม้เงินกำไรที่พิพาทจะเป็นเงินกำไรที่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่นได้มาจากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรง ไม่ได้ขายสินค้าโดยผ่านโจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเลย แต่เมื่อเงินกำไรที่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่น ได้จากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรงนั้นเป็นกิจกรรมเช่นที่โจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรได้ประกอบอยู่โดยปกติ และโจทก์สามารถปฏิบัติได้ จึงถือว่ากำไรที่พิพาทกันเป็นกำไรที่เกิดจากโจทก์ตามความในวรรค 4 ของหนังสือที่ผู้แทนรัฐบาลไทยและผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นจัดทำขึ้น ประกอบกับข้อ 3 วรรค 1 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ โจทก์จึงต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองดังนั้น เมื่อมีการส่งเงินกำไรดังกล่าวออกจากประเทศไทย แม้ว่าลูกค้าในประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งให้แก่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของโจทก์ ก็ย่อมถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นสาขาเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรนั้นออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตาม มาตรา 70 ทวิ
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์คำนวณกำไรขั้นต้นถูกต้อง และในการคำนวณกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่ โจทก์มีสิทธินำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรับรองและค่าเสื่อมราคามาเฉลี่ยในการคำนวณได้นั้น โจทก์มิได้ยกข้อดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง แม้ว่าโจทก์และจำเลยจะได้สืบพยานและศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าภาษีซ้ำซ้อนเมื่อคดีภาษีอยู่ระหว่างพิจารณา และอายุความสะดุดหยุดลงจากการแจ้งประเมิน
ก่อนฟ้องคดีนี้จำเลยที่1ได้ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีที่จำเลยที่1จะต้องชำระหนี้ในคดีนี้และคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาดังนี้การที่จำเลยที่1ฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลเท่ากับเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามความในมาตรา30(2))แห่งประมวลรัษฎากรคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภาษีอากรที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยเป็นคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าวนอกจากนี้การที่จำเลยที่1ยังไม่ชำระเงินค่าภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์และไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้การที่โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยที่1ทราบเท่ากับเป็นการสั่งให้จำเลยที่1ชำระค่าภาษีอากรประเมินตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติให้อำนาจไว้ซึ่งหากจำเลยที่1ไม่ชำระค่าภาษีอากรภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็อาจถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดโดยไม่จำต้องมีการฟ้องคดีอีกการที่โจทก์แจ้งการประเมินให้จำเลยที่1ทราบจึงมีผลบังคับตามกฎหมายที่ถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการที่เจ้าหนี้ฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173เดิมซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9240/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีภาษี: การส่งสำนวนให้ประธานศาลฎีกาชี้ขาด
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานประเมินและเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์คำร้องภาษีโรงเรือนและที่ดินจำเลยทั้งสองประเมินให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเกินความเป็นจริงโดยโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสองที่สั่งให้โจทก์ชำระภาษีอากรและเงินเพิ่มกับให้จำเลยทั้งสองคืนเงินภาษีอากรพร้อมดอกเบี้ยแต่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วให้ยกฟ้องเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่นแต่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา10บัญญัติให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่คำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้นและเมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลชั้นต้นขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณา เนื่องจากยังไม่มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับแบบคำขอรับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับยอดลูกค้าเช่าซื้อคงเหลือที่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 และหรือให้จำเลยไม่มีสิทธินำยอดลูกค้าเช่าซื้อคงเหลือดังกล่าวมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏข้อพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรว่าจำเลยได้นำเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์ และการที่โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบคำขอดังกล่าวภายในกำหนดเวลาก็มิได้เกิดจากคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน แต่เป็นเพราะเชื่อตามคำแนะนำชี้แจงของเจ้าพนักงาน และโจทก์ไม่ได้ยืนยันที่จะยื่นในขณะที่ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่จะยื่นได้ เจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรจึงยังมิได้มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยในเรื่องนี้ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 7(1) คดีของโจทก์ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวทนาย & การชี้สองสถานคดีภาษี: เหตุผลการถอนตัวไม่ชอบ & การดำเนินการชี้สองสถานชอบตามกฎหมาย
คำร้อง ของ ทนายโจทก์กล่าวเพียงว่าทนายโจทก์กับโจทก์มีความเห็นทางคดีไม่ตรงกัน และโจทก์ไม่ชำระค่าทนายความตามที่ตกลงกันจึงขอถอนตัวจากการเป็นทนาย มิได้กล่าวในคำร้องว่าทนายโจทก์ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้ว หรือหาตัวความไม่พบ ถือได้ว่าทนายโจทก์มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลถึงเหตุดังกล่าวตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 วรรคแรก ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 บังคับไว้ เป็นคำร้องขอถอนตัวจากการตั้งแต่งให้เป็นทนายความที่ไม่ชอบ แม้ทนายของคู่ความหรือตัวความไม่มาศาลในวันชี้สองสถานศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจทำการชี้สองสถานไปได้โดยไม่จำต้องเลื่อนการชี้สองสถานออกไป ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 13 การที่ศาลภาษีอากรกลางสั่งคำร้อง ของ ทนายโจทก์ที่ขอถอนตัวจากการเป็นทนายและขอเลื่อนคดี เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณา นอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดีที่ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำ หรือออกคำสั่งได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯมาตรา 16 การที่ศาลภาษีอากรกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาการชี้สองสถานมาอ่านให้คู่ความฟังที่หน้าห้องโดยมิได้ขึ้นนั่งพิจารณาบนบัลลังก์นั้นชอบด้วยข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 20 ซึ่งกำหนดว่า ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่ใด หรือในวันเวลาใด ๆก็ได้ ตามที่เห็นสมควร โจทก์มิได้คัดค้านว่าผู้พิพากษาคนเดียวทำการชี้สองสถานไม่ครบองค์คณะในขณะนั้น ถือว่าไม่ติดใจคัดค้านในเรื่ององค์คณะไม่อาจยกขึ้นอุทธรณ์ได้ ศาลภาษีอากรกลางนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏในคำคู่ความเทียบกันดูแล้ว ทำการชี้สองสถานไปโดยมิได้สอบถามคู่ความถึงข้ออ้าง ข้อเถียงว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้ง ข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร เพราะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบถาม เนื่องจากเป็นข้อที่คู่ความโต้แย้งกันในคำฟ้องและคำให้การโดยตรงอยู่แล้วเป็นการชี้สองสถานที่ชอบตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรจำกัดเฉพาะคดีภาษี การฟ้องเพิกถอนยึดทรัพย์ไม่ใช่คดีภาษี
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าประกาศยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์โจทก์ของจำเลยโดยใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12เป็นโมฆะและขอให้เพิกถอนเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ตามอำนาจของจำเลยว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ดังนี้ ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรมศุลกากรในการกักของเพื่อเรียกเก็บภาษีค้างชำระ แม้คดีภาษีอยู่ระหว่างพิจารณา
อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรตามมาตรา 112 เบญจ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรฯ เป็นอำนาจที่กฎหมายให้ไว้เป็นพิเศษเพื่อเก็บภาษี อากรที่ค้างชำระอยู่ให้เสร็จสิ้นล่วงไป จึงให้อำนาจอธิบดีหรือ ผู้ที่อธิบดีมอบหมายที่กักของใด ๆ ของผู้ที่ค้างชำระภาษีอากรซึ่ง กำลังผ่านศุลกากร จนกว่าจะได้รับชำระอากรที่ค้างจนครบ เมื่อ ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยได้ประเมินภาษีอากรเพิ่มสำหรับ สินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งผ่านศุลกากรไปแล้ว และแจ้งให้ โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มแล้วและแม้ว่าโจทก์จะอุทธรณ์การประเมิน และฟ้องคดีอยู่ก็ตาม ต้องถือว่าภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมิน เพิ่มและแจ้งให้โจทก์ชำระแล้วเป็นภาษีอากรค้างชำระโดย ไม่ต้องรอให้ศาลมีคำพิพากษาเสียก่อน หากต่อมาศาลพิพากษาในคดี ที่อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจำเลยประเมินภาษีอากรเพิ่มไม่ชอบ จำเลย ย่อมมีหน้าที่คืน ภาษีอากรภาษีอากรดังกล่าวให้โจทก์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ศุลกากรฯมาตรา 10 ฉะนั้น เมื่อถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ชำระ อธิบดีกรมศุลกากรจึงใช้อำนาจกักสินค้าของโจทก์ไว้จนกว่า โจทก์จะชำระค่าภาษีอากรที่ค้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี: เมื่อมีคดีเพิกถอนการประเมินภาษีแล้ว โจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องบังคับชำระภาษี
คดีก่อนที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของจำเลยนั้น ศาลอาจมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิกถอนการประเมินของโจทก์ หรือไม่ อย่างไรก็ได้ เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดจะถือว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีแก่โจทก์ตามที่มีการประเมินหาได้ไม่คดีนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าภาษีตามที่มีการประเมินดังกล่าว อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟ้องคดีภาษีหลังศาลอุทธรณ์พิพากษา การชำระค่าขึ้นศาล และการพิจารณาคดีใหม่
ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ฟ้องโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลภายใน 7 วัน ให้คู่ความฟังแล้วโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะไม่เสียเงินค่าขึ้นศาล และขอนำเงินค่าขึ้นศาลมาวางต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันยื่นคำร้องขอเป็นต้นไป ศาลชั้นต้นอนุญาตตามขอต่อมาโจทก์วางเงินค่าขึ้นศาลครบถ้วน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ มีความหมายว่าศาลชั้นต้นยอมรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว เมื่อจำเลยยื่นคำให้การแก้คดีก็หาได้โต้แย้งการรับฟ้องของศาลแต่อย่างใดการที่โจทก์แก้ไขข้อขัดข้องด้วยการนำเงินค่าขึ้นศาลมาวางครบถ้วนแล้วจึงไม่มีเหตุขัดข้องอะไรที่ศาลจะไม่รับคำฟ้อง
of 3