พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนทรัพย์สินริบในคดียาเสพติดสงวนเฉพาะเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่มีสิทธิ
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ให้บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นจึงจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งริบ ดังนั้น เมื่อรถยนต์กระบะซึ่งถูกเจ้าพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งริบเป็นทรัพย์สินของบิดามารดาของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านซึ่งมิใช่เจ้าของทรัพย์สินจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4557/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: อาวุธปืนไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องโดยตรง จึงไม่อาจริบได้
ทรัพย์สินที่จะต้องริบตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 นั้น ต้องเป็นทรัพย์สินที่ถูกนำมาใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด... อาวุธปืนมิใช่เป็นทรัพย์ที่ถูกนำมาใช้ในการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินสดที่เกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติด: ไม่เป็นการฟ้องซ้ำเมื่อประเด็นต่างกัน
คดีนี้มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า เงินสดของกลางจำนวน 116,600 บาท เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของผู้คัดค้านทั้งสองตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ และให้ริบเงินสดดังกล่าวตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือไม่ แต่ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1815/2544 ของศาลชั้นต้นคดีก่อน มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าเงินสดของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดในคดีดังกล่าวที่ต้องริบให้ตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และ ป.วิ.อ. หรือไม่ เห็นได้ว่า ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีอาญาดังกล่าวและคดีตามคำร้องคดีนี้แตกต่างกัน การพิจารณาคดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือร้องซ้ำกับคดีอาญาดังกล่าว
เงินสดของกลางจำนวน 116,600 บาท เป็นของผู้คัดค้านทั้งสองที่มีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริตและผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองไม่อาจพิสูจน์หักล้างได้ จึงต้องริบเงินสดจำนวนดังกล่าวให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามความในมาตรา 29 และมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ
เงินสดของกลางจำนวน 116,600 บาท เป็นของผู้คัดค้านทั้งสองที่มีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริตและผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองไม่อาจพิสูจน์หักล้างได้ จึงต้องริบเงินสดจำนวนดังกล่าวให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามความในมาตรา 29 และมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ผลของการยกฟ้องจำเลย และสิทธิในการคัดค้านของภริยา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ผู้ถูกฟ้องว่าเป็นเจ้าพนักงานร่วมกับพวกกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด และทรัพย์สินของผู้คัดค้านผู้เป็นภริยาของจำเลยที่ 3 รวม 7 รายการ เนื่องจากเป็นทรัพย์สิน ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยขอให้ริบตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 3, 15, 22, 27, 29, 31 ซึ่งตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 32 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใดให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้ เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลง?" ดังนั้น เมื่อปรากฏหลักฐานว่า ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา อันเป็นที่สุดให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงมีผลให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินทั้ง 7 รายการของผู้คัดค้านและจำเลยที่ 3 สิ้นสุดลงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ตามกฎหมายให้บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินเข้ามาในคดี คงมีแต่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านเพียงผู้เดียว โดยจำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีตามกระบวนการแห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปราม ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 28, 29 แม้ผู้คัดค้านจะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ จำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจขอคืนทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 แทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษปรับและระยะเวลาการกักขังแทนค่าปรับในคดียาเสพติด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้หากผิดกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 ถือเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น จึงกักขังจำเลยแทนค่าปรับได้เพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคแรก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้กักขังจำเลย 2 ปี แทนค่าปรับ 200,000 บาท จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6553/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษประหารชีวิตในคดียาเสพติดร้ายแรง และการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิด
การลดโทษประหารชีวิตให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 52 (2) ศาลจะลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษจำคุกตั้งแต่ 25 ปี ถึง 50 ปี ก็ได้ เป็นดุลพินิจของศาลตามพฤติการณ์แห่งความร้ายแรงของแต่ละคดีเป็นเรื่องๆ ไป
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ความใหม่แทน แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยซึ่งเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นว่าคดีนี้เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป กฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามมาตรา 66 วรรคสาม ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ความใหม่แทน แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยซึ่งเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นว่าคดีนี้เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป กฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามมาตรา 66 วรรคสาม ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดียาเสพติด: ข้อมูลจากผู้ต้องหาไม่เพียงพอต่อการลดโทษขั้นต่ำ
จำเลยให้การในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่าได้รับจ้างขนยาเสพติดให้โทษของกลางจาก ห. โดยไม่ปรากฏว่า ห. มีตัวตนจริงหรือไม่ และได้มีการขยายผลจับกุม ห. ได้หรือไม่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่าคำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวน ย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ศาลฎีกาชี้ว่าเมื่อศาลอุทธรณ์ตัดสินว่าทรัพย์สินไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ต้องคืนให้เจ้าของ
ตามพระราชบัญญัติมาตราการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บรรดาทรัพย์สินซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 27 วรรคหนึ่งนั้น ให้ศาลไต่สวน หากคดีมีมูลว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้นเว้นแต่บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ยื่นคำร้องขอคืนก่อนคดีถึงที่สุดและแสดงให้ศาลเห็นว่า (1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ..."
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังเป็นยุติว่า เงินสดของกลางจำนวน 220,200 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลยและทั้งจำเลยก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านขอคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย จึงทำให้คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่าจำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริง จึงไม่อาจที่จะสั่งคืนให้แก่จำเลยนั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังเป็นยุติว่า เงินสดของกลางจำนวน 220,200 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลยและทั้งจำเลยก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านขอคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย จึงทำให้คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่าจำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริง จึงไม่อาจที่จะสั่งคืนให้แก่จำเลยนั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7013/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยในคดียาเสพติด: ศาลอุทธรณ์ลดโทษไม่สอดคล้องกับพฤติการณ์และคำให้การ
จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพชั้นจับกุมแต่ชั้นพิจารณาให้การปฏิเสธต่อสู้คดีตลอดมา ส่วนจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพตั้งแต่ชั้นจับกุมตลอดมาจนถึงชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นวางโทษจำคุกแล้วลดโทษให้จำเลยที่ 2 หนึ่งในสามและลดโทษให้จำเลยที่ 3กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โจทก์และจำเลยที่ 1อุทธรณ์ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 พอใจในผลของคำพิพากษามิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษจำคุกจำเลยทั้งสามแต่กลับลดโทษให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง และลดโทษให้จำเลยที่ 3หนึ่งในสาม ทั้งที่จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธต่อสู้คดีคงให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเท่านั้น และจำเลยที่ 2 ก็พอใจในผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยมิได้อุทธรณ์ ส่วนจำเลยที่ 3 นั้นปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพตั้งแต่ชั้นจับกุมตลอดถึงชั้นพิจารณาของศาล ศาลชั้นต้นลดโทษให้กึ่งหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์กลับลดโทษให้หนึ่งในสามและให้จำคุกจำเลยที่ 3 เกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดโดยที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 3 แต่อย่างใดกรณีดังกล่าว ศาลอุทธรณ์มิได้ให้เหตุผลว่าใช้บทกฎหมายหรือดุลพินิจอย่างไรในการลดโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากลักษณะปกติโดยทั่วไป ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทลงโทษคดียาเสพติด: ศาลอุทธรณ์แก้จากครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้ว คงจำคุก 3 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ส่วนกำหนดโทษให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะใช้ถ้อยคำว่าให้ยกฟ้องข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ก็มีผลเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษเท่านั้น มิได้แก้กำหนดโทษ ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง