คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีรถชน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ และการพิสูจน์ความประมาทของผู้ขับขี่ในคดีรถชน
คำสั่งศาลไม่ขยายเวลาให้โจทก์คัดสำเนาเอกสารหรือไม่เลื่อนการพิพากษาคดีไปเป็นการตัดพยานโจทก์เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อโจทก์มีเวลาพอที่จะโต้แย้งคำสั่งแต่มิได้โต้แย้งไว้จึงต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โจทก์เป็นผู้โดยสารในรถยนต์คันที่ชนกับรถบรรทุกที่จำเลยที่1ขับโจทก์ฟ้องว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของฝ่ายจำเลยแต่จำเลยให้การปฏิเสธในข้อนี้โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างหน้าที่นำสืบตกแก่โจทก์โจทก์จึงต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้ศาลเห็นตามข้อกล่าวอ้างของตน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันจากการประนีประนอมยอมความและการรับผิดในคดีรถชน การพิจารณาความรับผิดของนายจ้าง
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งซึ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 นั้นถ้าไม่มีคำพิพากษาคดีส่วนอาญา คงมีแต่คำรับผิดในชั้นสอบสวนเท่านั้นก็ไม่เข้าเกณฑ์มาตรานี้
คดีรถชนกัน การที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบและทำเอกสารไว้เป็นหลักฐานว่าเรื่องที่เกิดขึ้นโดยจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ โดยจะไปทำความตกลงกันที่อู่ซ่อมรถถือได้ว่าเป็นการประนีประนอมยอมความกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 ซึ่งผูกมัดจำเลยที่ 1 ไม่ให้โต้แย้งว่าตนมิได้ขับรถโดยประมาทได้ แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรถและนายจ้างของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกผูกมัดด้วย ศาลจะต้องพิเคราะห์ข้อเท็จจริงต่อไปว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8552/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาในคดีรถชน: การพิสูจน์ความผิดต้องชัดเจนว่าเกิดจากจำเลย หากไม่มีหลักฐานเพียงพอ ศาลต้องยกฟ้อง
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจุดชนเกิดในช่องเดินรถของจำเลยที่ 2 และในชั้นฎีกาโจทก์ฎีการับว่าจุดชนอยู่ในช่องเดินรถของจำเลยที่ 1 ทำให้รับฟังเป็นยุติว่า เหตุรถชนกันมิได้เกิดจากจำเลยที่ 1 ขับรถล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของจำเลยที่ 2 ดังนี้หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างขับรถอยู่ในช่องเดินรถของตน ก็จะต้องไม่มีเหตุคดีนี้เกิดขึ้น ดังนี้จึงจะนำข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ขับรถในขณะเมาสุราและขับด้วยความเร็วสูงผ่านทางแยกตามฟ้องมาเป็นเหตุลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 หาได้ไม่ เพราะข้อเท็จจริงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้น การที่รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกันมิได้เป็นความผิดของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพ ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง