คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีละเมิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทในคดีละเมิดร่วมกัน: การแบ่งแยกค่าเสียหายเพื่อคำนวณทุนทรัพย์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์กำหนดตามคำพิพากษาเป็นค่าปลงศพมีจำนวน 50,000 บาท แต่เป็นหนี้ที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับร่วมกันไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้ของโจทก์แต่ละคนได้ แต่ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่กำหนดให้โจทก์ทั้งสองได้รับรวมกันมาจำนวน 200,000 บาท นั้น เป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน โดยโจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องเรียกเฉพาะส่วนของตนโดยลำพังได้ ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสอง เมื่อแบ่งแยกค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองคนละครึ่งเป็นเงินคนละ 100,000 บาท และนำไปรวมกับค่าเสียหายที่เป็นค่าปลงศพจำนวน 50,000 บาทแล้ว ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. ม. 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามทุนทรัพย์: การฎีกาในคดีละเมิดที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเพราะเหตุละเมิดแก่โจทก์เป็นเงิน 150,000 บาท จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งจำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์จงใจขาดนัดพิจารณา เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงแม้ฎีกาของจำเลยทั้งสองจะเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับประเด็นพิพาทตามฟ้องก็ต้องถือตามทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีเป็นหลักในการพิจารณาว่าเป็นคดีที่ฎีกาได้หรือไม่ เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ร้องสอดในคดีขับไล่และการใช้คำพิพากษาแทนเจตนาในคดีละเมิด
คำร้องของผู้ร้องสอดเป็นการเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อันทำให้มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลย แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ฟ้องผู้ร้องสอดก็ตาม คำสั่งให้ขับไล่ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) หาเกินคำขอไม่
การที่โจทก์ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ศาลไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในคดีละเมิดได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ขับไล่จำเลย ผู้ร้องสอดและบริวารออกจากที่พิพาทและทำที่พิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7195/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและขอบเขตการฎีกาในคดีละเมิดที่เกี่ยวข้องกับผู้เยาว์และทุนทรัพย์ที่พิพาท
คดีละเมิดมิใช่คดีครอบครัวที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใด ๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11(3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534 ดังนั้น เมื่อมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับเรื่องความสามารถของโจทก์บางคนซึ่งเป็นผู้เยาว์ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่อง โดยตั้งผู้แทนเฉพาะคดีให้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสุดท้ายโดยไม่จำเป็นต้องขออำนาจในการดำเนินคดีจากศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง โจทก์แต่ละคนฟ้องให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดแม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาทซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา จึงต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาที่ว่า การที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่ 1 จำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ทั้งแปดเพราะจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ให้เช่ารถสามล้อเครื่องและจำเลยที่ 3 ไม่ใช่เจ้าของรถสามล้อเครื่อง ไม่ใช่นายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 และไม่ได้รับผลประโยชน์ใด ๆ จากรถสามล้อเครื่อง ค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้สูงเกินไปนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3361/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีละเมิด: ผลของการฟ้องคดีก่อนและการยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อนอันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173(เดิม)แต่เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องซึ่งมาตรา174(เดิม)บัญญัติให้ไม่เป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงการทีคดีก่อนศาลยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: คดีละเมิด จำเลย/มูลคดีไม่อยู่ในเขตศาล โจทก์ไม่อาจขออนุญาตฟ้องได้
มูลคดีตามฟ้องเกี่ยวกับละเมิด มิได้ฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งจำเลยก็มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตของศาลชั้นต้นและมูลคดีที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เกิดในเขตของศาลชั้นต้นเช่นกัน แม้โจทก์จะมีภูมิลำเนาอยู่ในศาลชั้นต้น โจทก์ก็ไม่อาจยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นได้เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) และ (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3886/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพัน แม้ศาลแพ่งยกฟ้องคดีละเมิด การชำระหนี้ตามสัญญาเป็นไปโดยมีมูล
โจทก์ขับรถยนต์ของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชนกับรถยนต์โดยสารปรับอากาศของบุคคลภายนอก คณะกรรมการสอบสวนของจำเลยมีมติว่าโจทก์เป็นฝ่ายประมาท โจทก์จึงทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมให้จำเลยหักเงินเดือนและเงินอื่น ๆ ของโจทก์เพื่อชำระหนี้ เกี่ยวกับอุบัติเหตุรายนี้เจ้าของรถยนต์โดยสารปรับอากาศได้ฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้เรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด ศาลวินิจฉัยว่าเหตุที่รถชนกันไม่ได้เกิดจากความประมาทของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง ดังนี้การที่จำเลยหักเงินของโจทก์ไว้ตามสัญญารับสภาพหนี้ดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายของรถยนต์จำเลยและค่าช่วยเหลือผู้โดยสารในรถยนต์ของจำเลยที่บาดเจ็บที่จำเลยจ่ายไป จึงเป็นการที่จำเลยได้เงินมาโดยมีมูลจะอ้างกฎหมายได้ คำพิพากษาในคดีระหว่างบุคคลภายนอกกับโจทก์และจำเลยย่อมผูกพันระหว่างบุคคลเหล่านั้นเท่านั้น ความเสียหายของจำเลยที่โจทก์ยอมรับชดใช้ยังคงมีอยู่ หามีผลทำให้การชำระหนี้ของจำเลยกลับเป็นไม่มีมูลจะอ้างกฎหมายได้อีกไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิด: การขยายอายุความเมื่อศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่มีอำนาจพิจารณา และการฟ้องคดีใหม่ต่อศาลที่มีอำนาจ
โจทก์รู้ถึงการละเมิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 และได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดรายนี้ต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2528 ภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2529 เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง จึงเป็นกรณีอายุความฟ้องร้องดังกล่าวได้สิ้นไปในระหว่างพิจารณาของศาลแพ่ง ต้องขยายอายุความนั้นออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำพิพากษาของศาลแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2529 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องในคดีละเมิด: การขยายอายุความเมื่อคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล
โจทก์รู้ถึงการละเมิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 และได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดรายนี้ต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2528ภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2529 เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง จึงเป็นกรณีอายุความฟ้องร้องดังกล่าวได้สิ้นไปในระหว่างพิจารณาของศาลแพ่ง ต้องขยายอายุความนั้นออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำพิพากษาของศาลแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2529 จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การฟ้องคดีละเมิดต่อศาลที่มีภูมิลำเนาของจำเลยหรือที่มูลคดีเกิดขึ้น
การฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดเป็นการฟ้องคดีที่ไม่เกี่ยวด้วยทรัพย์ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)ระบุว่าให้ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลนั้นก็ได้ โจทก์ฟ้องบริษัทจำเลยต่อศาลจังหวัดชลบุรีโดยระบุสถานที่โรงงานของจำเลยที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรีเป็นภูมิลำเนาแม้ศาลจังหวัดชลบุรีจะมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นและปรากฏตามทะเบียนว่าสำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครทั้งสถานที่โรงงานมิใช่ภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลยก็ตามแต่ที่นั้นก็อาจเป็นถิ่นที่จำเลยมีสาขาสำนักงานอันจะจัดได้ว่าเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันทำณที่นั้นด้วยก็ได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา71วรรคสองซึ่งหากที่ตั้งโรงงานของจำเลยใช้เป็นสาขาสำนักงานของจำเลยด้วยดังที่โจทก์อ้างโจทก์ก็ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดชลบุรีได้จึงสมควรฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยต่อไป.
of 2