คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีอนาถา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอนาถาต้องมีมูลเหตุแห่งคดี หากศาลเห็นว่าไม่มีมูล คดีนั้นย่อมตกไป
ในการดำเนินคดีอนาถานั้น ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ นอกจากจะต้องแสดงให้เห็นว่าผู้ขอเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมได้แล้ว ยังต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาลด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้องตามนัยแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 155 คดีนี้ นอกจากศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่มีเหตุสมควรที่จะให้โจทก์เลื่อนคดีแล้ว ยังได้ตรวจคำฟ้องและคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาด้วยแล้ว เห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้วโดยไม่จำต้องไต่สวนพยานโจทก์ต่อไป ให้งดเสียแล้วมีคำสั่งว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้อง ให้ยกคำร้อง ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคท้าย อันมีผลเท่ากับไม่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีอย่างอนาถา ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดจึงถือว่าโจทก์อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนการไต่สวนเพียงอย่างเดียวโดยขอให้ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนพยานหลักฐานโจทก์ต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ตรวจคำฟ้องแล้วไม่อนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเพราะเหตุคดีโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้อง ตามมาตรา 155 วรรคแรก จึงยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาว่าสมควรอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีเพื่อทำการไต่สวนพยานหลักฐานโจทก์ต่อไปหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในคดีอนาถา: ศาลอนุญาตได้หากเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและยื่นก่อนกำหนด
โจทก์ฟ้องและร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เมื่อปรากฏในระหว่างดำเนินการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์อยู่นั้นว่า ฟ้องของโจทก์ไม่บริบูรณ์ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 179 ได้.