คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีเก่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4053/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่กับคดีที่กระทำผิดก่อนการแก้ไข กฎหมายที่ใช้ต้องเป็นคุณแก่จำเลย
ศาลชั้นต้นลงโทษประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุกตลอดชีวิตและปรับ 3,000,000 บาท เป็นการแก้เฉพาะโทษ ซึ่งเป็นกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนมาก และจำเลยให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐาน ขอให้ลงโทษประหารชีวิต เป็นฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
ขณะจำเลยกระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตตามมาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นมี พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 5 และมาตรา 66 และให้ใช้ข้อความใหม่ซึ่งแตกต่างจากเดิมโดยมีผลให้การกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) (ที่แก้ไขใหม่) และต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับ 1,000,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต ตามมาตรา 66 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งระวางโทษหนักกว่าระวางโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) เนื่องจากมีระวางโทษปรับเพิ่มมาด้วย กรณีจึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดที่เป็นคุณแก่จำเลยบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 การที่ศาลล่างทั้งสองใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว แม้คู่ความจะไม่ฎีกาในปัญหานี้และศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เพราะต้องห้ามตามกฎหมายก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3640/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีเก่ากับคดีใหม่: การยอมรับของจำเลยถือเป็นความเข้าใจในคำพิพากษาเดิม
ขณะที่ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการโดยมิได้ให้การถึงคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีก่อนที่โจทก์ขอให้บวกโทษ ถือได้ว่าจำเลยได้รับว่าเคยถูกศาลพิพากษาจำคุกและรอการลงโทษไว้จริงตามฟ้องด้วย ประกอบกับจำเลยยอมรับในอุทธรณ์ว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นบวกโทษจำคุกในคดีก่อนเข้ากับคดีนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3640/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีเก่าในคดีปัจจุบัน และการใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณต่อจำเลย
แม้ขณะที่ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการโดยมิได้ให้การถึงคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีก่อนที่โจทก์ขอให้บวกโทษก็ตาม ก็ถือได้ว่า จำเลยได้รับว่าเคยถูกศาลพิพากษาจำคุกและรอการลงโทษไว้จริงตามฟ้องด้วย ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและบวกโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 642/2542 เข้ากับคดีนี้แล้ว จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษและกล่าวถึงเรื่องที่จำเลยถูกจับไปดำเนินคดีตามสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 642/2542 ของศาลชั้นต้นอันเป็นการยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวอีกด้วย ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงบวกโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 642/2542 เข้ากับคดีนี้ได้
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯมาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน ดังนั้น กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยในส่วนนี้ส่วนกำหนดโทษนั้นตามกฎหมายเดิมมาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทสำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่มาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่าตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากันและตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษ ซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีเก่าก่อนพ.ร.บ.ศาลยุติธรรม 2543 และการคิดดอกเบี้ย
ตามมาตรา 5 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมพ.ศ. 2543 บัญญัติว่า "บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าคดีจะถึงที่สุด" คำว่า "จนกว่าคดีจะถึงที่สุด" นั้น หมายถึง ถึงที่สุดตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 147 คือ คดีที่ได้มีการอุทธรณ์หรือฎีกา และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้ว กรณีหาได้มีความหมายว่าถึงที่สุดในแต่ละชั้นศาล ปรากฏว่าคดีนี้โจทก์ได้ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 อันเป็นวันก่อนพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฉบับนี้ใช้บังคับ คดียังมีการอุทธรณ์ฎีกาต่อมา คดีจึงยังไม่ถึงที่สุดจึงต้องบังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนคือ พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 และพระธรรมนูญศาลยุติธรรมซึ่งได้ใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฉบับเดิม มาตรา 10(4)(1) ให้อำนาจประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีใด ๆ ของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับใช้ย้อนหลังของ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 กับคดีล้มละลายที่ฟ้องก่อนกฎหมายมีผลใช้บังคับ
แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) ฯ มาตรา 35 บัญญัติให้บุคคลธรรมดาที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อครบ 3 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวก็มีผลบังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งนอกจากจะไม่มีบทบัญญัติให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังแก่คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนแล้ว มาตรา 34 ยังบัญญัติให้บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดังนั้น จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 35 มาใช้บังคับย้อนหลังแก่คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8388/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีเก่ากับการรอการลงโทษ: ศาลมีอำนาจบวกโทษจากคดีเก่าหลายคดีเข้ากับโทษคดีใหม่ได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก มิได้มีข้อจำกัด ว่าจะต้องเป็นการบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเพียงคดีเดียวดังนั้น ในกรณีที่มีการรอการลงโทษในคดีก่อนหลายคดี ศาลที่พิพากษาคดีหลังก็ย่อมมีอำนาจที่จะบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนทุกคดีเข้ากับโทษในคดีหลังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5377/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีเก่ากับคดีใหม่ต้องกระทำภายในระยะเวลารอการลงโทษ หากพ้นระยะเวลาแล้วไม่สามารถบวกโทษได้
ตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคหนึ่งจะเห็นได้ว่าโทษที่รอไว้ในคดีก่อนอันจะนำมาบวกกับโทษในคดีหลังนั้น ความผิดในคดีหลังจะต้องกระทำภายในระยะเวลาระหว่างรอการลงโทษตามที่คดีก่อนกำหนดไว้
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2542 ให้จำคุกและปรับจำเลยโดยโทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี ช่วงระยะเวลารอการลงโทษคือนับแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2542 ซึ่งเป็นวันพิพากษาเป็นต้นไป มีกำหนด 2 ปี แต่คดีนี้จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2542 ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีก่อน การกระทำความผิดของจำเลยคดีหลังนี้ จึงมิใช่กระทำภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษตามความใน ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 58 วรรคหนึ่ง จะนำโทษในคดีก่อนที่รอการลงโทษมาบวกเข้ากับคดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: สัญญาซื้อขายฉบับเดียวกัน คดีเก่าอยู่ระหว่างพิจารณา ฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อนตามกฎหมาย
สัญญาซื้อขายที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในคดีนี้เป็นฉบับเดียวกับที่โจทก์ได้เคยนำไปฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในคดีก่อนและมิใช่ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนจึงเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยตามสัญญาฉบับเดียวกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อนซึ่งมีมูลเหตุอย่างเดียวกันเมื่อคดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นการฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ฯ และการใช้กฎหมายที่แก้ไขแล้วปรับแก่คดีเก่า
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี 4 เดือน จำเลยฎีกาขอให้ลดโทษหรือลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำเลย เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
บทบัญญัติในมาตรา 13 และ 89 แห่ง พ.ร.บ. วัตถุที่ออก-ฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ยังมิได้ถูกยกเลิกเด็ดขาดไปเสียทีเดียว เพราะความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ให้ยกเลิกไปใช้บังคับเพิ่มเติมและบังคับแทนบทบัญญัติในมาตรา 13 และ 89 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ทั้งตามกฎหมายฉบับหลังที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ก็เป็นการแก้ไขโทษปรับขั้นสูงตามมาตรา 89 ให้ต่ำลงมาจาก 500,000 บาท เหลือ 400,000 บาทอันเป็นคุณแก่จำเลยซึ่งจะต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้มาปรับแก่คดีตามนัย ป.อ.มาตรา 3 อยู่แล้ว ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวอ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ ไม่เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มีได้กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีก่อนยังอยู่ระหว่างพิจารณา แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์ทัน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกับกับคดีนี้มาแล้วโดยในคดีก่อนศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัดหลังจากนั้นโจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลในคดีก่อนและต่อมาก็ได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ดังนี้แม้คดีที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษาและคดีถึงที่สุดไปแล้วแต่เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก่อนยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นได้และจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดกรณีจึงต้องถือว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่นั้นคดีก่อนของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)
of 4