พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งงดสืบพยานในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องโต้แย้งทันที หากไม่ทำจะถูกห้ามอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งห้า เนื่องจากเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ข้อหาความผิดต่อเจ้าพนักงานและยักยอกทรัพย์ การพิพากษาคดีส่วนแพ่งคดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับจำนองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์มิใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์คดีนี้ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าคดีนี้มิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และคดีดังกล่าวศาลยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบ เพียงแต่วินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นจะนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีดังกล่าวมารับฟังในคดีนี้ไม่ได้เพราะยังมีข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำพยานเข้าสืบว่าจำเลยทั้งห้าต้องร่วมกันคืนทรัพย์แก่โจทก์หรือไม่ ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ (ที่ถูกยก) คำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้ใหม่โดยให้โจทก์และจำเลยทั้งห้านำพยานเข้าสืบต่อไปนั้น อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหากศาลอุทธรณ์เห็นด้วยก็จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งห้าต่อไป เมื่อคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์จึงต้องโต้แย้งคำสั่งไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใดจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับ (ที่ถูกยก) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณา มิได้ขอให้โจทก์ชนะคดีตามคำฟ้อง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับ (ที่ถูกยก) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณา มิได้ขอให้โจทก์ชนะคดีตามคำฟ้อง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8392/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนคดีแพ่งอาญา – ดอกเบี้ยจากการลักทรัพย์ – การฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บังคับให้พนักงานอัยการฟ้องเรียกได้แค่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ยได้เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด การที่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วยในคดีอาญานั้น จึงไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการสามารถฟ้องเรียกแทนผู้เสียหายได้แล้วแต่ไม่เรียก ฟ้องของโจทก์คดีแพ่งในส่วนของดอกเบี้ยจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการแจ้งเหตุขัดข้อง การมอบฉันทะเสมียนทนายไม่ถือเป็นการมาศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติว่า "คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ" การที่เสมียนทนายจำเลยที่ 2 ได้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนายและฟังคำสั่งของศาลชั้นต้น เสมียนทนายจำเลยที่ 2 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความตามบทบัญญัติดังกล่าวเพราะเสมียนทนายจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ นอกจากมายื่นคำร้องดังกล่าวและรับทราบคำสั่งของศาลตามที่รับมอบหมายจากทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์
คดีนี้ฟ้องร้องกันก่อนมีการแก้ไข ป.วิ.พ. มาตรา 202 เดิม จึงต้องใช้มาตรา 202 เดิม ที่บัญญัติว่า " ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว?" และมาตรา 197 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา" ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 จะขาดนัดพิจารณาหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ทนายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล แต่ทนายจำเลยที่ 2 ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนาย ถือว่าจำเลยที่ 2 แจ้งเหตุขัดข้องที่ฝ่ายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล จึงไม่ครบหลักเกณฑ์ตามมาตราดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 จึงขอให้มีการพิจารณาใหม่ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207
คดีนี้ฟ้องร้องกันก่อนมีการแก้ไข ป.วิ.พ. มาตรา 202 เดิม จึงต้องใช้มาตรา 202 เดิม ที่บัญญัติว่า " ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว?" และมาตรา 197 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา" ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 จะขาดนัดพิจารณาหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ทนายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล แต่ทนายจำเลยที่ 2 ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนาย ถือว่าจำเลยที่ 2 แจ้งเหตุขัดข้องที่ฝ่ายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล จึงไม่ครบหลักเกณฑ์ตามมาตราดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 จึงขอให้มีการพิจารณาใหม่ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาคดีทรัพย์สินร่วมกันของสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยฟ้องแย้งขอให้แบ่งเงิน 4,000,000 บาท โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกันระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ จึงถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่พิพาทตามฟ้องแย้ง เมื่อโจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีการนำเงิน 4,000,000 บาท ไปฝากที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ครั้งสุดท้ายนำไปฝากที่บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ในนามของจำเลย ต่อมาเมื่อปี 2546 ได้มีการเปลี่ยนชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นชื่อของโจทก์ และโจทก์ได้เบิกถอนเงิน 4,000,000 บาท จากบริษัทเงินทุน หากในที่สุดแล้วศาลพิพากษาให้แบ่งเงินแก่จำเลยกึ่งหนึ่ง จำเลยก็จะได้ประโยชน์จากการที่ศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองประโยชน์ตามคำร้องของจำเลย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างพิจารณาโดยให้โจทก์นำเงินจำนวน 2,000,000 บาท มาวางต่อศาลชั้นต้นชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สัญญากู้ยืมเงินเป็นหลักฐานในคดีแพ่ง จำเป็นต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตั้งแต่แรก
สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนมาแต่ต้น โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขออนุญาตปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งหรือก่อนที่ศาลชั้นต้นจะตัดสินชี้ขาดคดี การที่โจทก์เพิ่งมายื่นคำร้องหลังจากที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาคดีแล้ว ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ทำการแก้ไข ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์นำสัญญากู้ยืมเงินไปปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วน แล้วส่งคืนเข้าสำนวนในชั้นฎีกา จึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวยังคงเป็นตราสารที่ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน โจทก์จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ถือได้ว่าโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมมาแสดง โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3593/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่ง: การอ้างการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องยกขึ้นในคดีเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยหลอกลวงโจทก์ให้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความและเอกสารหลายฉบับที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเพื่อให้จำเลยนำไปถอนฟ้อง แต่จำเลยกับ อ. กลับสมคบกันกรอกข้อความในใบแต่งทนายความดังกล่าวเป็นว่าโจทก์แต่งตั้ง อ. เป็นทนายความมีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ แล้วจำเลยกับ อ. ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์กล่างอ้างมาในคำฟ้อง กระบวนพิจารณาที่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลชั้นต้นย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นตามนั้นด้วยแต่อย่างใดจึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย มิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันเป็นเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีที่มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงชอบที่จะยกขึ้นว่ากล่าวกันในคดีเดิมที่อ้างว่ามีการพิจารณาที่ผิดระเบียบจะมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่หาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาควบคู่กับคดีแพ่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้องและผลกระทบต่อการถอนฟ้อง
แม้ในวันเกิดเหตุจะไม่ใช่วันนัดพิจารณาทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาและคู่ความไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกนั่งพิจารณาคดีเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แต่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้นัดคู่ความให้มาศาลเพื่อเจรจากันในห้องพักของผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ถือได้ว่าคู่ความมาศาลและขอให้ศาลนั่งพิจารณาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แม้การไกล่เกลี่ยจะได้กระทำในห้องพักของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมิใช่ในห้องพิจารณาคดีของศาล แต่ก็เพื่อความสะดวกแก่การที่คู่ความจะได้เจรจาตกลงกัน ถือว่าศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลโดยชอบแล้ว เมื่อคู่ความอยู่ต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดีของศาลและโจทก์แถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาในศาลนั้นเอง ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาได้
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าเวลา 10 นาฬิกา คู่ความร่วมกันแถลงว่าสามารถตกลงเจรจาในเรื่องทรัพย์มรดกของ ม. ได้ข้อยุติและแบ่งกันได้แล้ว โจทก์จึงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ขอถอนฟ้อง อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนในคดีแพ่ง ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ให้คู่ความไปจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมาทำยอมกันในเวลา 14 นาฬิกา ของวันนั้น แต่เมื่อในตอนบ่ายของวันนั้นไม่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมกัน การถอนฟ้องในคดีอาญาย่อมไม่มีผล การที่ศาลชั้นต้นด่วนอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปพร้อมกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์ขอให้เพิกถอนได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2548)
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าเวลา 10 นาฬิกา คู่ความร่วมกันแถลงว่าสามารถตกลงเจรจาในเรื่องทรัพย์มรดกของ ม. ได้ข้อยุติและแบ่งกันได้แล้ว โจทก์จึงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ขอถอนฟ้อง อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนในคดีแพ่ง ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ให้คู่ความไปจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมาทำยอมกันในเวลา 14 นาฬิกา ของวันนั้น แต่เมื่อในตอนบ่ายของวันนั้นไม่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมกัน การถอนฟ้องในคดีอาญาย่อมไม่มีผล การที่ศาลชั้นต้นด่วนอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปพร้อมกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์ขอให้เพิกถอนได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2548)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาควบคู่กับคดีแพ่ง: ศาลต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกันเพื่อยุติข้อพิพาททั้งหมด
ป.วิ.อ. มาตรา 35 มิได้บัญญัติถึงวิธีถอนฟ้องว่าจะต้องทำเป็นคำร้องแต่วิธีเดียวเท่านั้น หากคู่ความมาอยู่ต่อหน้าศาลและแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาย่อมไม่ห้ามศาลที่จะยอมรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาที่ได้กระทำในศาล โดยจดข้อความขอถอนฟ้องนั้นลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหรืออาจจะกำหนดให้โจทก์ถอนฟ้องโดยทำเป็นคำร้องขอถอนฟ้องก็ได้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร การนัดคู่ความให้มาศาลเพื่อเจรจากันในห้องทำงานของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลถือได้ว่า คู่ความมาศาลและขอให้ศาลนั่งพิจารณาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แม้การไกล่เกลี่ยจะมิได้กระทำในห้องพิจารณาคดีของศาล แต่ก็อยู่ในศาล ถือว่าศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลโดยชอบแล้ว เมื่อคู่ความอยู่ต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดีของศาล และโจทก์แถลงของถอนฟ้องด้วยวาจาในศาลนั้นเองก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาได้โดยชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาคดีนี้เกี่ยวด้วยมรดกของ ม. ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยคู่ความทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาไปในคราวเดียวกัน เจตนาในการไกล่เกลี่ยก็เพื่อยุติข้อพิพาททั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปทั้งสองคดีในคราวเดียวกัน ดังนั้น แม้คู่ความจะตกลงกันในคดีแพ่งได้และโจทก์ยอมจะถอนฟ้องคดีอาญา ศาลชั้นต้นก็ต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไปพร้อมกับอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีอาญาไปในคราวเดียวกันเพื่อให้คดีทั้งสองยุติไปตามเจตนาในการไกล่เกลี่ยและเจรจาตกลงกัน การที่ศาลชั้นต้นด่วนบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าโจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยคัดค้าน ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปเพื่อให้คดีทั้งสองยุติไปพร้อมกันในคราวเดียวกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง และผิดหลง และผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์จึงชอบที่จะขอให้เพิกถอนเสียได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาคดีนี้เกี่ยวด้วยมรดกของ ม. ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยคู่ความทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาไปในคราวเดียวกัน เจตนาในการไกล่เกลี่ยก็เพื่อยุติข้อพิพาททั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปทั้งสองคดีในคราวเดียวกัน ดังนั้น แม้คู่ความจะตกลงกันในคดีแพ่งได้และโจทก์ยอมจะถอนฟ้องคดีอาญา ศาลชั้นต้นก็ต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไปพร้อมกับอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีอาญาไปในคราวเดียวกันเพื่อให้คดีทั้งสองยุติไปตามเจตนาในการไกล่เกลี่ยและเจรจาตกลงกัน การที่ศาลชั้นต้นด่วนบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าโจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยคัดค้าน ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปเพื่อให้คดีทั้งสองยุติไปพร้อมกันในคราวเดียวกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง และผิดหลง และผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์จึงชอบที่จะขอให้เพิกถอนเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาต้องควบคู่กับคดีแพ่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี
ป.วิ.อ. มาตรา 35 มิได้บัญญัติถึงวิธีถอนฟ้องว่าจะต้องทำเป็นคำร้องแต่วิธีเดียวเท่านั้น หากคู่ความมาอยู่ต่อหน้าศาลและแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาย่อมไม่ห้ามศาลที่จะยอมรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาที่ได้กระทำในศาล โดยจดข้อความขอถอนฟ้องนั้นลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหรืออาจจะกำหนดให้โจทก์ถอนฟ้องโดยทำเป็นคำร้องขอถอนฟ้องก็ได้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร การที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดขอนแก่นได้นัดคู่ความให้มาศาลเพื่อเจรจากันในห้องพักของผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ถือได้ว่าคู่ความมาศาลและขอให้ศาลนั่งพิจารณาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แม้จะได้กระทำในห้องพักของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมิใช่ในห้องพิจารณาคดีแต่ก็เพื่อความสะดวกแก่คู่ความจะได้เจรจาตกลงกันถือว่าศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลโดยชอบแล้ว เมื่อคู่ความอยู่ต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดีของศาล และโจทก์แถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาในศาลนั้นเอง ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยเพื่อยุติข้อพิพาททั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปในคราวเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าเวลา 10 นาฬิกา คู่ความร่วมกันแถลงว่าสามารถตกลงเจรจาในเรื่องทรัพย์มรดกของ ม. ได้ข้อยุติและแบ่งกันได้แล้ว โจทก์จึงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ขอถอนฟ้องอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนในคดีแพ่ง ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ให้คู่ความไปจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมาทำยอมกันในเวลา 14 นาฬิกาของวันนั้น แต่เมื่อในตอนบ่ายของวันนั้นไม่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมกัน การถอนฟ้องในคดีอาญาย่อมไม่มีผล การที่ศาลชั้นต้นด่วนอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปพร้อมกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ขอให้เพิกถอนได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยเพื่อยุติข้อพิพาททั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปในคราวเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าเวลา 10 นาฬิกา คู่ความร่วมกันแถลงว่าสามารถตกลงเจรจาในเรื่องทรัพย์มรดกของ ม. ได้ข้อยุติและแบ่งกันได้แล้ว โจทก์จึงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ขอถอนฟ้องอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนในคดีแพ่ง ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ให้คู่ความไปจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมาทำยอมกันในเวลา 14 นาฬิกาของวันนั้น แต่เมื่อในตอนบ่ายของวันนั้นไม่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมกัน การถอนฟ้องในคดีอาญาย่อมไม่มีผล การที่ศาลชั้นต้นด่วนอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปพร้อมกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ขอให้เพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้ล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเฉพาะคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องคดีอาญาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาบุกรุก แม้ปรากฏว่าโจทก์อยู่ในฐานะเป็นบุคคลล้มละลายที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น หมายถึง เฉพาะแต่การฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ไม่รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วย และการที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลายก็ไม่มีฐานะถึงขนาดจะตกเป็นผู้ไร้ความสามารถอันจำต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) อีกทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 มิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการแทนลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วด้วย ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง