พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5664/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและรับของโจรเป็นคนละกรรมกัน แม้จะเกี่ยวกับอาวุธปืนเดียวกัน
การมีอาวุธปืนไว้ครอบครอง เป็นความผิดนับแต่วาระแรกที่จำเลยได้อาวุธปืนมาไว้ในครอบครอง และเป็นความผิดอยู่ตลอดเวลาเรื่อยไปจนกระทั่งจำเลยถูกจับได้พร้อมด้วยอาวุธปืน ส่วนความผิดฐานรับของโจรนั้น จำเลยรับของโจรอาวุธปืนในขณะใดขณะหนึ่งในระหว่างวันที่ 7 กันยายน 2547 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 เวลากลางวัน ดังนั้น ความผิดฐานรับของโจรอาวุธปืนจึงเป็นความผิดในขณะใดขณะหนึ่งตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง และเป็นการกระทำความผิดซึ่งอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7911/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง และยืนตามศาลอุทธรณ์เรื่องความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนเป็นคนละกรรม
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เฉพาะมาตรา 66 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ เป็นมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ไม่ได้แก้เป็นบทมาตราอื่นแต่อย่างใด ส่วนโทษก็แก้เฉพาะโทษในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จากที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 5 ปี เป็น 4 ปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยและขอให้ลงโทษจำเลยสถานเบา ล้วนเป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดโทษ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาในข้อดังกล่าวมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
การมีอาวุธปืนไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตกับการมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน แม้มีอาวุธปืนและกระสุนปืนดังกล่าวไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91
การมีอาวุธปืนไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตกับการมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน แม้มีอาวุธปืนและกระสุนปืนดังกล่าวไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำและมีสุราไว้ในครอบครองเป็นคนละกรรม ศาลฎีกายกประเด็นแก้ไขแม้ไม่ยกขึ้นในอุทธรณ์ การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิด
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5, 30, 32 บัญญัติความผิดและบทลงโทษฐานทำสุรากับฐานมีสุราไว้ในครอบครองไว้คนละมาตรา จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
ข้อหาทำสุราและข้อหามีสุราไว้ในครอบครองในคราวเดียวกันแม้จำเลยจะทำทั้งสุรากลั่นและสุราแช่และมีทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ ในแต่ละข้อหาก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงต้องฟังว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 การที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่ารถยนต์ของกลางไม่อาจเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามลักษณะของความผิดที่โจทก์ฟ้องได้นั้น เป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ผิดไปจากคำรับสารภาพของจำเลยเป็นการไม่ชอบ
ข้อหาทำสุราและข้อหามีสุราไว้ในครอบครองในคราวเดียวกันแม้จำเลยจะทำทั้งสุรากลั่นและสุราแช่และมีทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ ในแต่ละข้อหาก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงต้องฟังว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 การที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่ารถยนต์ของกลางไม่อาจเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามลักษณะของความผิดที่โจทก์ฟ้องได้นั้น เป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ผิดไปจากคำรับสารภาพของจำเลยเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำสุราและมีสุราไว้ในครอบครองเป็นคนละกรรม, การริบทรัพย์สินจากคำรับสารภาพ
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5,30,32 บัญญัติความผิดและบทลงโทษฐานทำสุรากับฐานมีสุราไว้ในครอบครองไว้คนละมาตรา จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
ข้อหาทำสุราและข้อหามีสุราไว้ในครอบครองในคราวเดียวกันแม้จำเลยจะทำทั้งสุรากลั่นและสุราแช่และมีทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ ในแต่ละข้อหาก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงต้องฟังว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 การที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่ารถยนต์ของกลางไม่อาจเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามลักษณะของความผิดที่โจทก์ฟ้องได้นั้น เป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ผิดไปจากคำรับสารภาพของจำเลยเป็นการไม่ชอบ.
ข้อหาทำสุราและข้อหามีสุราไว้ในครอบครองในคราวเดียวกันแม้จำเลยจะทำทั้งสุรากลั่นและสุราแช่และมีทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ ในแต่ละข้อหาก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงต้องฟังว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 การที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่ารถยนต์ของกลางไม่อาจเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามลักษณะของความผิดที่โจทก์ฟ้องได้นั้น เป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ผิดไปจากคำรับสารภาพของจำเลยเป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่? ยักยอกทรัพย์กับออกเช็คโดยเจตนาไม่ใช้เงินเป็นคนละกรรม
คดีแรกเป็นคดีฟ้องว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ แล้วยอมความกัน จำเลยออกเช็คใช้หนี้ในคดีนั้น เช็คนั้นธนาคารไม่จ่ายเงิน เป็นความผิดคนละกรรมกัน