พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนสาบสูญ: การพิจารณาช่วงเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 เมื่อยานพาหนะถูกพบ
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า พบรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ ช. ใช้เดินทาง กรณีจึงมิใช่ยานพาหนะที่ ช. เดินทางสูญหาย อันจะเข้าหลักเกณฑ์ระยะเวลา 2 ปี ที่จะร้องขอให้ ช. เป็นคนสาบสูญ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่จะต้องใช้หลักเกณฑ์ระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาในการขอศาลสั่งให้บุคคลเป็นคนสาบสูญตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่
ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์... ฯลฯ... ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" ในระหว่างเกิดเหตุคดีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ยังไม่ใช้บังคับ การนับระยะเวลาในการที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไปตกต้องในฐานที่จะเป็นภยันตรายแก่ชีวิตอันจะเป็นคนสาบสูญจึงต้องนับเวลาถึงสามปีนับแต่เมื่อภยันตรายได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64วรรคสอง เดิม แม้โจทก์จะมาร้องขอให้ ม.เป็นคนสาบสูญเมื่อประมวลกฎหมาย-แพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ใช้บังคับแล้ว และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 วรรคสอง ที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้ลดระยะเวลาเหลือเพียงสองปีนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตได้ผ่านพ้นไปก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 แล้ว จะเห็นได้ว่าระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 วรรคสอง เดิม ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ใช้บังคับและระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทั้งระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 วรรคสอง เดิมยาวกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 61วรรคสอง จึงต้องถือระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราช-บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 14 ดังนั้น การร้องขอให้ศาลสั่งให้ ม.เป็นคนสาบสูญในคดีนี้ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 วรรคสองเดิม คือใช้ระยะเวลา 3 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาการขอศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ: ผลกระทบจากกฎหมายใหม่และการใช้บทบัญญัติเดิม
ในระหว่างเกิดเหตุคดีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535ยังไม่ใช้บังคับการนับระยะเวลาในการที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไปตกต้องในฐานที่จะเป็นภยันตรายแก่ชีวิตอันจะเป็นคนสาบสูญจึงต้องนับเวลาถึงสามปีนับแต่เมื่อภยันตรายได้ผ่านพ้นไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา64วรรคสองเดิมแม้ผู้ร้องจะมาร้องขอให้ม. เป็นคนสาบสูญเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535ใช้บังคับแล้วและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา61วรรคสองที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้ลดระยะเวลาเหลือเพียงสองปีนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตได้ผ่านพ้นไปก็ตามเพราะว่าตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535มาตรา14ให้ใช้ระยะเวลาที่ยาวกว่าบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาคนสาบสูญตามกฎหมายแพ่งที่แก้ไขใหม่: ใช้กฎหมายเดิมเมื่อระยะเวลาเดิมยังไม่สิ้นสุด
ตาม พระราชบัญญัติ ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535มาตรา14บัญญัติว่า"บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯลฯซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิมให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ"ในระหว่างเกิดเหตุคดีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535ยังไม่ใช้บังคับการ นับระยะเวลาในการที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไปตกต้องในฐานที่จะเป็นภยันตรายแก่ชีวิตอันจะเป็นคนสาบสูญจึงต้องนับเวลาถึงสามปีนับแต่เมื่อภยันตรายได้ผ่านพ้นไปแล้วทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา64วรรคสองเดิมแม้โจทก์จะมาร้องขอให้ ม. เป็นคนสาบสูญเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535ใช้บังคับแล้วและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา61วรรคสองที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้ลดระยะเวลาเหลือเพียงสองปีนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตได้ผ่านพ้นไปก็ตามแต่เมื่อพิจารณาตามมาตรา14แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535แล้วจะเห็นได้ว่าระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา64วรรคสองเดิมใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535ใช้บังคับและระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับทั้งระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา64วรรคสองเดิมยาวกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535มาตรา61วรรคสองจึงต้องถือระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535มาตรา14ดังนั้นการร้องขอให้ศาลสั่งให้ ม. เป็นคนสาบสูญในคดีนี้จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา64วรรคสองเดิมคือใช้ระยะเวลา3ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกแทนที่และการเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีคนสาบสูญ กรณีผู้รับมรดกแทนที่ยังมีชีวิตอยู่
ผู้ร้องไม่มีสิทธิรับมรดกของ ผ.แทนที่ท. บิดาของผู้ร้องเพราะขณะที่ถือว่า ผ.ถึงแก่ความตายนั้นท. ยังมีชีวิตอยู่ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ. เป็นคนสาบสูญได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับมรดกของคนสาบสูญ: ผู้ร้องต้องมีสิทธิรับมรดกแทนที่ก่อนที่ผู้สาบสูญถึงแก่ความตาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ. เป็นคนสาบสูญโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ผ. ดังนี้ หากศาลสั่งให้ ผ.เป็นคนสาบสูญตามกฎหมายก็ต้องถือว่าผ. ถึงแก่ความตายเมื่อครบ 7 ปี นับแต่ไปจากภูมิลำเนา คิดแล้วไม่เกินปี พ.ศ. 2476 แต่ท.บิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมเมื่อปีพ.ศ.2478ดังนั้นถึงท.จะมีสิทธิรับมรดกของ ผ. ในฐานะลุง ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของ ผ.แทนที่ท.เพราะขณะที่ถือว่าผ.ถึงแก่ความตายนั้นท. ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ. เป็นคนสาบสูญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้ศาลสั่งให้บุคคลเป็นคนสาบสูญ เมื่อขาดการติดต่อและออกจากภูมิลำเนาเป็นเวลานาน
ในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้บิดาของผู้ร้องเป็นคนสาบสูญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 และมีผู้คัดค้านเข้ามาในคดี เมื่อพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่มีใครทราบแน่ว่า บิดาผู้ร้องเป็นตายร้ายดีอย่างไร แต่เมื่อฟังได้ว่าบิดาผู้ร้องไปจากภูมิลำเนาได้ 20 ปีเศษแล้ว โดยไม่กลับมาอีกเลย กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 ในอันที่จะมีคำสั่งให้บิดาผู้ร้องเป็นคนสาบสูญได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต้องรอคำสั่งศาลให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก่อน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 บัญญัติว่า "ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อเจ้ามรดกตาย..." หมายความว่าในขณะยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกต้องปรากฏว่าเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องขอและตามทางไต่สวนได้ความว่า ขณะยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของ บ. ศาลยังมิได้มีคำสั่งว่า บ. เป็นคนสาบสูญ จึงถือไม่ได้ว่า บ. ถึงแก่ความตายแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 และ 62 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของ บ. มาพร้อมกับขอให้ศาลสั่งให้ บ. เป็นคนสาบสูญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนสาบสูญมีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับการตาย จ่ายเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ได้
ป.พ.พ มาตรา 62 บัญญัติว่าบุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61 ดังนั้น ผลแห่งความตายเพราะสาบสูญจึงมีเช่นเดียวกับการตายธรรมดาคือสิ้นสภาพบุคคลและเกิดผลตามมาในเรื่องทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ทายาท รวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่ความรับผิดที่ผู้ตายจะต้องได้รับนับแต่มีคำสั่งศาลแสดงว่าเป็นคนสาบสูญ และเมื่อพิจารณาประกอบ พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ มาตรา 4 ใน พ.ร.บ.นี้การฌาปนกิจสงเคราะห์ หมายความว่า กิจการที่บุคคลหลายคนตกลงเข้าร่วมกันเพื่อทำการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ หรือจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ตกลงเข้าร่วมกันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรหรือรายได้เพื่อแบ่งปันกัน จะเห็นได้ว่าเมื่อ ห. ถูกศาลสั่งให้เป็นคบสาบสูญมีผลเท่ากับ ห. ถึงแก่ความตาย และเมื่อ ห. เป็นสมาชิกของจำเลย ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัว โดยโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ห. เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินฌาปนกิจสงเคราะห์แก่ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ มีผลเช่นเดียวกับการตาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 62 บัญญัติว่าบุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61 ดังนั้น ผลแห่งความตายเพราะสาบสูญจึงมีเช่นเดียวกับการตายธรรมดาคือสิ้นสภาพบุคคลและเกิดผลตามมาในเรื่องทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ทายาท รวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่ความรับผิดที่ผู้ตายจะต้องได้รับนับแต่มีคำสั่งศาลแสดงว่าเป็นคนสาบสูญ ทั้งตามพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 มาตรา 4 การฌาปนกิจสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ตกลงเข้าร่วมกันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรหรือรายได้เพื่อแบ่งปันกัน ดังนั้น การที่ ล. ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญจึงมีผลเท่ากับ ล. ถึงแก่ความตายเมื่อ ล. เป็นสมาชิกของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์จำเลย ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัว โดยโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ล. เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ดังกล่าวแม้ไม่มีศพที่จะต้องจัดการก็ต้องจ่ายเงินค่าจัดการศพ