พบผลลัพธ์ทั้งหมด 468 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: สิทธิครอบครองที่ดินร่วมกันระหว่างสามีภรรยาผูกพันคู่ความในคดีก่อน
จำเลยคดีนี้เคยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ พ. สามีโจทก์พร้อมทั้งบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาท พ. ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และโจทก์ยอมให้ พ. พร้อมบริวารมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด พ. ถึงแก่ความตายเมื่อประมาณปี 2537 ต่อมาปี 2539 จำเลยนำเจ้าพนักงานรังวัดที่ดิน แต่โจทก์คัดค้านว่าเป็นที่ดินที่ พ. ครอบครองมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว อันเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ต่อจำเลย การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2540 โดยกล่าวอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2500 เป็นการกล่าวอ้างถึงสิทธิที่ได้ครอบครองร่วมกันมากับ พ. ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิของ พ. นั่นเอง จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นคู่ความเดียวกับ พ. โดยประเด็นที่วินิจฉัยเป็นเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การซื้อขาย vs. การแย่งการครอบครอง และประเด็นอายุความ
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์โดยโจทก์ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น หาได้หมายถึงที่ดินที่ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเองไม่ การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการซื้อมาจากโจทก์จึงไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การซื้อขายที่ดินและการขาดอายุความฟ้องคดี
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบการครอบครองให้จำเลยแล้ว จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ดังนี้ ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองเพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น หาได้หมายถึงที่ดินที่ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเองไม่ การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการซื้อมาจากโจทก์ จึงไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: คดีครอบครองที่ดินมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ศาลโอนคดีได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทจำเลยที่ 1 ออกเอกสารสิทธิสำหรับที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ครอบทับที่พิพาทที่โจทก์ครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่พิพาทเพื่อเพิกถอนหรือแก้ไขให้เป็นชื่อโจทก์ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องและมีคำขอบังคับให้สิทธิครอบครองในที่พิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทมีราคาไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2421/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดิน: ศาลวินิจฉัยว่าการฟ้องแย่งการครอบครองไม่เกิดขึ้นหากจำเลยอ้างเป็นเจ้าของแต่แรก
จำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 3 ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า จำเลยที่ 3 จึงเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยปลูกสร้างบ้านและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ตามคำให้การของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาแต่ต้น ไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินทำประโยชน์ สิทธิครอบครองย่อมเกิดขึ้นก่อนสิทธิปฏิรูปที่ดิน การจัดให้ผู้ไม่สิทธิครอบครองเข้าทำประโยชน์จึงไม่ชอบ
ป. เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยและได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยไปตั้งแต่เดือนมกราคม 2532 แล้ว จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และมาตรา 1778 การที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโจทก์จัดให้ ป. ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงขัดต่อหลักเกณฑ์ตามประกาศของโจทก์ข้อ 1 ข. (1) เพราะขณะโจทก์จัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์นั้นเป็นการกระทำภายหลังวันที่ 19 กันยายน 2532 ซึ่งเป็นวันออกประกาศอันเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป. ได้มอบการครอบครองให้จำเลยไปแล้ว ป. จึงไม่ใช่เกษตรกรผู้ครอบครองที่ดิน การจัดให้ ป. เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ตลอดจนการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ให้ ป. จึงไม่ชอบ
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโจทก์ฟ้องว่าได้ที่ดินพิพาทมาโดย ป. สละการครอบครองให้ มิได้ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นโจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท และไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาใช้ในการปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4)
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโจทก์ฟ้องว่าได้ที่ดินพิพาทมาโดย ป. สละการครอบครองให้ มิได้ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นโจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท และไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาใช้ในการปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการห้ามฎีกาในคดีที่เกี่ยวข้องกับค่าเช่าและการครอบครองที่ดิน
คดีเดิมเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท อันเป็นคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ส่วนคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับบริวารของจำเลย และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสาม
ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน ผู้ร้องอยู่ในที่ดินพิพาทในฐานะบริวารของจำเลย ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องมีสิทธิพิเศษเหนือที่ดินพิพาทเพราะผู้ร้องคัดค้านการรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท เป็นการเปลี่ยนเจตนายึดถือที่ดินมาเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องแย่งการครอบครองเกิน 1 ปีแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ ฎีกาของผู้ร้องจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยกับบริวาร ผู้ร้องจะยื่นคำร้องว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับผู้ร้องในชั้นบังคับคดีเพียงว่า ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่เท่านั้น
ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน ผู้ร้องอยู่ในที่ดินพิพาทในฐานะบริวารของจำเลย ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องมีสิทธิพิเศษเหนือที่ดินพิพาทเพราะผู้ร้องคัดค้านการรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท เป็นการเปลี่ยนเจตนายึดถือที่ดินมาเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องแย่งการครอบครองเกิน 1 ปีแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ ฎีกาของผู้ร้องจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยกับบริวาร ผู้ร้องจะยื่นคำร้องว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับผู้ร้องในชั้นบังคับคดีเพียงว่า ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8844/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง และการพิสูจน์สิทธิครอบครองโดยการยกให้จากมารดา
จำเลยให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพราะมารดายกให้และจำเลยครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา จึงไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่ดินเป็นของผู้อื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและจำเลยครอบครองเองจึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่วันเวลาที่ถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง หรือไม่ ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ซึ่งเป็นการมิชอบ ทั้งปัญหานี้มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยแต่ว่าโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อเอาคืนการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง โดยอ้างว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินหลังผิดสัญญาซื้อขาย: จำเลยมีสิทธิครอบครองต่อเนื่อง แม้โจทก์เคยครอบครองก่อน
แม้โจทก์จะเคยครอบครองที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 3404 อันเป็นที่ดินพิพาทมาก่อนทำสัญญาซื้อขาย และเมื่อทำสัญญาซื้อขายแล้วจำเลยก็ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แต่เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่ชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ตามสัญญา จำเลยก็กลับเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา แสดงว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาจะสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท การครอบครองของโจทก์ดังกล่าวเป็นการครอบครองแทนจำเลย จำเลยจึงยังคงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยประเด็นครอบครองที่ดินต่อเนื่องจากคดีอาญา และการเป็นเจ้าของส่วนควบ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกันบุกรุกเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินพิพาท และทำให้เสียทรัพย์โดยตัดฟันต้นสนของโจทก์ที่ปลูกอยู่ในที่ดินดังกล่าวซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทและพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสอง คดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทโดยตรงเป็นประเด็นเดียวกันว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ ในการพิพากษาคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ไม่อาจฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ดังนั้นเมื่อฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท ต้นสนที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน โจทก์ย่อมเป็นเจ้าของต้นสนด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองร่วมกันตัดฟันต้นสนของโจทก์เสียหาย จึงต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้โจทก์