คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ครอบครองเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4442/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเงินผิดพลาดและการส่งมอบโดยสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง
พนักงานของธนาคารโจทก์ร่วมรับฝากเงินจากสาขาของบริษัท ท. เพื่อโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ของบริษัท ท. สำนักงานใหญ่แต่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผิดพลาดไปเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่ธนาคารโจทก์ร่วม จำเลยได้ถอนเงินจำนวนดังกล่าวในบัญชีของจำเลยไปจากธนาคารของโจทก์ร่วม แม้จำเลยจะทราบแต่เพียงฝ่ายเดียวว่าเงินนั้นเข้าบัญชีผิดพลาด แต่จำเลยมีเจตนาทุจริตถือได้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยเพราะโจทก์ร่วมได้ส่งมอบให้โดยสำคัญผิดมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์: การครอบครองเงินแทนผู้อื่นแล้วเบียดบังยักยอกเข้าตัวเองถือเป็นความผิดอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยรับมอบเหรียญหลวงปู่แหวนจำนวน 20 องค์ ราคาองค์ละ 10 บาท รวมราคา 200 บาทจากผู้เสียหาย เพื่อเอาไปจำหน่ายให้กับประชาชนโดยทั่วไป แล้วจะต้องนำเงินที่จำหน่ายเหรียญดังกล่าวมอบให้ผู้เสียหายในวันเดียวกัน ต่อมาวันเดียวกันนี้จำเลยซึ่งได้ครอบครองเงินค่าจำหน่ายเหรียญดังกล่าวจำนวน 200 บาท ได้เบียดบังยักยอกเอาเงินดังกล่าวของผู้เสียหายไปเป็นประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต ดังนี้เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า จำเลยครอบครองเงินค่าจำหน่ายเหรียญของผู้เสียหาย มีหน้าที่ต้องนำเงินดังกล่าวมาคืนให้ผู้เสียหาย แต่แล้วได้เบียดบังยักยอกไป อันครบองค์ความผิดฐานยักยอกแล้ว และจำเลยรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นที่ยุติตามคำฟ้องและคำให้การว่า เงินค่าจำหน่ายเหรียญเป็นของผู้เสียหาย เมื่อจำเลยเบียดบังไปโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินต้องมีการครอบครองเงินจริง การรับหลักฐานเบิกจ่ายไม่ถือเป็นการยักยอก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงิน แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าเงินในรายการข้อ ก. และข้อ ง. ที่โจทก์บรรยายในฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงินนั้น จำเลยมิได้รับตัวเงินไว้เป็นแต่รับหลักฐานเป็นหนังสือ ซึ่งเป็นการเบิกหักผลักส่ง ดังนั้น จึงมิใช่เป็นการยักยอกเงินตามฟ้องของโจทก์