พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6821/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาฟ้องคดีเยาวชน: ไม่เริ่มนับหากถูกควบคุมในคดีอื่น
จำเลยเป็นเยาวชนถูกจับกุมและควบคุมในคดีอื่น ต่อมาพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาคดีนี้ให้จำเลยทราบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับกุมในคดีนี้ การนับระยะเวลาเพื่อฟ้องคดีตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ยังไม่เกิดขึ้น การฟ้องคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการควบคุมกระบวนพิจารณาเพื่อความเป็นธรรมและความรวดเร็วในการดำเนินคดี
การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอำนาจของศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 271 ศาลย่อมมีสิทธิควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำพยานเข้าสืบเพียง 1 ปาก จนจบคำซักถามแล้วให้เลื่อนคดีไปซักค้านนัดต่อไปพร้อมกับสืบพยานคู่อีกปากหนึ่งเพื่อความเป็นธรรมที่จะไม่ให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีและเพื่อความรวดเร็ว เนื่องจากการซักถามในนัดนี้ไว้ก่อนจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปซักถามในนัดหน้า คำสั่งของศาลชั้นต้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5679/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถยนต์ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายหากไม่ได้ครอบครองหรือควบคุมรถในขณะเกิดเหตุ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 ที่กำหนดว่าบุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะใดอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น ผู้ครอบครอง หมายถึง ผู้ใช้ยานพาหนะนั้นในฐานะเป็นผู้ยึดถือในขณะเกิดความเสียหาย หรือเป็นผู้ครอบครองยานพาหนะนั้นอยู่ในขณะเกิดเหตุ ฉะนั้น เมื่อจำเลยมิได้เป็นผู้ขับหรือโดยสารไปในรถยนต์ด้วยแม้จะมีชื่อในทะเบียนเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถยนต์คันเกิดเหตุตามความในมาตราดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก vs. สิทธิควบคุมของทายาท: ผู้จัดการมรดกจัดการเอง ทายาทสั่งการไม่ได้
ผู้จัดการมรดกที่ศาลมีคำสั่งตั้งมิใช่ตัวแทนของทายาท เพราะอำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้จัดการมรดกต่อทายาทเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายผู้จัดการมรดกจึงมีฐานะเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาทในอันที่จะต้องจัดการมรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท
ทายาทไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้นำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1720 และทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1727
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1726, 1727 วรรคสอง, 1729,1731 และ 1732 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทที่ตั้งตามพินัยกรรมเข้าบริหารทรัพย์สินของกองมรดกแทนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย เป็นวิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะกระทำเองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 และ 1723 ดังนี้ทายาทย่อมไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำการดังกล่าวได้ และมิใช่อำนาจของศาลที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำเช่นกัน
ทายาทไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้นำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1720 และทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1727
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1726, 1727 วรรคสอง, 1729,1731 และ 1732 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทที่ตั้งตามพินัยกรรมเข้าบริหารทรัพย์สินของกองมรดกแทนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย เป็นวิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะกระทำเองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 และ 1723 ดังนี้ทายาทย่อมไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำการดังกล่าวได้ และมิใช่อำนาจของศาลที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาใหม่: กำหนดเวลาและพฤติการณ์นอกเหนือควบคุม
แม้พนักงานเดินหมายปิดคำบังคับไว้ที่ภูมิลำเนาของจำเลยตามทะเบียนราษฎรเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2540 คำบังคับดังกล่าวมีผลใช้ได้ในวันที่7 มีนาคม 2540 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคสอง จำเลยจึงอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล ซึ่งครบกำหนดวันที่ 21 มีนาคม 2540 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยอ้างว่าจำเลยเพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 กรณีถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อจำเลยทราบว่าถูกฟ้อง ดังนี้จำเลยจึงชอบที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ 23กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่พฤติการณ์ดังกล่าวนั้นสิ้นสุดลงเป็นต้นไป แต่เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คือภายในวันที่ 7 สิงหาคม 2540ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงสิ้นสิทธิที่จะขอให้พิจารณาใหม่
ที่จำเลยฎีกาว่า เครื่องถ่ายเอกสารของศาลเสียทำให้ไม่มีเอกสารใช้ประกอบคำขอให้พิจารณาใหม่ เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้น เมื่อจำเลยสิ้นสิทธิที่จะขอพิจารณาใหม่ไปแล้ว ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวซึ่งไม่ปรากฏในคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย จึงไม่ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือบังคับได้อีก
ที่จำเลยฎีกาว่า เครื่องถ่ายเอกสารของศาลเสียทำให้ไม่มีเอกสารใช้ประกอบคำขอให้พิจารณาใหม่ เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้น เมื่อจำเลยสิ้นสิทธิที่จะขอพิจารณาใหม่ไปแล้ว ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวซึ่งไม่ปรากฏในคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย จึงไม่ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือบังคับได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ปกครองยินยอมให้ผู้เยาว์ใช้รถโดยขาดการควบคุม ย่อมถือว่ารู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด
กุญแจที่ใช้กับรถจักรยานยนต์ของกลางมีจำนวน 2 ชุดโดยชุดหนึ่งแขวนไว้ในบ้านเพื่อให้บุคคลในบ้านสามารถหยิบไปใช้ได้ ส่วนอีกชุดหนึ่งจะเก็บรักษาไว้สำหรับเมื่อกุญแจที่แขวนไว้ดังกล่าวสูญหาย และจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์สามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ร้อง และส่วนใหญ่จำเลยจะนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้โดยไม่ได้บอกผู้ร้อง แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการใช้ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองของตนจะนำรถจักรยานยนต์ไปใช้ในกิจการใดเมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับขี่แข่งขันกันในถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรเช่นนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาควบคุมและฝึกอบรมเยาวชน ต้องไม่เกินอายุ 24 ปีบริบูรณ์ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึก และอบรมยังสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนดตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและ วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) นั้น ต้องไม่เกินกว่าที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปี บริบูรณ์ เว้นแต่กรณีที่ศาลมีคำสั่งตามวรรคสุดท้ายของมาตรา 104 ซึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายจะต้องระบุให้ชัดเจนใน คำพิพากษาว่า เมื่อจำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนดด้วย จำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา วันที่ 29 ธันวาคม 2540 ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลย ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี นับแต่วันพิพากษาตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) จึงครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นต่ำกำหนด 2 ปี ในวันที่ 29 ธันวาคม 2542 และครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นสูง 4 ปี วันที่ 29 ธันวาคม 2544 ซึ่งเกินกว่าที่จำเลยมีอายุครบ ยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงขัดต่อกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้น วินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรม มีกำหนดขั้นสูงจนกว่าจำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ ตามมาตรา 104 ประกอบด้วยมาตรา 105
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4915/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลบหนีระหว่างถูกคุมขัง: การกระทำสำเร็จแม้ถูกจับในอาคาร
จำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีชิงทรัพย์ถูกคุมขังอยู่ที่ห้องขังของสถานีตำรวจได้วิ่งออกมาจากห้องขังลงไปทางบันไดของสถานีตำรวจในขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้ควบคุมจำเลยได้ไขกุญแจห้องขังเปิดประตูเพื่อนำจำเลยไปพิมพ์ลายนิ้วมือตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ย่อมเป็นการหลบหนีไปในระหว่างที่ถูกคุมขังตามอำนาจของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะติดตามจับกุมจำเลยได้ภายในตัวอาคารสถานีตำรวจก็ตาม ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถยนต์ไม่ถึงแก่ความรับผิดหากไม่ได้ครอบครองหรือควบคุมรถขณะเกิดเหตุ
แม้คำฟ้องของโจทก์จะระบุให้จำเลยรับผิดในฐานะจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุไว้ด้วย แต่ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าในขณะเกิดเหตุจำเลยเพียงเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุเท่านั้น โดยจำเลยมิได้เป็นผู้ขับหรือโดยสารไปด้วย จำเลยจึงมิใช่เป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์คันเกิดเหตุตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 437
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่า: พฤติกรรมสามีไม่ถึงขั้นประพฤติชั่วเป็นเหตุหย่า แม้มีพฤติกรรมหึงหวง ควบคุม และทำร้ายร่างกาย
การที่จำเลยสืบทราบว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหญิงอื่นจึงเสพสุรา สูบบุหรี่ ทะเลาะวิวาท และติดตามควบคุมโจทก์ในวิทยาลัยที่โจทก์ทำงานอยู่นั้น แม้พฤติการณ์ของจำเลยจะก่อให้โจทก์เกิดความเบื่อหน่ายอับอายในหมู่เพื่อนอาจารย์และนักศึกษา แต่ก็เกิดจากความรักหึงหวงหวาดระแวงของจำเลยตามวิสัยสตรีเพศที่เป็นภริยาซึ่งอาจปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นได้ถ้าโจทก์ไม่แสดงความรำคาญใจและฝักใฝ่ในสตรีอื่นให้ปรากฏ ทั้งจำเลยเองก็ไม่สมัครใจหย่าตัดความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากับโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยจึงยังไม่ถึงขั้นประพฤติชั่วที่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรงหรือได้รับความดูถูกเกลียดชังเดือดร้อนเกินควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้