คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ควบคุมดูแล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม: การว่าจ้างเหมาค่าแรงและลักษณะนายจ้าง-ลูกจ้าง
ผู้ประกอบกิจการที่จะอยู่ในฐานะนายจ้างของคนงานรับเหมาค่าแรง ตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องเป็นผู้ประกอบกิจการที่ได้ว่าจ้างเหมาค่าแรงให้แก่ผู้รับเหมาค่าแรงรายใดรายหนึ่งเป็นผู้จัดหาคนงานให้แก่ผู้ประกอบกิจการ หรือผู้รับเหมาค่าแรงนำงานอันเป็นธุรกิจ หรือกระบวนการผลิตของผู้ประกอบกิจการไปให้คนงานของผู้รับเหมาค่าแรงทำในสถานประกอบกิจการหรือสถานที่ทำงานโดยใช้เครื่องมือที่สำคัญในการทำงานของผู้ประกอบกิจการ และคนงานเหล่านั้นต้องมีฐานะเป็นลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงด้วย
โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจค้าข้าว ในการขนข้าวลงเรือไปขายให้แก่ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ โจทก์ว่าจ้าง ส. จีนเต็งใหญ่เป็นผู้รับเหมาค่าแรงขน ส. จะให้ ท. จีนเต็งหัวหน้าสายเป็นคนจัดหาคนงานซึ่งสมัครใจรับจ้างรายวันเฉพาะกิจเป็นคราว ๆ มาขนข้าวสาร โดยก่อนขนข้าวสารลงเรือ คนงานต้องผสมข้าวสารด้วยเครื่องจักรของโจทก์และบรรจุใส่กระสอบผ่านสายพานในโกดังของโจทก์ อันเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับใช้ทำงานที่โจทก์เป็นผู้จัดหา แล้วแบกกระสอบข้าวสารไปลงเรือ การทำงานของคนงานจึงอยู่ภายใต้การควบคุมและสั่งการของ ส. ส. ย่อมมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือคนงานทุกคน ประกอบกับ ส. เป็นคนจ่ายค่าจ้างให้แก่คนงานที่มาแบกขนข้าวสารแต่ละวัน นิติสัมพันธ์ระหว่าง ส. กับคนงานจึงเข้าลักษณะจ้างแรงงาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ส. มีฐานะเป็นนายจ้างของคนงาน และเมื่อการทำงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจของโจทก์ โจทก์จึงอยู่ในฐานะนายจ้างของคนงานทั้งหมดด้วย เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์มีลูกจ้างเกิน 10 คน โจทก์ย่อมมีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง กรณีเปลี่ยนวันที่มีหน้าที่ชำระเงินสมทบ และชำระเงินสมทบให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะนายจ้างตามพรบ.ประกันสังคม กรณีเหมาค่าแรงและควบคุมดูแลการทำงาน
การที่จะถือว่าผู้ประกอบกิจการอยู่ในฐานะนายจ้างของลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 35 และมีหน้าที่ต้องยื่นแบบรายการตามมาตรา 34 และจ่ายเงินสมทบสำหรับลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงต่อสำนักงานประกันสังคม คนงานที่มาทำงานให้แก่ผู้ประกอบกิจการจะต้องเป็นลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรง
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าข้าวเมื่อโจทก์จะต้องขนข้าวลงเรือให้แก่ผู้ซื้อจากต่างประเทศ โจทก์จะว่าจ้าง ส. เป็นผู้รับเหมาค่าแรงทำการขนข้าวลงเรือ ส. จะแจ้งให้ ท. ไปจัดหากรรมกรตามจำนวนพอเหมาะกับปริมาณข้าวที่จะขนถ่ายลงเรือมาแบกขน ก่อนขนข้าวลงเรือกรรมกรจะต้องผสมข้าวด้วยเครื่องจักรภายในโกดังของโจทก์และบรรจุใส่กระสอบผ่านสายพานและให้กรรมกรรอแบกกระสอบข้าวจากปลายสายพานไปลงเรือ การทำงานดังกล่าวทั้งหมดของกรรมกรอยู่ภายใต้การควบคุมและสั่งการของ ส. ส. จึงมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือกรรมกรทุกคน ประกอบกับ ส.เพียงผู้เดียวเป็นคนจ่ายค่าจ้างให้แก่กรรมกรที่มาแบกข้าวแต่ละวัน นิติสัมพันธ์ระหว่างส. กับกรรมกรดังกล่าวเข้าลักษณะจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 ส. จึงเป็นนายจ้างของกรรมกรทั้งหมด เมื่อปรากฏว่าส. ควบคุมกรรมกรให้ทำงานในโกดังอันเป็นสถานประกอบกิจการของโจทก์และใช้เครื่องมือที่สำคัญสำหรับใช้ทำงานที่โจทก์เป็นผู้จัดทำ โดยการทำงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจของโจทก์ ดังนี้ โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะนายจ้างของกรรมกรทั้งหมดด้วยตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 35 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ให้เช่ารถบรรทุก กรณีลูกจ้างบรรทุกน้ำหนักเกินกฎหมาย ผู้ให้เช่าต้องรับผิดด้วย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกของกลางให้ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องไม่ควบคุมดูแลโดยใกล้ชิดมิให้จำเลยบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ย่อมฟังได้ว่าเป็นการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องไม่อาจขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง กรณีมีอำนาจสั่งการ ควบคุมดูแล และจ่ายค่าจ้าง
ข. เจ้าของรถนำรถบรรทุกมาร่วมกิจการขนส่งกับจำเลยที่ 1 โดยพ่นตัวหนังสือชื่อย่อจำเลยที่ 1 ไว้ข้างรถบรรทุก และในขณะเกิดเหตุมีจำเลยที่ 2 ซึ่ง ข. จัดหาไปขับรถบรรทุกสินค้าเป็นผู้ขับเพื่อบริการขนส่งสินค้าให้แก่ผู้ใช้บริการโดยการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ให้บริการแก่ลูกค้าคนใดหรือจะไปในที่แห่งใดย่อมอยู่ในการควบคุมดูแลของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่ง ข. ไม่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องได้ จำเลยที่ 1 สามารถเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 2 ไม่ให้ขับรถบรรทุกต่อไปได้ หากเห็นไม่สมควรที่จะให้ทำหน้าที่ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสั่งการบังคับบัญชาจำเลยที่ 2และมีอำนาจหักเอาเงินผลประโยชน์ส่วนแบ่งของ ข. มาจ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 ได้ด้วย นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังมีผลประโยชน์ร่วมกับ ข. โดยได้รับส่วนแบ่งจากการให้บริการขนสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นราย ๆ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในการที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยปละละเลยให้บุตรใช้รถโดยมิได้ควบคุมดูแล อาจถือเป็นความรู้เห็นชอบในการกระทำความผิด
จำเลยที่ 3 เป็นบุตรผู้ร้อง ทั้งรถจักรยานยนต์ของกลางผู้ร้องซื้อมาเพื่อใช้ในการทำมาหากินและรับส่งบุคคลในครอบครัวโดยให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ใช้ในการนำออกไปซื้อของและขับไปโรงเรียนบ้าง จึงพออนุมานได้ว่า ผู้ร้องมิได้เข้มงวดในการที่จำเลยที่ 3 จะนำรถจักรยานยนต์ของกลางออกไปใช้นัก พฤติการณ์มีผลเท่ากับผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้จำเลยที่ 3 นำรถจักรยานยนต์ไปใช้ได้ทุกเวลาทุกสถานที่โดยไม่ขัดขวาง ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 อายุเพียง 17 ปี อยู่ในวัยรุ่นวัยคะนองนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการขับแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ไม่มีสิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก: ทายาทควบคุมดูแลได้ แต่สั่งการโดยตรงไม่ได้
ผู้จัดการมรดกที่ศาลมีคำสั่งตั้งมิใช่ตัวแทนของทายาท เพราะอำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้จัดการมรดกต่อทายาทเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายผู้จัดการมรดกจึงมีฐานะเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาทในอันที่จะต้องจัดการมรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท
ทายาทไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้นำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 และทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1727
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726, 1727 วรรคสอง,1729,1731 และ 1732 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทที่ตั้งตามพินัยกรรมเข้าบริหารทรัพย์สินของกองมรดกแทนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย เป็นวิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะกระทำเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ 1723 ดังนี้ ทายาทย่อมไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำการดังกล่าวได้ และมิใช่อำนาจของศาลที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5604/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานและการพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: สัญญาจ้างต้องมีสาระสำคัญและมีการควบคุมดูแล
จำเลยให้การว่า อ. ไม่ได้รับบรรจุเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยถูกหลอกให้ลงชื่อค้ำประกันการทำงานของ อ. สัญญาจ้างเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่ไม่เป็นความจริงโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ศาลแรงงานกำหนดประเด็นตามที่จำเลยให้การดังกล่าวแต่เพียงว่า อ. เป็นลูกจ้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ประกอบกับโจทก์และจำเลยมิได้คัดค้านการกำหนดประเด็นดังกล่าว กรณีจึงไม่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ดังนั้นที่ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยไม่ส่งสำนวนไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก่อนจึงชอบแล้ว
ตามสัญญาเอกสารฉบับพิพาท โจทก์มิได้กำหนดสถานที่ทำงานวันเวลาทำงานวันหยุดประจำสัปดาห์ และการลงโทษ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์ไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และโจทก์ไม่มีชื่อ อ. ในทะเบียนลูกจ้าง ดังนี้การที่ อ. รับสินค้าของโจทก์ไปวางขายที่บ้านของ อ. และโจทก์ไม่มีเงินเดือนให้ อ. แม้ตามสัญญาโจทก์จะกำหนดให้ อ. ต้องกระทำตามระเบียบวิธีของโจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้ควบคุมการทำงานของ อ. ระเบียบวิธีการดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นเพียงข้อกำหนดเพื่อป้องกันความเสียหายมิให้เกิดแก่โจทก์เท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ อ. ดังกล่าว ไม่มีลักษณะเป็นการบังคับบัญชาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง สัญญาฉบับพิพาทจึงไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ปกครองต่อการกระทำผิดของผู้เยาว์ กรณีอนุญาตให้ใช้รถโดยขาดการควบคุมดูแล
ผู้ร้องเป็นมารดาจำเลยผู้เยาว์ ผู้ร้องเก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ที่บ้านโดยบุคคลในบ้านทุกคนสามารถนำกุญแจไปใช้ขับขี่รถจักรยานยนต์ของกลางได้ จำเลยสามารถหยิบกุญแจนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวบุคคลใด ในวันเกิดเหตุจำเลยได้นำกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้โดยไม่ได้บอกกล่าวผู้ร้อง และผู้ร้องไม่ทราบว่าจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดนั้น แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการใช้ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองของตนจะนำรถไปใช้ในกิจการใด เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับขี่แข่งขันกันในถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหัวหน้างานต่อการยักยอกเงินของลูกน้อง: ประมาทเลินเล่อในการควบคุมดูแล
คำสั่งงดสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานและคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ต่างเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งของศาลแรงงานไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานได้นำเอกสารทั้งชุดที่โจทก์อ้างมาให้จำเลยที่ 2 ตรวจดู และจำเลยที่ 2 รับว่าเอกสารจำนวน 31 แผ่นเป็นระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์จริง ศาลแรงงานกลางจึงรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย จ.4 แล้ว เช่นนี้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย พยานหลักฐานของโจทก์ที่ระบุเพิ่มเติมเข้าลักษณะเป็นพยานที่ไม่จำเป็นจะต้องสืบ ดังนี้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจไม่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคท้ายประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 อุทธรณ์โจทก์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์ 3 ปาก ซึ่งจะเบิกความทำนองเดียวกับพยานโจทก์ซึ่งเบิกความไปก่อนแล้วเพราะเห็นว่าเข้าลักษณะพยานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการสั่งงดสืบพยาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคม รวมทั้งค่าบริการตู้ไปรษณีย์เช่า จำเลยที่ 1 รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคมจำนวน1,628,669.90 บาท และรับเงินค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ไว้1,200 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวไป ส่วนจำเลยที่ 2ก็เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่บริหารงานและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพระโขนงทั้งหมดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ในการบริหารและควบคุมการปฏิบัติงานทำให้จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวของโจทก์ไปจำเลยที่ 2มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์และการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ จึงต่างคนต่างทำละเมิด รวมทั้งเป็นการทำผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ผลแห่งความรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์จึงแบ่งแยกกันได้ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์เต็มตามที่จำเลยที่ 1ยักยอกเงินของโจทก์ไป และศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 438 และไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 291,296,297และ 301 มาบังคับแก่กรณีของจำเลยทั้งสอง และเมื่อจำเลยที่ 2เป็นแต่เพียงผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425,427,430มาบังคับแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่เบี้ยค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการลากจูงรถและการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน
รถหุ้มเกราะของโจทก์ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำ แต่สามารถกู้ขึ้นมาไว้บนถนนได้ โจทก์ไปขอความร่วมมือจากจำเลยที่ 3 ขอนำรถบรรทุกสิบล้อไปลากจูงรถหุ้มเกราะกลับที่ตั้ง โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นคนขับรถบรรทุกสิบล้อ วิธีการลากจูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงผูกกับส่วนหน้าของรถหุ้มเกราะแล้วนำไปผูกแขวนไว้กับท้ายรถบรรทุกสิบล้อ ให้ล้อหน้าของรถหุ้มเกราะลอยสูงขึ้นจากพื้นถนนแล้วให้รถบรรทุกสิบล้อลากจูงไป แม้ปรากฏว่าขณะลากจูงไปได้ไม่ไกล ลวดสลิงขาดและรถหุ้มเกราะเสียหลักล้ำไปทางขวามือ เป็นเหตุให้ชนกับรถเก๋งที่แล่นสวนทางมารถเก๋งเสียหายหมดทั้งคันก็ตาม เมื่อการผูกล้อหน้าของรถหุ้มเกราะให้แขวนลอยอยู่ข้างท้ายรถบรรทุกสิบล้อจะช่วยให้กระชับมั่น สะดวกรวดเร็ว และง่ายแก่การลากจูงโดยไม่ต้องใช้คนขับบังคับรถหุ้มเกราะ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าไฮดรอลิกเสียทำให้ล้อหน้า 2 ล้อ ของรถหุ้มเกราะไม่หมุน จึงต้องลากจูงโดยให้ล้อหน้าลอยขึ้น เมื่อกรณีเป็นความจำเป็น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1และที่ 2 และที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงที่ใช้ประจำอยู่กับรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นรถวินที่ใช้สำหรับชักลากไม้ซุงที่มีน้ำหนักมาก โดยจำเลยที่ 4ยืนยันต่อจำเลยที่ 2 ใช้ลากจูงได้ ประกอบกับในบริเวณที่เกิดเหตุหากมืดค่ำแล้วอันตรายเคยมีผู้ก่อการร้ายลอบยิง หากไม่ลากรถหุ้มเกราะออกจากที่เกิดเหตุผู้ก่อการร้ายอาจเข้าโจมตีเผารถหุ้มเกราะ จะเสียหายแก่ทางราชการ ดังนี้จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเลือกปฏิบัติเป็นอย่างอื่น นอกจากจะต้องลากจูงรถหุ้มเกราะไป ดีกว่าจะปล่อยไว้ที่นั่นให้เสี่ยงอันตราย และเสี่ยงต่อความบกพร่องในหน้าที่ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประมาทเลินเล่อในเหตุนี้
การลากจูงรถหุ้มเกราะในคดีนี้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และจำเลยที่ 4 ได้ถูกเจ้าของรถเก๋งที่ถูกรถหุ้มเกราะชนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฐานละเมิด ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 กับเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ และฟังว่าจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์ผู้เดียวชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถเก๋งไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อการจัดการผูกลวดสลิงเข้ากับรถหุ้มเกราะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลสั่งการและดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ แม้จะเป็นลวดสลิงเก่าและมีรอยชำรุดเป็นบางส่วนหรือเป็นลวดเส้นเล็ก แต่ถ้าหากผูกหลายทบเข้าด้วยกันก็กลายเป็นลวดเส้นใหญ่และจะช่วยไม่ให้ขาดได้ และกรณีไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ กรณีต้องถือว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามป.พ.พ.มาตรา 226, 227, 432 วรรคสาม
of 4