พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดโดยปราศจากความสามารถในการรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถควบคุมตนเองได้จากโรคจิตและอาการมึนเมา
แม้แพทย์จะเบิกความว่าจำเลยมีอาการหูแว่ว สอบถามไม่พูดแต่แสดงอาการฉุนเฉียว แยกตัวอยู่ตามลำพัง หลังจากตรวจแล้วพบแนวคิดผิดปกติและหลังจากรับตัวจำเลยได้ 1 วัน ได้เริ่มสอบถามจำเลย จำเลยพูดคำตอบคำอย่างรู้เรื่อง และลงความเห็นว่าอาการที่ตรวจพบเชื่อว่าเป็นมานานไม่น้อยกว่า 1 ปี ก็ตามแต่ก่อนเกิดเหตุ แม้จำเลยดื่มสุราก็ไม่มีอาการผิดปกติขณะเกิดเหตุก็สามารถจดจำบุคคลและเรียกชื่อได้ถูกต้อง ได้เลือกทำร้ายเฉพาะบุคคล ไม่ทำร้ายบุคคลทั่วไปซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุจำนวนมาก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ จำเลยเสพสุราและกัญชาทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้มึนเมา จำเลยจึงไม่อาจยกเอาความมึนเมานั้นขึ้นเป็นข้อแก้ตัวว่าไม่สามารถรู้สึกผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญาของผู้ป่วยจิตเวช: การประเมินความสามารถในการรู้ผิดชอบและควบคุมตนเอง
จำเลยมีอาการป่วยทางจิต เป็นโรควิตกกังวล จำเลยใช้มีดแทงโจทก์ร่วมโดยไม่มีสาเหตุ เมื่อเกิดเหตุแล้วจำเลยไม่หลบหนีคงนั่งซึมอยู่ที่บ้านจนถูกนำตัวส่งเจ้าพนักงานตำรวจ ชั้นสอบสวนจำเลยให้การว่า เกิดประสาทหลอนคิดว่าจะมีคนมาฆ่าจึงหยิบมีดขึ้นมาถือหลังจากนั้นมีดจะไปแทงถูกโจทก์ร่วมอย่างไรจำเลยไม่ทราบ ตามปกติจำเลยสามารถทำงานได้ แต่เวลาจำเลยมีอาการจะมีลักษณะกลัวคนซึ่งตามหลักวิชาการจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่ ขณะกระทำผิดจำเลยจึงยังสามารถรู้ผิดชอบและสามารถบังคับตนเองได้บ้างตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้ป่วยทางจิต: การประเมินความสามารถในการรู้ผิดชอบและควบคุมตนเอง
จำเลยยิงผู้ตาย จำเลยมีโรคจิต แต่ยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง ศาลจำคุก 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,65วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้มีจิตบกพร่อง: การประเมินความสามารถในการรู้ผิดชอบและควบคุมตนเอง
หากจำเลยกระทำความผิดลงในขณะที่จำเลยเป็นคนมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน แต่จำเลยก็ยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้างแล้ว ศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้