พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5693/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับคำสั่งรื้อถอนอาคารที่ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร
คำสั่งที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารเป็นคำสั่งของนายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 42 ให้อำนาจไว้โดยเฉพาะแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำการแทนเทศบาลจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จึงไม่ใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้วโจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และได้แจ้งผลการวินิจฉัยให้โจทก์ทราบแล้ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้วโดยด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 ดังนั้นที่นายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหา ให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้วโจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และได้แจ้งผลการวินิจฉัยให้โจทก์ทราบแล้ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้วโดยด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 ดังนั้นที่นายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหา ให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1870/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมอาคาร: ความผิดฐานดัดแปลงอาคารต้องเป็นไปตามเงื่อนไขรื้อถอน ไม่ใช่โทษทางอาญาโดยตรง
กรณีที่จะมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามที่ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 67 กำหนดโทษไว้นั้น จะต้องเป็นกรณีฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 (1) และคำสั่งห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใด ๆ ของอาคารตามมาตรา 40 (2) ส่วนกรณีตามมาตรา 40 (3) นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานพิจารณาเพื่อที่จะมีคำสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 ต่อไปภายหลังจากที่เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 (1) ไปแล้ว พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ไม่ได้บัญญัติไว้ในที่ใดว่า หากฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานตามมาตรา 41 ที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องแล้วจะต้องได้รับโทษทางอาญา คงบัญญัติเป็นเงื่อนไขไว้ในมาตรา 42 ว่าถ้าเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องตามมาตรา 41 ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้น ซึ่งหากเจ้าของอาคารฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารนี้โดยมิได้รื้อถอนภายในกำหนดก็จะมีโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 66 ทวิ ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องตามมาตรา 67 ประกอบมาตรา 40 (3) จึงไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับเป็นการลงโทษโดยมิชอบ กรณีจึงต้องยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องเสีย ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: การพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และอำนาจฟ้องของโจทก์
อาคารพาณิชย์ที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น สภาพแข็งแรงรวม 9 ห้อง แต่ละห้องปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดแยกออกแต่ละแปลง เนื้อที่แปลงละ 15 5/10 ตารางวา ส่วนอาคารพิพาทเป็นอาคารชั้นเดียว ปลูกอยู่บนโฉนดที่ดินเลขที่ 130322 เนื้อที่ 15 5/10 ตารางวา เนื้อที่เท่ากับที่ดินปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ สภาพอาคารพิพาทมีเพียงโครงหลังคาเหล็กที่ติดกับผนังอาคารพาณิชย์เท่านั้น ส่วนที่เป็นอาคารพิพาทไม่ได้ก่อประโยชน์แก่อาคารพาณิชย์ ทั้งไม่มีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม หรือลดโครงสร้างอาคารพาณิชย์หรือส่วนอื่น ๆ ของอาคารที่ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม สภาพอาคารพิพาทเป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นแยกต่างหากจากอาคารพาณิชย์เพื่อประโยชน์ของอาคารพิพาทเอง ถือว่าเป็นการก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด หาใช่การดัดแปลงอาคารไม่
ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่ใช่ความผิดส่วนตัว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยไม่ต้องมีคำร้องทุกข์ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยชอบจนเสร็จ การสอบสวนถือได้ว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่ใช่ความผิดส่วนตัว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยไม่ต้องมีคำร้องทุกข์ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยชอบจนเสร็จ การสอบสวนถือได้ว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานใช้อาคารผิดประเภทและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นถือเป็นความผิดหลายกรรม
เมื่อจำเลยได้ก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยและหอพักที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเสร็จแล้วเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2540 จำเลยกลับใช้อาคารดังกล่าวเป็นโรงแรม โดยยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารดังกล่าวจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และยังไม่ได้ใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เปลี่ยนการใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับกิจการหนึ่งไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับอีกกิจการหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสองกรรมตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม กระทงหนึ่ง กับมาตรา 32 วรรคท้าย และมาตรา 33 วรรคสองอีกกระทงหนึ่ง
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคาร และฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับกิจการหนึ่งไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับอีกกิจการหนึ่ง แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้แจ้งคำสั่งให้ระงับการการใช้อาคารทั้งสองลักษณะให้จำเลยทราบพร้อมกัน และจำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งทั้งสองดังกล่าวในขณะเดียวกันก็ตาม แต่ความผิดทั้งสองข้อหามีองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างกัน แต่ละข้อหาจะมีความผิดตลอดไปจนกว่าจำเลยได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและจนกว่าจำเลยได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารแล้วแต่กรณี และการได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและใบอนุญาตในแต่ละกรณี เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวข้องกัน และอาจได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและใบอนุญาตในระยะเวลาที่แตกต่างกันด้วย ทั้งความผิดฐานใช้อาคารโดยไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและฐานใช้อาคารเพื่อการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมอีกด้วย การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองลักษณะจึงย่อมเป็นความผิดหลายกรรมแยกต่างหากจากกันได้เช่นกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2540 จึงต้องลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง เพียงถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2540 เท่านั้น
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคาร และฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับกิจการหนึ่งไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับอีกกิจการหนึ่ง แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้แจ้งคำสั่งให้ระงับการการใช้อาคารทั้งสองลักษณะให้จำเลยทราบพร้อมกัน และจำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งทั้งสองดังกล่าวในขณะเดียวกันก็ตาม แต่ความผิดทั้งสองข้อหามีองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างกัน แต่ละข้อหาจะมีความผิดตลอดไปจนกว่าจำเลยได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและจนกว่าจำเลยได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารแล้วแต่กรณี และการได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและใบอนุญาตในแต่ละกรณี เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวข้องกัน และอาจได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและใบอนุญาตในระยะเวลาที่แตกต่างกันด้วย ทั้งความผิดฐานใช้อาคารโดยไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและฐานใช้อาคารเพื่อการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมอีกด้วย การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองลักษณะจึงย่อมเป็นความผิดหลายกรรมแยกต่างหากจากกันได้เช่นกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2540 จึงต้องลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง เพียงถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2540 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับอาคารควบคุมการใช้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร: โทษปรับรายวัน, การแก้ไขโทษ, และการพิจารณาโทษซ้ำ
จำเลยได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว แต่การที่จำเลยจะใช้อาคารที่จำเลยก่อสร้างนั้นต้องได้รับการตรวจสอบและใบรับรองให้ใช้อาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน การที่จำเลยยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารแต่กลับเข้าใช้อาคารจึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม ฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่ได้ใบรับรองให้ใช้อาคารซึ่งเป็นเจตนากระทำผิดกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นการเข้าใช้ในกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้าง หรือเข้าใช้เพื่อกิจการอื่นต่างจากที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือไม่
จำเลยใช้อาคารดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งเป็นอาคารควบคุมการใช้เช่นเดียวกับที่จำเลยใช้เพื่อดำเนินกิจการพาณิชยกรรมตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32(1)(2)แต่การจะเปลี่ยนการใช้อาคารเป็นโรงแรม ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนตามมาตรา 33 วรรคสอง เมื่อจำเลยยังไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนจึงเป็นการฝ่าฝืนใช้อาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสำหรับใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรมไปใช้เพื่อกิจการอื่น อันเป็นความผิดตามมาตรา 32 วรรคท้าย และมาตรา 33 วรรคสองอีกกระทงหนึ่ง
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคาร และฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารฯ เป็นความผิดหลายกรรมแยกต่างหากจากกันได้ แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งคำสั่งให้ระงับการใช้อาคารทั้งสองลักษณะให้จำเลยทราบพร้อมกันและจำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งในขณะเดียวกันก็ตาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารประเภทควบคุมการใช้ใช้อาคารเพื่อกิจการอื่นนอกจากที่ระบุในใบอนุญาตจำคุก2 เดือน ปรับ 40,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง ที่ให้ปรับจำเลยอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
จำเลยใช้อาคารดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งเป็นอาคารควบคุมการใช้เช่นเดียวกับที่จำเลยใช้เพื่อดำเนินกิจการพาณิชยกรรมตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32(1)(2)แต่การจะเปลี่ยนการใช้อาคารเป็นโรงแรม ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนตามมาตรา 33 วรรคสอง เมื่อจำเลยยังไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนจึงเป็นการฝ่าฝืนใช้อาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสำหรับใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรมไปใช้เพื่อกิจการอื่น อันเป็นความผิดตามมาตรา 32 วรรคท้าย และมาตรา 33 วรรคสองอีกกระทงหนึ่ง
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคาร และฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารฯ เป็นความผิดหลายกรรมแยกต่างหากจากกันได้ แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งคำสั่งให้ระงับการใช้อาคารทั้งสองลักษณะให้จำเลยทราบพร้อมกันและจำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งในขณะเดียวกันก็ตาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารประเภทควบคุมการใช้ใช้อาคารเพื่อกิจการอื่นนอกจากที่ระบุในใบอนุญาตจำคุก2 เดือน ปรับ 40,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง ที่ให้ปรับจำเลยอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5914/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์หากไม่บรรยายข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยก่อสร้างอาคารไม่เว้นระยะห่างจากที่ดินข้างเคียงโดยฝ่าฝืนข้อบัญญัติท้องถิ่นของเทศบาลเมืองขอนแก่น จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมาตรา 40 และ 42 มีบทลงโทษตามมาตรา 66 ทวิ แต่การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 66 ทวิ ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารตามบทบัญญัติมาตรา 42เสียก่อน คือ กรณีแรกอาคารที่จำเลยก่อสร้างนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 41 กรณีที่สองอาคารที่จำเลยก่อสร้างไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารจำเลยไม่ปฏิบัติตามความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงเกิดขึ้น เมื่อโจทก์ไม่บรรยายฟ้องจึงรับฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารตามเงื่อนไขแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นก็ย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นแต่เพิ่งยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญาควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
อายุความฟ้องคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษที่พิจารณาได้ความและกำหนดไว้ในมาตราที่ศาลยกขึ้นปรับเมื่อได้ความว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งสองวรรค การพิจารณาอายุความจึงต้องใช้อัตราโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) และคดีนี้เหตุเกิดวันที่ 9 มิถุนายน 2540 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246,247
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8243/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีโทษปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ความผิดฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคาร และฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง และมาตรา 67 วรรคสอง บัญญัติโทษของผู้ฝ่าฝืนโดยให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัตให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อ พาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองอาคารและมิได้ปฏิเสธว่าเป็นผู้ดัดแปลงอาคารด้วยตนเอง จำเลยจึงเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายในมาตรา 4 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานตามมาตรา 69 การกระทำความผิดของจำเลยยังเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติโทษของผู้กระทำความผิดเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานอีกด้วย
ความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ความผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคาร และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคารการกระทำความผิดฐานแรกย่อมเริ่มนับแต่วันที่ดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จ ส่วนการกระทำผิดฐานที่สองและที่สามย่อมเริ่มนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้อาคารแล้วฝ่าฝืนคำสั่งไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จและหยุดใช้อาคาร
ความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ความผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคาร และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคารการกระทำความผิดฐานแรกย่อมเริ่มนับแต่วันที่ดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จ ส่วนการกระทำผิดฐานที่สองและที่สามย่อมเริ่มนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้อาคารแล้วฝ่าฝืนคำสั่งไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จและหยุดใช้อาคาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8847/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกคำสั่งระงับการก่อสร้าง และการพิจารณาคำสั่งตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครหมายถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ดังนั้น การที่ ส. ผู้อำนวยการเขตบางกอกใหญ่ในฐานะผู้ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคาร จึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ มิใช่คำสั่งของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 คือสั่งโดยกำหนดเวลาให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตให้ถูกต้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) นั้น เป็นบทบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 ภายในเวลาอันสมควร มิใช่บังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องมีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) เสียก่อนหรือบังคับให้คำสั่งตามมาตรา 40 (1) ต้องมีผลบังคับไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณามีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 40 (3) ได้ ดังนั้นคำสั่งที่ให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคารและคำสั่งที่ให้โจทก์แก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตฉบับใดจะออกก่อนหลังกันอย่างไรและลงวันที่ในคำสั่งหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองฉบับและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่มีเหตุจะเพิกถอน
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 คือสั่งโดยกำหนดเวลาให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตให้ถูกต้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) นั้น เป็นบทบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 ภายในเวลาอันสมควร มิใช่บังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องมีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) เสียก่อนหรือบังคับให้คำสั่งตามมาตรา 40 (1) ต้องมีผลบังคับไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณามีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 40 (3) ได้ ดังนั้นคำสั่งที่ให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคารและคำสั่งที่ให้โจทก์แก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตฉบับใดจะออกก่อนหลังกันอย่างไรและลงวันที่ในคำสั่งหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองฉบับและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่มีเหตุจะเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารทับแนวเขตผังเมือง-ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน-การปรับรายวัน-ความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 417 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ. การผังเมือง พ.ศ. 2518 ให้ใช้บังคับมีกำหนดอีกห้าปี โดยให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลป่าตอง ฯลฯ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ ได้กำหนดบริเวณซึ่งเป็นถนนโครงการสาย ง.6 ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ. 2532) เปลี่ยนเป็นถนนโครงการประเภทแนวถนนเสนอแนะแบบ ค แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดว่าถนนดังกล่าวเริ่มต้นที่จุดใด ผ่านบริเวณใดบ้าง และจุดสิ้นสุดอยู่บริเวณใด กรณีจึงยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจะก่อสร้าง หรือขยายเขตทางเมื่อใด อันเป็นการแตกต่างไปจากถนนโครงการสาย ง.6 ซึ่งได้ระบุ รายละเอียดว่าถนนสาย ง.6 กำหนดให้ขยายเขตทางและถนนโครงการกำหนดให้ก่อสร้างใหม่เริ่มต้นจากถนนทวีวงศ์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวถนนเดิมจนบรรจบกับถนน 200 ปี ดังนี้ เจตนารมณ์ของการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 417 ส่วนที่เกี่ยวกับถนนโครงการสาย ง.6 ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 67 จึงเปลี่ยนไป เป็นเหตุให้การปลูกสร้างอาคารในแนวถนนโครงการประเภทแนวถนนเสนอแนะแบบ ค ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การผังเมืองฯ มาตรา 27 วรรคแรกและ 83 วรรคแรก ถือได้ว่าตามบทบัญญัติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 417 ที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
เหตุที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 67 ไม่มีผลใช้บังคับแล้วนั้นคงมีผลให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. การผังเมืองฯ มาตรา 27 วรรคแรก และมาตรา 83 วรรคแรก เท่านั้น หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่ เพราะ พ.ร.บ. ดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับอยู่
ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และ 66 ทวิ เป็นเรื่องที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร อันเป็นคำสั่งที่ออกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะในขณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้น จำเลยไม่สามารถก่อสร้างอาคารต่อไปได้เพราะก่อสร้าง ทับแนวถนนผังเมืองสาย ง.6 อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 และกฎกระทรวงฉบับที่ 222 (พ.ศ. 2538) ออกตามความใน พ.ร.บ. การผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกำลังก่อสร้างอาคารดังกล่าว เป็นกรณีที่จำเลยก่อสร้างอาคารฝ่าฝืนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจดำเนินการสั่งให้จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารและบริวารระงับการกระทำดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (1) การที่อาคารของจำเลยก่อสร้างทับแนวถนนผังเมือง จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ในขณะนั้น เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 42 และ 66 ทวิ
ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 ก่อนก่อสร้างอาคารจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ทั้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออก ใบรับแจ้งให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงจะสามารถเริ่มต้นดำเนินการก่อสร้างได้ เมื่อจำเลยทำการก่อสร้างอาคารโดยยังมิได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 21 และ 39 ทวิ จำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 65 วรรคแรก หาอาจยกเอาเรื่องที่ทางเทศบาลตำบลป่าตองแนะนำให้จำเลยก่อสร้างอาคารไปก่อนมาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้ตัวเอง พ้นผิดได้ไม่
การปรับจำเลยฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารเป็นรายวัน ย่อมปรับได้ ตลอดเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งโดยทำการก่อสร้างอาคารต่อไปจนกระทั่งจำเลยก่อสร้างอาคารเสร็จ หลังจากที่จำเลย ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันได้อีก
เหตุที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 67 ไม่มีผลใช้บังคับแล้วนั้นคงมีผลให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. การผังเมืองฯ มาตรา 27 วรรคแรก และมาตรา 83 วรรคแรก เท่านั้น หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่ เพราะ พ.ร.บ. ดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับอยู่
ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และ 66 ทวิ เป็นเรื่องที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร อันเป็นคำสั่งที่ออกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะในขณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้น จำเลยไม่สามารถก่อสร้างอาคารต่อไปได้เพราะก่อสร้าง ทับแนวถนนผังเมืองสาย ง.6 อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 และกฎกระทรวงฉบับที่ 222 (พ.ศ. 2538) ออกตามความใน พ.ร.บ. การผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกำลังก่อสร้างอาคารดังกล่าว เป็นกรณีที่จำเลยก่อสร้างอาคารฝ่าฝืนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจดำเนินการสั่งให้จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารและบริวารระงับการกระทำดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (1) การที่อาคารของจำเลยก่อสร้างทับแนวถนนผังเมือง จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ในขณะนั้น เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 42 และ 66 ทวิ
ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 ก่อนก่อสร้างอาคารจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ทั้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออก ใบรับแจ้งให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงจะสามารถเริ่มต้นดำเนินการก่อสร้างได้ เมื่อจำเลยทำการก่อสร้างอาคารโดยยังมิได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 21 และ 39 ทวิ จำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 65 วรรคแรก หาอาจยกเอาเรื่องที่ทางเทศบาลตำบลป่าตองแนะนำให้จำเลยก่อสร้างอาคารไปก่อนมาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้ตัวเอง พ้นผิดได้ไม่
การปรับจำเลยฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารเป็นรายวัน ย่อมปรับได้ ตลอดเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งโดยทำการก่อสร้างอาคารต่อไปจนกระทั่งจำเลยก่อสร้างอาคารเสร็จ หลังจากที่จำเลย ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันได้อีก