พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการออกข้อห้ามยักย้ายข้าวสาร: คณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคฯ เท่านั้นที่มีอำนาจ
คณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคฯ พ.ศ.2488 มาตรา3 เท่านั้นที่มีอำนาจวางระเบียบหรือห้ามการส่งออกไปนอกหรือนำเข้ามาในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง ซึ่งสิ่งของที่ควบคุมตามความใน มาตรา 4(6) คณะกรรมการจังหวัดผู้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งตามความในมาตรา5 หามีอำนาจตามความในมาตรา 4(6) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมปริมาณข้าวที่ต้องแจ้ง การไม่แจ้งถือเป็นความผิดตามกฎหมายควบคุมเครื่องอุปโภคฯ และมีผลให้ต้องริบข้าวทั้งหมด
จะมีข้าวเพิ่มเติมอีกกี่ครั้งก็ตาม เมื่อรวมกันมีจำนวนต้องแจ้งปริมาณสถานที่เก็บแล้วไม่แจ้ง เป็นความผิดต้องริบทั้งหมด
พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคฯ 2488 และ พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489 ไม่ขัดแย้งหรือลบล้างกัน
พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคฯ 2488 และ พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489 ไม่ขัดแย้งหรือลบล้างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค แม้มีประกาศยกเลิกภายหลัง ก็ไม่ทำให้ความผิดนั้นระงับ
พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค ฯลฯ ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ไปออกคำสั่งเพื่อให้การเป็นไปตามพ.ร.บ. เมื่อผู้ใดฝ่าฝืนประกาศที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้สั่งการไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นก็ย่อมมีผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานอันมีโทษตามพ.ร.บ.นี้
ประกาศของคณะกรรมการควบคุมเครื่องอุปโภคฯนั้นหาใช่กฎหมายไม่ประกาศที่ออกมาภายหลังยกเลิกการควบคุมสิ่งของบางอย่างจึงไม่ใช่กฎหมายที่ยกเลิกความผิดหรือไม่เอาโทษแก่ผู้ที่กระทำผิดฐานฝ่าฝืนประกาศฉบับแรกกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(5) หรือกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8 ผู้ฝ่าฝืนจึงยังคงมีความผิดและมีโทษ
ประกาศของคณะกรรมการควบคุมเครื่องอุปโภคฯนั้นหาใช่กฎหมายไม่ประกาศที่ออกมาภายหลังยกเลิกการควบคุมสิ่งของบางอย่างจึงไม่ใช่กฎหมายที่ยกเลิกความผิดหรือไม่เอาโทษแก่ผู้ที่กระทำผิดฐานฝ่าฝืนประกาศฉบับแรกกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(5) หรือกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8 ผู้ฝ่าฝืนจึงยังคงมีความผิดและมีโทษ