คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ควบบริษัท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบบริษัทจำกัด: สิทธิ-หนี้เดิมยังคงอยู่ ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้
การควบบริษัทจำกัดเข้ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1243 มีผลให้บริษัทใหม่ได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้ากันเท่านั้นแต่การควบบริษัทจำกัดเข้ากัน มิใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ทั้งการควบบริษัทจำกัดเข้ากัน ป.พ.พ. มาตรา 1240 ก็บัญญัติเฉพาะแต่เจ้าหนี้ของบริษัทเท่านั้นที่บริษัทจะต้องบอกกล่าวให้ทราบและให้โอกาสคัดค้านการควบบริษัท แต่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดบังคับว่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบบริษัทไม่ถือเป็นการแปลงหนี้เดิม โจทก์มีอำนาจฟ้องได้แม้มีการควบบริษัท
การควบบริษัทจำกัดเข้ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1243มีผลให้บริษัทใหม่ได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้ากันเท่านั้น แต่การควบบริษัทจำกัดเข้ากัน มิใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ทั้งการควบบริษัทจำกัดเข้ากันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1240ก็บัญญัติเฉพาะแต่เจ้าหนี้ของบริษัทเท่านั้นที่บริษัทจะต้องบอกกล่าวให้ทราบและให้โอกาสคัดค้านการควบบริษัท แต่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดบังคับว่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบบริษัทไม่ทำให้หนี้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องแม้มีการควบบริษัท
การควบบริษัทจำกัดเข้ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1243 มีผลให้บริษัทใหม่ได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้ากันเท่านั้น แต่การควบบริษัทจำกัดเข้ากันมิใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ทั้งการควบบริษัทจำกัดเข้ากัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1240 ก็บัญญัติเฉพาะแต่เจ้าหนี้ของบริษัทเท่านั้นที่บริษัทจะต้องบอกกล่าวให้ทราบและให้โอกาสคัดค้านการควบบริษัท แต่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดบังคับว่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นลูกหนี้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบบริษัทไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ เจ้าหนี้ใหม่มีอำนาจฟ้องได้ตามเดิม
จำเลยเป็นหนี้บริษัทธ.ต่อมาบริษัทธ.ควบรวมกับบริษัทอื่นเป็นบริษัทโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1243 มีผลให้บริษัทใหม่ได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้ากันมิใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้โจทก์จึงหาจำต้องทำหนังสือหรือสัญญาใด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และมาตรา 306 อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ทั้งการควบบริษัทเข้าด้วยกันตามมาตรา 1240 บริษัทจะต้องบอกกล่าวให้แต่เฉพาะเจ้าหนี้ของบริษัททราบและให้โอกาสคัดค้านไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดบังคับว่าจะต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้นิติสัมพันธ์ ระหว่างโจทก์และจำเลยยังหาระงับลงไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบบริษัทจำกัดและการสิทธิประโยชน์เงินทดแทนตามกฎหมาย การนำระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบเดิมมาคำนวณต่อเนื่อง
การตั้งบริษัทจำกัดเกิดขึ้นโดยอาศัย ป.พ.พ. บรรพ 3 หมวด 4 ผลการควบบริษัทจำกัดเข้ากันจึงต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. เช่นเดียวกัน ซึ่งมาตรา 1243 บัญญัติว่า บริษัทใหม่นี้ย่อมได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้ากันนั้นทั้งสิ้น การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ผู้เป็นนายจ้างและลูกจ้าง จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาใช้บังคับด้วย จะใช้บังคับเพียง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 และประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบ ฉบับลงวันที่ 12 กันยายน 2537 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2550 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติการจัดตั้งบริษัทจำกัดและการควบบริษัทจำกัดเข้ากันหาได้ไม่ และการที่ไม่นำ ป.พ.พ. มาใช้บังคับจะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่โจทก์โดยไม่เป็นธรรม และเนื่องจากโจทก์เกิดจากการควบบริษัทจำกัดเข้ากันโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงประเภทกิจการและจำเลยทั้งสองยังคงกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ตามรหัสเดิมก่อนการควบเข้ากัน ทั้งไม่ปรากฏว่าการควบบริษัทและการเพิ่มจำนวนลูกจ้างกรณีนี้ทำให้มีความเสี่ยงภัยสูงขึ้น หรือโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย โจทก์จึงสามารถนำระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบของบริษัทเดิมก่อนการควบรวมบริษัทมาคำนวณระยะเวลาต่อเนื่องได้