คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ควรรู้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความทวงหนี้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: การรู้หรือควรรู้ถึงการเสียชีวิตเป็นเหตุสะดุดอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก กรณีต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน โจทก์แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่า เจ้ามรดกถึงแก่กรรมพร้อมทั้งแสดงใบมรณบัตรและมีผู้ร้องเป็นทายาท ต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกนับแต่นั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องในฐานะทายาทของเจ้ามรดกซึ่งเป็นระยะเวลาภายใน 1 ปีนับแต่ได้รู้หรือควรรู้ถึงการตายของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดก จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ดังนี้หนี้ยังไม่ขาดอายุความ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1024 สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ทุกประการ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านตู้คาราโอเกะ: การพิสูจน์เจตนา 'รู้' หรือ 'ควรรู้' ถึงการละเมิดลิขสิทธิ์
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (2) บัญญัติว่า "ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้...(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน..." แม้โจทก์มิได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่าจำเลยกับพวกรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานที่นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดดังกล่าว แต่คดีนี้โจทก์ก็บรรยายฟ้องในตอนต้นว่า จำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานของผู้เสียหายด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงในงานสร้างสรรค์ประเภทงานดนตรีกรรม ซึ่งประกอบด้วยเนื้อร้องและทำนองของผู้เสียหาย โดยการนำสิ่งบันทึกเสียงที่มีคำร้อง ทำนองเสียงเพลง อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายไปบันทึกข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์บรรจุลงในตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญในลักษณะทำซ้ำหรือดัดแปลงให้ปรากฏคำร้องและทำนองเสียงเพลงในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ อันเป็นการบรรยายให้พอเข้าใจได้ว่างานที่อยู่ในตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญดังกล่าวนั้นเป็นงานที่ได้กระทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เนื่องจากอ้างว่าเป็นงานที่จำเลยกับพวกร่วมกันทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปในตอนท้ายว่า โดยนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยการเปิดงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายดังกล่าวผ่านทางตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญให้บริการร้องเพลงคาราโอเกะแก่ลูกค้าในร้านที่เกิดเหตุโดยเรียกเก็บเงินค่าตอบแทนจากลูกค้า เพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยกับพวกรู้อยู่แล้วว่าเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ดังนี้ เมื่ออ่านฟ้องทั้งหมดแล้วย่อมพอเข้าใจได้ว่าเป็นการบรรยายฟ้องที่อ้างว่าจำเลยกับพวกรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานที่อยู่ในตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญดังกล่าวที่นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) แล้ว