พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินของกลางหลังผู้ต้องหาขอเปรียบเทียบแล้วถอนคำขอ ถือว่าหมดความคุ้มกันจำเลยมีสิทธิยึดทรัพย์ได้
เจ้าหน้าที่ศุลกากรจับกุมโจทก์ในข้อหาพยายามพาของต้องจำกัดออกไปนอกราชอาณาจักร อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช 2469 มาตรา 27 จึงมีอำนาจนำตัวโจทก์และของพิพาทซึ่งเป็นของกลางที่เกี่ยวกับการพยายามกระทำความผิดส่งสถานีตำรวจเพื่อจัดการตามกฎหมาย แม้ต่อมาโจทก์ได้ทำคำร้องขอให้เปรียบเทียบเพื่อไม่ต้องดำเนินคดี โดยขอยกของพิพาทให้เป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่ภายหลังโจทก์กลับขอคืนของพิพาทก่อนที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะพิจารณาคำร้องขอให้เปรียบเทียบมาตรา 102 ทวิ ถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้มีการเปรียบเทียบต่อไปโจทก์จึงหมดความคุ้มกันในการที่จะถูกดำเนินคดีจำเลยย่อมมีอำนาจยึดของพิพาทไว้เพื่อนำส่งพนักงานสอบสวนให้ดำเนินการตามมาตรา 20 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985-3987/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการสหภาพแรงงาน: ความคุ้มกันตามกฎหมาย แม้ยังมิได้จดทะเบียน
ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้เลือกตั้งผู้ใดเป็นกรรมการสหภาพแรงงานแม้จะยังมิได้มีการแจ้งจดทะเบียนต่อนายทะเบียนก็ตามผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา121แล้วความคุ้มกันประการใดที่มาตราดังกล่าวบัญญัติไว้เพื่อปกป้องกรรมการสหภาพแรงงานความคุ้มกันนั้นๆย่อมตกแก่กรรมการสหภาพแรงงานผู้ได้รับเลือกตั้งนั้นทุกอย่างทุกประการ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูต: จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยมีสถานะเป็นเอกอัครราชทูต
จำเลยมีตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐไนจีเรียประจำประเทศไทยเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนอันเป็นตัวแทนทางทูตตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ค.ศ.1961 ข้อ 1 และการทำงานของโจทก์ในสถานเอกอัครราชทูตไนจีเรียประจำประเทศไทยเป็นการทำงานในภารกิจของสถานเอกอัครราชทูตไนจีเรียประจำประเทศไทยมิได้เป็นลูกจ้างในกิจการทางวิชาชีพหรือการพาณิชย์อันเป็นการประกอบอาชีพส่วนตัวของจำเลย จึงไม่เข้าขอยกเว้นการได้รับความคุ้มกันทางทูตตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ค.ศ.1961 ข้อ 31 เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการสละความคุ้มกันตาม ข้อ 32 และไม่ปรากฏว่า จำเลยถูกเพิกถอนหรือจำกัดความคุ้มกันทางการทูตดังกล่าว จำเลยจึงได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลแรงงานกลางตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูต พ.ศ.2527 มาตรา 3 ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความจึงชอบแล้ว