คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความคุ้มครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยทางทะเล ความคุ้มครองสินค้าขณะอยู่ในคลังสินค้า และอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ตามกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลคุ้มครองที่และจากแหลมฉบัง ประเทศไทยถึงโฮจิมินห์ในประเทศเวียดนามคำว่าที่และจากแหลมฉบังย่อมเป็นการคุ้มครองภัยที่เกิดที่ท่าเรือแหลมฉบังด้วยไม่ใช่เฉพาะนับจากเรือออกจากท่าเรือแหลมฉบัง ดังนั้นกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลที่มีผลคุ้มครองสินค้าตั้งแต่เวลาที่สินค้าอยู่ที่ท่าเรือแหลมฉบังขณะรอบรรทุกลงเรือจึงคุ้มครองสินค้าขณะอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบังก่อนขนสินค้าลงเรือด้วย เมื่อสินค้าได้สูญหายไปขณะที่อยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าซึ่งได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อสินค้าที่สูญหายให้แก่ผู้รับตราส่งไปแล้วตามความผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 ที่รับฝากสินค้าไว้และจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนภัยของจำเลยที่ 4 ผู้รับฝากสินค้าไว้ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝากเป็นการฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อผู้ขนส่งส่งมอบและผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ผู้รับตราส่งรู้ว่าสินค้าหายไป จากวันดังกล่าวนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 9 ธันวาคม 2542 ยังไม่ครบ 10 ปี ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3131/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การลากจูงรถที่ไม่ได้ประกันภัย ทำให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก
สัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยและจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัย ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการใช้ลากจูงหรือผลักดัน เว้นแต่รถที่ถูกลากจูงหรือถูกผลักดันได้ประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 ด้วย การที่จำเลยที่ 2 นำรถที่เอาประกันภัยไปลากจูงรถพ่วงที่ไม่ได้เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำที่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 3เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยและขอบเขตความคุ้มครอง
ผู้รับประกันภัยรับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยสำหรับความเสียหายในการขนส่งอุปกรณ์ไฟฟ้าทางทะเลจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทย เมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เอาประกันภัยได้รับความเสียหายและผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดและจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนของผู้ทำละเมิดได้ แม้กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างผู้รับประกันภัยและ ผู้เอาประกันภัยจะลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลไม่ถูกต้องตามตราสารข้อบังคับ ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีตามสัญญา ประกันภัย จำเลยร่วมซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประกันภัยนั้นหาอาจยกมาเป็นเหตุให้ตนหลุดพ้นจากความรับผิดได้ไม่
หม้อแปลงไฟฟ้าที่ขนส่งซึ่งได้รับความเสียหายมีขนาดใหญ่ไม่ปรากฏว่า มีบริษัทหรือหน่วยงานแห่งใดในประเทศไทยเคยสร้างและซ่อมแซมมาก่อน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นย่อมต้องจัดการซ่อมแซมให้ดีที่สุด เพราะหาก ซ่อมแซมไม่ดีแล้วการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำไปใช้งานก็อาจกระทบกระเทือนถึงประชาชนโดยส่วนรวม ดังนั้น การที่บริษัท ซ. ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นบริษัทที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยว่าจ้างให้ออกแบบก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดราชบุรีพร้อมทั้งจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตัดสินใจส่งหม้อแปลงไฟฟ้านั้นกลับไปให้บริษัท ฟ. ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตซ่อมแซม จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุผลแล้ว และค่าเสียหายที่บริษัท ซ. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสามารถเรียกร้องจากโจทก์ผู้รับประกันภัยได้นอกจากค่าซ่อมแซมแล้ว ย่อมรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นอันจำเป็น เช่น ค่าขนส่งและค่าภาษีอากรในการส่งมอบหม้อแปลงไฟฟ้าไปซ่อมและส่งกลับมาติดตั้งยังสถานีไฟฟ้าย่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วย
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจรับจ้างขนส่งรับขนส่งสิ่งของจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยไปส่งยังสถานที่ต่าง ๆ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญารับจ้างขนส่งหม้อแปลงไฟฟ้ากับบริษัท ซ. ไปส่งที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอบเขตของงานตามสัญญาจ้าง นับแต่จำเลยที่ 1 รับมอบสินค้าจากเรือไปส่งและขนถ่ายลงยังสถานที่ตั้งของแต่ละโครงการเป็นไปตามที่กำหนดโดยผู้ว่าจ้างคือที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยร่วมเพื่อประกันความเสียหายเฉพาะการขนถ่ายสินค้าในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยร่วมกล่าวอ้าง ทั้งปรากฏว่าหลังจากเกิดเหตุแล้วจำเลยร่วมก็ได้ว่าจ้างบริษัท ศ. และบริษัท ย. เข้าสำรวจความเสียหายของหม้อแปลงไฟฟ้า และเป็นผู้ชำระเงินค่าสำรวจความเสียหายให้แก่บริษัททั้งสอง ซึ่งหากจำเลยร่วมเห็นว่าจำเลยร่วมไม่มีความรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยในกรณีดังกล่าวแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จำเลยร่วมจะต้องเข้ามาเป็นธุระดำเนินการสำรวจความเสียหาย สำหรับถ้อยคำว่า Terminal ในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งแปลว่าสถานีนั้นมีความหมายได้ทั้งสถานีต้นทางและปลายทาง เมื่อพิจารณาถ้อยคำในกรมธรรม์ประกันภัยประกอบพยานหลักฐานและพฤติการณ์อื่นแล้ว สถานีปลายทางตามกรมธรรม์ประกันภัย ย่อมมีความหมายถึงสถานที่ที่จำเลยที่ 1 จะต้องนำหม้อแปลงไฟฟ้าไปส่งให้แก่ผู้ว่าจ้างที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์หาได้หมายความถึงการขนถ่ายสินค้าเฉพาะบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยร่วมกล่าวอ้างไม่ ดังนั้นเมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเกิดความเสียหายขณะที่ยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อวางยังสถานที่ตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะฟ้องแย้ง: ต้องมีประเด็นข้อพิพาทใหม่, สอดคล้องกับคำฟ้องเดิม, และแสดงถึงเหตุที่จำเลยจะขาดความคุ้มครองหากไม่ฟ้องแย้ง
ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้อง จำเลยจะต้องบรรยายฟ้องให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 1 อย่างไร ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ทั้งคำฟ้องจะต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาใหม่ และคำขอคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่เสนอข้อหาโดยคำฟ้องแย้งแล้ว จำเลยที่ 1 จะไม่ได้รับความคุ้มครองให้เป็นไปตามสิทธิตามมาตรา 172 วรรคสอง และต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสุดท้าย
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 กับพวกรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญาตั๋วเงิน แต่ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ที่อ้างว่าเป็นฟ้องแย้งมีข้อความแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญาเพราะจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์แล้ว ส่วนการขายลดเช็ค จำเลยที่ 1ให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยได้รับเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้อง โจทก์หลอกลวงให้จำเลยที่ 1 โอนส่งมอบเช็คให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ซึ่งเป็นแต่เพียงคำให้การปฏิเสธความรับผิดเท่านั้น หากเป็นจริงตามที่จำเลยที่ 1 อ้าง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 1 อยู่แล้วจำเลยที่ 1 มิได้เสนอข้อกล่าวหาเป็นประเด็นขึ้นมาใหม่ คำให้การดังกล่าวจึงไม่ต้องด้วยลักษณะฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยขนส่ง: การสูญหาย/เสียหายต้องเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่แค่ไม่ได้รับชำระค่าสินค้า
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 883 และตามกรมธรรม์ประกันภัยมุ่งประสงค์จะคุ้มครองวินาศภัยทุกอย่างซึ่งอาจเกิดขึ้นแก่ของที่ขนส่ง ในระหว่างเวลาตั้งแต่ผู้ขนส่งได้รับของไปจนได้ส่งมอบของนั้นให้แก่ผู้รับตราส่ง คือการคุ้มครองบรรดาความเสี่ยงภัยทั้งหลายที่เป็นการสูญหายหรือเสียหายทุกประเภทที่มีต่อสินค้าที่เอาประกันภัยไว้นั่นเอง เมื่อปรากฏว่าสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยที่ 2 ได้ขนส่งไปถึงประเทศอุรุกวัยอันเป็นจุดหมายปลายทางโดยปลอดภัย โดยไม่มีการสูญหายหรือเสียหาย และผู้ซื้อก็ได้รับสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว แม้ผู้ขนส่งจะได้จ่ายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อไปโดยผู้ซื้อมิได้ชำระราคาสินค้าแก่ธนาคารผู้รับตราส่งก่อนตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ก็ตามก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่สินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายหรือเสียหายตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย อันจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์
ส่วนจำเลยที่ 1 นั้นก็เป็นเพียงนายหน้าชี้ช่องให้โจทก์กับจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากันเมื่อโจทก์ได้รับกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัย และโจทก์ยอมชำระเบี้ยประกันภัยแก่จำเลยที่ 2 แล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้บอกชื่อของอีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 848 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: ความคุ้มครองนอกเหนือค่าเสียหายเบื้องต้น
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 15ที่บัญญัติว่า "กรมธรรม์ประกันภัย...ซึ่งมีข้อความระบุถึงความรับผิดของบริษัทแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในบทแห่ง พ.ร.บ.นี้ บริษัทจะยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ประสบภัยในการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นมิได้" นั้น เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ฉบับนี้เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนกรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขความรับผิดของผู้รับประกันภัยที่เป็นเงื่อนไขความรับผิดเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนนอกจากค่าเสียหายเบื้องต้น ย่อมไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา 15 ดังกล่าวและเมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมิได้มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว เงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.ฉบับนี้หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายเรือจากสภาพอากาศรุนแรงอยู่ในความคุ้มครองประกันภัย หากพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นทันทีจากเหตุภัย
เมื่อปูมเรือเป็นเอกสารสำคัญของการเดินเรือประจำเรือ ทั้งเป็นที่ยอมรับข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปและซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ว่า เรือลำนั้นแล่นไปที่ใดผจญกับสิ่งใดบ้าง จึงฟังได้ว่ารอยบุบใต้ท้องเรือเกิดขึ้น จากอากาศแปรปรวนอย่างรุนแรงทำให้เรือผจญคลื่นลมแรงหาใช่เกิดจากการใช้งานตามปกติไม่ ทั้งเรือลำนี้เป็นเรือเดินระหว่างประเทศ ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจากสถาบันที่นานาชาติยอมรับ เมื่อกรมธรรม์ระบุเงื่อนไขพิเศษว่า ผู้รับประกันภัยยอมให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายจากสภาพอากาศรุนแรง ฉะนั้น การที่เรือเสียหายจนวิศวกรของสถาบันนิปปอนไคจิโคไค สั่งซ่อม หากไม่ซ่อมจะไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้งานได้ตามปกติ แสดงว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นทันทีเมื่อผจญคลื่นลมรุนแรงหรืออากาศแปรปรวนทำให้ไม่สามารถใช้งานปกติดังที่จำเลยอ้าง ความเสียหายของโจทก์จึงอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนที่ดินโดยไม่สุจริต ผู้ซื้อย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเดิมบิดาและ ป.มารดาของ ส.ได้จับจองไว้ ต่อมาส.นำที่ดินดังกล่าวไปออกโฉนดแทนในนามของ ส. ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวจึงยังเป็นของบิดามารดาของ ส. ต่อมา ส.จดทะเบียนแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่ ป.และพี่น้อง กับแบ่งขายให้แก่ผู้คัดค้านและ ว.ด้วย เนื่องจาก ส.ต้องการแบ่งที่ดินให้ป.เป็นจำนวน 5 ไร่ แต่ปรากฏว่าที่ดินที่จดทะเบียนแบ่งให้ ป.นั้น มีเนื้อที่ 4 ไร่เศษ ส.จึงยกที่ดินส่วนที่พิพาทเนื้อที่ประมาณ 3 งาน ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินแปลงที่ยกให้อีกประมาณ 3 งาน โดยมิได้มีการโอนทางทะเบียน ซึ่ง ป.ก็ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินส่วนที่ ส.ยกเพิ่มให้นี้ การที่ ส.ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านทราบอยู่แล้วว่ามีบ้านปลูกอยู่และมี ป.มารดาของ ส.อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น กับทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ป.ซึ่งยังคงครอบครองอยู่ จึงเป็นการรับโอนมาโดยไม่สุจริต ผู้คัดค้านจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยไม่สุจริต ผู้ซื้อทราบว่าที่ดินมีผู้ครอบครองอยู่แล้ว จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเดิมบิดาและ ป. มารดาของ ส. ได้จับจองไว้ ต่อมา ส. นำที่ดินดังกล่าวไปออกโฉนดแทนในนามของ ส. ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวจึงยังเป็นของบิดามารดาของ ส.ต่อมาส. จดทะเบียนแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่ป. และพี่น้อง กับแบ่งขายให้แก่ผู้คัดค้านและ ว. ด้วยเนื่องจาก ส. ต้องการแบ่งที่ดินให้ ป. เป็นจำนวน5 ไร่ แต่ปรากฏว่าที่ดินที่จดทะเบียนแบ่งให้ ป. นั้น มีเนื้อที่ 4 ไร่เศษ ส. จึงยกที่ดินส่วนที่พิพาทเนื้อที่ประมาณ 3 งาน ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินแปลงที่ยกให้อีกประมาณ3 งาน โดยมิได้มีการโอนทางทะเบียน ซึ่ง ป. ก็ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินส่วนที่ ส.ยกเพิ่มให้นี้การที่ส.ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านทราบอยู่แล้วว่ามีบ้านปลูกอยู่และมี ป. มารดาของ ส. อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น กับทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ป. ซึ่งยังคงครอบครองอยู่ จึงเป็นการรับโอนมาโดยไม่สุจริต ผู้คัดค้านจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5909/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยไม่สุจริต ผู้สืบสิทธิไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 ปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 จึงต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1311 และจำเลยผู้สืบสิทธิของเจ้าของเดิมผู้ปลูกสร้างบ้านโดยไม่สุจริตย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 เช่นกัน
of 14