พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8649/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความจำเป็นในการกระทำความผิด: ผู้สนับสนุนข่มขืนถูกข่มขู่ด้วยอาวุธ ศาลยกฟ้อง
แม้การที่จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายซึ่งอายุไม่เกิน 15 ปี และจำเลยที่ 1 ไปยังพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณบ้านโนนเมืองเพื่อให้จำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราแล้วขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปส่งบ้านจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายโดยมีอาวุธก่อนหรือขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด และจำเลยที่ 2 กระทำโดยมีเจตนาครบถ้วนตามหลักเกณฑ์องค์ประกอบความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 86 แล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดดังกล่าวด้วยความจำเป็นเพราะถูกจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดลักษณะคล้ายมีดสปาตาร์ ยาวประมาณ 1 ฟุต จี้ที่คอของผู้เสียหายเลยมาถึงคอของจำเลยที่ 2 จนผู้เสียหายเกิดความกลัวว่าจะถูกทำร้ายจึงร้องบอกจำเลยที่ 2 ให้ขับรถจักรยานยนต์ต่อไปจนถึงที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและจำเลยที่ 2 ไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ อีกทั้งไม่ใช่ภยันตรายที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อขึ้นเพราะความผิดของตน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายด้วยความจำเป็นพอสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 67 (2) จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับโทษ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดด้วยความจำเป็นนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ควรต้องรับโทษ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3592/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินและการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีที่ดินใช้ในการประกอบกิจการและถูกเวนคืนโดยความจำเป็น
แม้โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่กรุงเทพมหานครตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แต่การโอนดังกล่าวก็เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4)
โจทก์จำเป็นต้องมีที่ดินพิพาทไว้ใช้ในการประกอบกิจการ เพราะต้องใช้เป็นศูนย์บริการลูกค้า ไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับการที่โจทก์ต้องโอนทรัพย์ก็เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาออกมากำหนดให้ที่ดินที่โอนนั้นอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งหากโจทก์ไม่ตกลงกับเจ้าหน้าที่ก็ต้องถูกเวนคืน ดังนี้ การที่โจทก์ยอมตกลงโอนที่ดินภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ย่อมไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ กรณีของโจทก์เช่นนี้จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์จำเป็นต้องมีที่ดินพิพาทไว้ใช้ในการประกอบกิจการ เพราะต้องใช้เป็นศูนย์บริการลูกค้า ไม่ใช่มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับการที่โจทก์ต้องโอนทรัพย์ก็เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาออกมากำหนดให้ที่ดินที่โอนนั้นอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งหากโจทก์ไม่ตกลงกับเจ้าหน้าที่ก็ต้องถูกเวนคืน ดังนี้ การที่โจทก์ยอมตกลงโอนที่ดินภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ย่อมไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ กรณีของโจทก์เช่นนี้จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6217/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ: ความจำเป็นและหลักความเท่าเทียม
มูลหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการผู้ร้องจึงได้รับการคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 อยู่แล้ว ทั้งหนี้ของผู้ร้องเกิดจากการชำระเงินซื้อบ้านพร้อมที่ดินจากการประกาศขายของลูกหนี้ แต่ไม่มีการส่งมอบหรือโอนกรรมสิทธิ์ให้ซึ่งเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้ โดยมีเจ้าหนี้อีกหลายรายที่อยู่ในฐานะเดียวกับผู้ร้องที่ต้องจัดอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้เดียวกันและตามมาตรา 90/42 ทวิ และมาตรา 90/42 ตรี สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน การยกเลิกข้อจำกัดสิทธิให้แก่ผู้ร้องจึงก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและไม่เป็นธรรมต่อเจ้าหนี้รายอื่นในกลุ่มเดียวกัน การจำกัดสิทธิของผู้ร้องจึงยังมีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมไม่สิ้นสุดแม้มีทางออกอื่น เหตุผลความจำเป็นยังคงมีอยู่
คดีก่อน บ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินของโจทก์คนก่อนกับพวกฟ้อง ข. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินคนก่อนของจำเลยทั้งสองให้ขนย้ายและรื้อถอนสิ่งกีดกั้นที่ ข. เป็นผู้กระทำขึ้นออกจากทางพิพาท กับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์ในคดีนั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสองกระทำขึ้นใหม่ภายหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว กับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ดังนั้น เหตุที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างในคดีนี้จึงเป็นคนละเหตุกับที่ บ. กับพวกฟ้อง ข. ในคดีก่อน โจทก์ไม่อาจมีคำขอให้บังคับจำเลยในคดีก่อนได้ ทั้งคดีก่อน บ. กับพวกก็มิได้ดำเนินการบังคับคดีให้มีการจดทะเบียนภาระจำยอมจนพ้นกำหนดเวลาบังคับคดีไปแล้วแม้โจทก์จะเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินจาก บ. โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 โดยอายุความ อันเป็นทรัพยสิทธิที่ติดไปกับตัวทรัพย์ กรณีหาใช่เป็นภาระจำยอมโดยนิติกรรมซึ่งยังมิได้จดทะเบียนอันเป็นบุคคลสิทธิไม่ จำเลยทั้งสองหาอาจอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เป็นภารยทรัพย์โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ได้ไม่เพราะสิทธิตามความหมายในบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียวกันแต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิเป็นสิทธิคนละประเภทกัน ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความในคดีก่อน คำว่าพิพากษาศาลฎีกาคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสอง
คำว่าภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามมาตรา 1400 วรรคหนึ่ง หมายความว่าไม่สามารถใช้ภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ได้อีกต่อไป หากภารยทรัพย์ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่แม้ไม่มีการใช้ภารยทรัพย์นั้นก็หาใช่ภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของโจทก์อันเป็นสามยทรัพย์จะมีทางออกทางอื่นสู่ทางสาธารณะและโจทก์ใช้ทางดังกล่าวนี้เป็นหลัก แต่เมื่อทางพิพาทยังมีสภาพเป็นทางเดินคงเดิม ทางภาระจำยอมจึงยังไม่หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ ภาระจำยอมยังไม่สิ้นไปตามมาตรา 1400 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 โดยอายุความ อันเป็นทรัพยสิทธิที่ติดไปกับตัวทรัพย์ กรณีหาใช่เป็นภาระจำยอมโดยนิติกรรมซึ่งยังมิได้จดทะเบียนอันเป็นบุคคลสิทธิไม่ จำเลยทั้งสองหาอาจอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เป็นภารยทรัพย์โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ได้ไม่เพราะสิทธิตามความหมายในบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียวกันแต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิเป็นสิทธิคนละประเภทกัน ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความในคดีก่อน คำว่าพิพากษาศาลฎีกาคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสอง
คำว่าภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามมาตรา 1400 วรรคหนึ่ง หมายความว่าไม่สามารถใช้ภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ได้อีกต่อไป หากภารยทรัพย์ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่แม้ไม่มีการใช้ภารยทรัพย์นั้นก็หาใช่ภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของโจทก์อันเป็นสามยทรัพย์จะมีทางออกทางอื่นสู่ทางสาธารณะและโจทก์ใช้ทางดังกล่าวนี้เป็นหลัก แต่เมื่อทางพิพาทยังมีสภาพเป็นทางเดินคงเดิม ทางภาระจำยอมจึงยังไม่หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ ภาระจำยอมยังไม่สิ้นไปตามมาตรา 1400 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์เกินความจำเป็นในการบังคับคดี การพิจารณาความเหมาะสมระหว่างราคาทรัพย์สินที่ยึดกับจำนวนหนี้
โจทก์เคยบริหารกิจการของจำเลยมานับแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทจำเลย ย่อมทราบว่าจำเลยมีเครื่องจักรขนาดใหญ่อยู่หลายเครื่องรวมทั้งราคาของเครื่องจักรดังกล่าวด้วยโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยเพียงไม่กี่แสนบาท จึงน่าจะมุ่งยึดเครื่องจักรที่มีราคาใกล้เคียงกับจำนวนหนี้ ประกอบกับจำเลยไม่มีปัญหาเกี่ยวกับหนี้จำนองที่จำเลยมีต่อธนาคารอื่นทั้ง ก. ซึ่งมีที่ดินที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์หลายแปลงก็เต็มใจให้โจทก์นำไปหักชำระหนี้ได้โดยที่โจทก์ไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ อีกด้วย จึงเห็นได้ว่า โจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดี อันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคหนึ่ง และโจทก์ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณียึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามมาตรา 284 วรรคสอง โดยคิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดแต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดีของจำเลยตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9738/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลและข้อยกเว้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 โดยการเก็บเอกสารคืนจากศาลไว้เกิน 2-3 วัน
ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นโจทก์ในคดีได้รับเอกสารที่สูญหายไปจากสำนวนความของศาลคืนมาแล้ว ยังคงเก็บเอกสารดังกล่าวไว้อีก 2 ถึง 3 วัน โดยไม่นำมาส่งคืนศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเช่นนี้มิใช่เป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ จึงมิใช่กระทำความผิดด้วยความจำเป็นอันจะทำให้ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9590/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมผู้ต้องหาในสภาพเมามายและการใช้กำลังเกินความจำเป็นของเจ้าพนักงาน
โจทก์เมาสุราส่งเสียงดัง เดินเตะเก้าอี้และพูดจาระรานจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ทั้งขณะที่อยู่ในร้านอาหารและขณะเดินกลับออกจากร้านเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 378 จำเลยทั้งสามจึงมีอำนาจจับกุมโจทก์ โจทก์ดิ้นรนขัดขืนไม่ยอมให้จับกุมโดยดี จึงเป็นมูลความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ได้ การที่จำเลยทั้งสามแจ้งต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีต่อโจทก์ในข้อหาเสพสุราจนเป็นเหตุให้เมาประพฤติวุ่นวายในสาธารณสถานและต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงาน จึงมิใช่การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 310 แต่ในการจับกุมโจทก์ซึ่งอยู่ในสภาพเมามายครองสติไม่ได้และโจทก์ขัดขวางการจับกุม จำเลยทั้งสามมีอำนาจใช้วิธีหรือความป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับกุมซึ่งจำเลยทั้งสามควรใช้วิธีการจับตัวและจับมือโจทก์เพื่อใส่เครื่องพันธนาการไม่ให้หลบหนีเท่านั้น จำเลยที่ 1 หาได้มีอำนาจที่จะชกต่อยทำร้าย ร่างกายโจทก์ไม่ การที่โจทก์ได้รับบาดเจ็บโดยมีบาดแผลบวมที่โหนกแก้มขวาและตามัว ซึ่งเกิดจากการที่ถูกจำเลยที่ 1
ชกในขณะจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391
ชกในขณะจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้จ่ายค่าชดเชย เพราะไม่ได้เกิดจากความจำเป็นเพื่อความอยู่รอดของกิจการ
จำเลยเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับเนื่องจากต้องการปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขันด้านธุรกิจมีความเจริญก้าวหน้าและกำไรมากขึ้น มิใช่ความจำเป็นที่มิอาจหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขเพื่อให้กิจการดำรงอยู่ต่อไปได้ ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม แม้โจทก์ได้จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้แก่จำเลยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและตามข้อบังคับการทำงานครบถ้วน ก็เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างในการเลิกจ้างกรณีปกติ มิใช่เป็นการจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน จำเป็นต้องพิสูจน์ความจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้นอกเหนือจากเหตุตามกฎหมาย
โจทก์ปรับปรุงระบบการทำงานแล้วลดจำนวนพนักงานที่ไม่จำเป็นลงรวมทั้งจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ เนื่องจากต้องการปรับปรุงระบบการทำงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขันด้านธุรกิจมีความเจริญก้าวหน้าและกำไรมากขึ้นดังกล่าว มิใช่ความจำเป็นที่มิอาจหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขเพื่อให้กิจการดำรงอยู่ต่อไปได้ไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 123 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม แม้โจทก์ได้จ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้แก่จำเลยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและตามข้อบังคับการทำงานครบถ้วนแล้ว ก็เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างในการเลิกจ้างกรณีปกติมิใช่เป็นการจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6477/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าต้องมีเหตุความจำเป็นตามนโยบายที่ชัดเจน การใช้พื้นที่จริงเป็นเกณฑ์
จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเรื่องความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้างทางขึ้น-ลง เพิ่มเติมสำหรับทางด่วนเฉลิมมหานครผิดไปจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน เป็นอุทธรณ์ใน ข้อกฎหมายไม่ใช่เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ตามสัญญาจัดหาประโยชน์ในเขตทางพิเศษระบุว่าถ้าผู้ร้องสอดมีความจำเป็นตามนโยบายแล้วผู้ร้องสอด มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ และตามสัญญาเช่าช่วงระบุว่าถ้ามีความจำเป็นตามนโยบายของผู้ร้องสอดแล้ว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ การบอกเลิกการเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาทั้งสองฉบับจึงขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ร้องสอด และคำว่า "จำเป็น" ตามพจนานุกรมหมายความว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องทำ ขาดไม่ได้ กรณีจึงหมายความว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จะขาดพื้นที่ส่วนนี้เสียมิได้ แต่ในขณะที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2537 เห็นชอบตามโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขออนุมัตินั้น ยังไม่มีการออกแบบรายละเอียดทางขึ้น - ลง และกำหนดจุดก่อสร้างที่แน่ชัด เป็นเพียงระบุสถานที่ ก่อสร้างไว้กว้าง ๆ ว่าเป็นบริเวณถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และทางแยกต่างระดับคลองเตย ซึ่งในส่วนของทางแยกต่างระดับคลองเตยที่โจทก์เช่าจากผู้ร้องสอดก็มีพื้นที่ถึง 8,000 ตารางวา ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติเพียงหลักและ วิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการอันตรงกับความหมายของคำว่า "นโยบาย" ตามพจนานุกรมเท่านั้น ยังไม่อาจระบุรายละเอียดที่แน่ชัดได้ว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้างหรือไม่ และก่อนที่ผู้ร้องสอดจะบอกเลิกการเช่าบางส่วนแก่โจทก์ก็ยังปรากฏอีกว่าตำแหน่งเสาของโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติม ไม่ได้ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 อีกทั้งทางขึ้น - ลงเพิ่มเติมนั้นได้ก่อสร้างเสร็จและเปิดใช้มาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี แล้วโดยตึกแถวเลขที่ 98/57 ก็ยังคงตั้งอยู่ ดังนั้นแม้จะไม่ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ผู้ร้องสอดก็ยังคงก่อสร้างทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมได้ เมื่อผู้ร้องสอดไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ในส่วนพื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 แก่โจทก์ และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเช่นกัน
ตามสัญญาจัดหาประโยชน์ในเขตทางพิเศษระบุว่าถ้าผู้ร้องสอดมีความจำเป็นตามนโยบายแล้วผู้ร้องสอด มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ และตามสัญญาเช่าช่วงระบุว่าถ้ามีความจำเป็นตามนโยบายของผู้ร้องสอดแล้ว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ การบอกเลิกการเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาทั้งสองฉบับจึงขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ร้องสอด และคำว่า "จำเป็น" ตามพจนานุกรมหมายความว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องทำ ขาดไม่ได้ กรณีจึงหมายความว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จะขาดพื้นที่ส่วนนี้เสียมิได้ แต่ในขณะที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2537 เห็นชอบตามโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขออนุมัตินั้น ยังไม่มีการออกแบบรายละเอียดทางขึ้น - ลง และกำหนดจุดก่อสร้างที่แน่ชัด เป็นเพียงระบุสถานที่ ก่อสร้างไว้กว้าง ๆ ว่าเป็นบริเวณถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และทางแยกต่างระดับคลองเตย ซึ่งในส่วนของทางแยกต่างระดับคลองเตยที่โจทก์เช่าจากผู้ร้องสอดก็มีพื้นที่ถึง 8,000 ตารางวา ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติเพียงหลักและ วิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการอันตรงกับความหมายของคำว่า "นโยบาย" ตามพจนานุกรมเท่านั้น ยังไม่อาจระบุรายละเอียดที่แน่ชัดได้ว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้างหรือไม่ และก่อนที่ผู้ร้องสอดจะบอกเลิกการเช่าบางส่วนแก่โจทก์ก็ยังปรากฏอีกว่าตำแหน่งเสาของโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติม ไม่ได้ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 อีกทั้งทางขึ้น - ลงเพิ่มเติมนั้นได้ก่อสร้างเสร็จและเปิดใช้มาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี แล้วโดยตึกแถวเลขที่ 98/57 ก็ยังคงตั้งอยู่ ดังนั้นแม้จะไม่ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ผู้ร้องสอดก็ยังคงก่อสร้างทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมได้ เมื่อผู้ร้องสอดไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ในส่วนพื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 แก่โจทก์ และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเช่นกัน