พบผลลัพธ์ทั้งหมด 233 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5182/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่ชัดเจนของคำฟ้องฐานรับของโจรช่วงเวลากระทำผิด ทำให้ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด
การที่โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545 มีคนร้ายหลายคนร่วมกันลักเอาไม้มะค่าโมงแปรรูปจำนวน 235 แผ่น ที่เจ้าพนักงานยึดไว้เป็นของกลางในคดีอาญาขณะอยู่ในความครอบครองดูแลของ ว. ผู้เสียหายไปโดยทุจริต และบรรยายฟ้องข้อ 2 เกี่ยวกับความผิดฐานรับของโจรว่า ตามวันเวลาดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2545 จำเลยรับของโจรไม้มะค่าโมงจำนวน 8 แผ่น อันเป็นส่วนหนึ่งของไม้มะค่าโมงของกลางตามฟ้องข้อ 1 ที่ถูกคนร้ายลักไป หาใช่การบรรยายฟ้องที่ระบุว่า เวลากระทำผิดทั้งหมดในความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อนที่ไม้มะค่าโมงถูกคนร้ายลักเอาไป อันจะมีผลทำให้เป็นฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจรไม่ ทั้งนี้เพราะฟ้องข้อ 2 โจทก์มิได้ระบุว่า เหตุรับของโจรเกิดขึ้นเพียงวันเดียวในวันที่ 6 มิถุนายน 2545 ซึ่งเป็นวันที่เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมไม้ของกลางบางส่วนเท่านั้น หากแต่โจทก์ระบุว่า เหตุรับของโจรเกิดตั้งแต่วันเวลาดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ถึงวันเวลาดังกล่าวในฟ้องข้อ 2 ซึ่งคำว่า ตามวันเวลาดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 หมายถึง ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545 อันมีช่วงระยะเวลานานถึง 1 เดือน วันเกิดเหตุความผิดฐานรับของโจรตามที่โจทก์บรรยายในฟ้องข้อ 2 จึงอาจเป็นวันใดวันหนึ่งในช่วงเวลา 1 เดือนดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นเวลาภายหลังจากที่มีคนร้ายลักไม้ของกลางตามฟ้องข้อ 1 แล้วก็ได้ การบรรยายฟ้องเช่นนี้จึงหาใช่การบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรก่อนเกิดความผิดฐานลักทรัพย์ อันจะมีผลทำให้คำฟ้องโจทก์ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจรไม่
การที่โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 2 ระบุเกี่ยวกับเวลาการทำผิดฐานรับของโจรว่า เหตุรับของโจรเกิดตั้งแต่วันเวลาดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 คือตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545 ถึงวันเวลาดังกล่าวในฟ้องข้อ 2 คือวันที่ 6 มิถุนายน 2545 อันเป็นวันเวลาก่อนที่จะถึงวันเวลาดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 เป็นคำฟ้องที่สับสนขัดต่อสภาพและความเป็นจริง ไม่ชัดแจ้งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
การที่โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 2 ระบุเกี่ยวกับเวลาการทำผิดฐานรับของโจรว่า เหตุรับของโจรเกิดตั้งแต่วันเวลาดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 คือตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545 ถึงวันเวลาดังกล่าวในฟ้องข้อ 2 คือวันที่ 6 มิถุนายน 2545 อันเป็นวันเวลาก่อนที่จะถึงวันเวลาดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 เป็นคำฟ้องที่สับสนขัดต่อสภาพและความเป็นจริง ไม่ชัดแจ้งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายวันเวลาทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ในฟ้องอาญาต้องชัดเจน การอ้างอิงวันเวลาอื่นไม่เพียงพอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมปลอมแกล้งให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นหนี้จำเลยที่ 4 เป็นจำนวนอันไม่เป็นความจริง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 แต่โจทก์มิได้บรรยายให้แน่ชัดว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมปลอมเมื่อใด วันเวลาที่โจทก์อ้างในคำฟ้องตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเพียงวันเวลาที่แสดงว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อใด และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องโอนกรรมสิทธิ์ไปยังบุคคลอื่นเมื่อใด จะถือเอาวันเวลาระหว่างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบกันเพื่อจะให้เข้าใจเอาเองว่า ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เกิดระหว่างวันและเวลาดังกล่าวหาได้ไม่ ถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ครบถ้วนแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6406/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความต้องชัดเจนถึงการสละสิทธิทางอาญา มิเช่นนั้นสิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
บันทึกการยอมรับสภาพนี้ มีเพียงข้อความว่าจำเลยยอมรับและยินยอมชดใช้เงินคืนให้แก่สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์พร้อมด้วยดอกเบี้ยภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันให้ถ้อยคำนี้ และหากไม่ปฏิบัติตามไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ จำเลยยินยอมให้คณะกรรมการกลุ่มหรือสมาชิกกลุ่ม หรือทางราชการดำเนินการตามกฎหมาย ข้อความในบันทึกดังกล่าวไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้แสดงความประสงค์ที่จะสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยหรือไม่ จะถือว่าสิทธิดำเนินคดีอาญาของโจทก์ระงับไปหาได้ไม่ การยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายนั้นข้อตกลงจะต้องปรากฏชัดแจ้งว่า ผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8883/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ชัดเจน และการริบของกลางต้องเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดที่ฟ้อง
โจทก์มีจ่าสิบตำรวจ ส. เบิกความเป็นพยานเพียงปากเดียว โดยไม่เห็นเหตุการณ์การล่อซื้อ คงมีเพียงคำรับสารภาพของจำเลยเท่านั้น การจะพิพากษาลงโทษจำเลย ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคหนึ่ง พยานหลักฐานของโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
ธนบัตรของกลางจำนวน 380 บาท พบรวมอยู่กับธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อ จำเลยรับในชั้นจับกุมว่าได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ธนบัตรของกลางดังกล่าวจึงได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนครั้งก่อน หาใช่ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนครั้งที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจริบธนบัตรของกลางได้
ธนบัตรของกลางจำนวน 380 บาท พบรวมอยู่กับธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อ จำเลยรับในชั้นจับกุมว่าได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ธนบัตรของกลางดังกล่าวจึงได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนครั้งก่อน หาใช่ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนครั้งที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจริบธนบัตรของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8782-8785/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชัดเจนและไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาของพนักงานตรวจแรงงาน ศาลเพิกถอนคำสั่ง
ก่อนจำเลยที่ 1 ออกคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 128/2543 จำเลยที่ 1 ได้ตรวจสภาพการจ้างของโจทก์ โดยมาพบและสอบปากคำ อ. ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของโจทก์และพนักงานอื่น ๆ ของโจทก์ก่อนมีคำสั่ง อันเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 27 และ 29 แล้ว แม้จำเลยที่ 1 มิได้ให้โจทก์มีโอกาสทราบข้อเท็จจริง โต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานในส่วนของโจทก์ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แต่กรณีนี้เป็นเรื่องให้โจทก์ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นเรื่องความสงบในทางอุตสาหกรรม หากปล่อยเนิ่นช้าโดยให้โอกาสโจทก์ตามที่โจทก์อ้าง ย่อมเห็นได้ว่าจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ลูกจ้างและกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) คำสั่งดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 128/2543 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานได้ตรวจสภาพการจ้างและการทำงาน ณ สถานประกอบการของโจทก์ โดยสอบถามข้อเท็จจริงและตรวจสอบเอกสารประกอบแล้ว ปรากฏว่าโจทก์จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามกำหนด และสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายเงินแก่ลูกจ้าง ซึ่งไม่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 70, 9 และ 75 อาศัยอำนาจตามมาตรา 139 (3) สั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามกฎหมาย คือ (1) ให้จ่ายค่าจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานปกติให้ลูกจ้างที่สั่งพักงานและมิได้ทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ให้ถูกต้องครบถ้วนและตรงตามกำหนดพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี (2) ให้จ่ายเงินแก่ลูกจ้างที่สั่งพักงานและทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนโจทก์หยุดกิจการตลอดเวลาที่โจทก์ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน โดยให้ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ภายใน 7 วัน นับแต่รับคำสั่ง คำสั่งดังกล่าวโจทก์ผู้รับคำสั่งย่อมทราบว่าจำเลยที่ 1 สั่งให้ปฏิบัติอย่างไร คำสั่งจึงมีความหมายชัดเจนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 34 แล้ว แม้เหตุผลของคำสั่งจะมิได้มีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (3) แต่การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าจ้างและเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้แก่ลูกจ้าง จึงถือเป็นการเร่งด่วนที่ไม่นำมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ ดังที่บัญญัติไว้ในวรรคสามของมาตรานี้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 124 กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาคำร้องของพนักงานตรวจแรงงานไว้เป็นการเด็ดขาด เมื่อการพิจารณาไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโดยการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่ง มิได้สั่งภายในกำหนดเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 128/2543 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานได้ตรวจสภาพการจ้างและการทำงาน ณ สถานประกอบการของโจทก์ โดยสอบถามข้อเท็จจริงและตรวจสอบเอกสารประกอบแล้ว ปรากฏว่าโจทก์จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามกำหนด และสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายเงินแก่ลูกจ้าง ซึ่งไม่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 70, 9 และ 75 อาศัยอำนาจตามมาตรา 139 (3) สั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามกฎหมาย คือ (1) ให้จ่ายค่าจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานปกติให้ลูกจ้างที่สั่งพักงานและมิได้ทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ให้ถูกต้องครบถ้วนและตรงตามกำหนดพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี (2) ให้จ่ายเงินแก่ลูกจ้างที่สั่งพักงานและทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนโจทก์หยุดกิจการตลอดเวลาที่โจทก์ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน โดยให้ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ภายใน 7 วัน นับแต่รับคำสั่ง คำสั่งดังกล่าวโจทก์ผู้รับคำสั่งย่อมทราบว่าจำเลยที่ 1 สั่งให้ปฏิบัติอย่างไร คำสั่งจึงมีความหมายชัดเจนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 34 แล้ว แม้เหตุผลของคำสั่งจะมิได้มีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (3) แต่การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าจ้างและเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้แก่ลูกจ้าง จึงถือเป็นการเร่งด่วนที่ไม่นำมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ ดังที่บัญญัติไว้ในวรรคสามของมาตรานี้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 124 กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาคำร้องของพนักงานตรวจแรงงานไว้เป็นการเด็ดขาด เมื่อการพิจารณาไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโดยการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่ง มิได้สั่งภายในกำหนดเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยรถยนต์ ความสมบูรณ์ของคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ขับรถยนต์กระบะ ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์รับประกันวินาศภัยและเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์กระบะคันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะด้วยความประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์ ทำให้สินค้าของโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์กระบะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ต่อจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์หาจำต้องบรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้จากใคร ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาในศาลแขวงไม่ต้องเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หากศาลบันทึกใจความได้ความชัดเจน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ กำหนดวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณา เพื่อความสะดวกรวดเร็วไว้เป็นพิเศษนอกเหนือจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้และให้ศาลบันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงจึงไม่ต้องปฏิบัติเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 โดยเฉพาะในอนุมาตรา 5 คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องเป็นบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้แล้วว่าโจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ช่วยเหลือ ช่วยซ่อนเร้น พ. ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย บาดเจ็บ และทรัพย์สินเสียหายอันมิใช่ความผิดลหุโทษโดยรับขึ้นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับจากที่เกิดเหตุไปส่งยังที่อื่น เพื่อไม่ให้ พ. ถูกจับกุม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 คำฟ้องดังกล่าวแม้จะไม่ได้บรรยายว่า จำเลยมีเจตนากระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องโทษ แต่การที่จำเลยรับ พ. ขึ้นรถแล้วขับรถไปส่งยังที่อื่นเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ก็เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องรับโทษ ซึ่งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วจึงให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้น คำฟ้องที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้นั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุม: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดการยักยอกทรัพย์ แม้มีสัญญารับผิดรับใช้
โจทก์ฟ้องว่า ประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2542 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน202,314 บาท และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543จำเลยที่ 2 ได้ขอเข้าทำสัญญารับผิดรับใช้กับโจทก์ ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์มีมูลฐานมาจากการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าเป็นข้อสำคัญ ซึ่งโจทก์จะต้องบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 ได้ยักยอกเงินและสินค้าไปเมื่อใด เงินที่ยักยอกเป็นจำนวนเท่าใด สินค้าที่ยักยอกเป็นสินค้าประเภทใดจำนวนเท่าใด และราคาเท่าใด แม้โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญารับผิดรับใช้ด้วย แต่หนี้ตามสัญญารับผิดรับใช้ก็มีมูลฐานมาจากที่โจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 2 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ถึงการมีอยู่ จำนวนและความสมบูรณ์แห่งหนี้ดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์มิได้กล่าวโดยแจ้งชัดถึงเรื่องจำเลยที่ 1ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ไป จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจนวันเวลาใช้เอกสารปลอม ทำให้ฟ้องฐานใช้เอกสารปลอมไม่ได้ แม้พยานหลักฐานไม่เพียงพอ
โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องข้อ (ข)และ(ง) สรุปได้ว่า หลังจากที่ จำเลยปลอมเอกสารสิทธิใบวางบิลดังกล่าวในฟ้องข้อ (ก) และ (ค) แล้วจำเลยบังอาจนำเอกสารสิทธิดังกล่าวไปใช้อ้างแก่โจทก์ร่วมเพื่อเป็นหลักฐานในการแจ้งสรุปยอดปริมาณการขายสินค้าเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่า ใบวางบิลดังกล่าวได้วางให้แก่ลูกค้าและลูกค้าลงลายมือชื่อในช่อง ผู้รับวางบิลแล้ว ทั้งนี้ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม และประชาชน คำฟ้องโจทก์ดังกล่าวมิได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยนำใบวางบิลไปใช้อ้างแก่โจทก์ร่วมมาโดยชัดแจ้ง เป็นคำฟ้องที่ไม่เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีจึงเป็นคำฟ้อง ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7299/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของผู้เอาประกันภัยในคดีประกันภัยรถยนต์ ฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้ระบุชื่อผู้เอาประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประกันภัย จำเลยที่ 2 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ในลักษณะประกันภัยค้ำจุน ขณะเกิดเหตุยังอยู่ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวโดยประมาทเลินเล่อทำให้รถยนต์โจทก์ถูกชนได้รับความเสียหาย ตามคำฟ้องโจทก์เป็นที่เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันเกิดเหตุ ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวได้ จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 จึงอาจต้อง รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากรถยนต์ที่รับประกันภัยไว้ ข้อที่ว่าจำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้จากผู้ใดเป็น ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 ทราบดีอยู่แล้ว และเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่ จำต้องบรรยายว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยอีก ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม