คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความบกพร่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความบกพร่องทนายจำวันนัดผิดพลาด ไม่ถือเป็นเหตุสมควรให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานนัดต่อมาเพราะสำคัญผิดเนื่องจากจำวันนัดผิด เป็นเรื่องความบกพร่องหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นความผิดพลาดของทนายโจทก์เองที่จำวันนัดคลาดเคลื่อน ถือไม่ได้ว่ามีเหตุผลสมควรเพียงพอที่จะอนุญาตให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4944/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ มิใช่ความบกพร่องของทนายความ
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลมีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยซึ่งศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2545 ต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาติดต่อกันรวม 3 ครั้ง โดยทุกครั้งจะอ้างเหตุผลทำนองเดียวกันว่า ทนายความจำเลยที่ 1 จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของคำพยานและเอกสารในสำนวน รวมทั้งต้องทำคำฟ้องอุทธรณ์และฎีกาในคดีอื่นอีกหลายสำนวน จึงไม่อาจจัดทำคำฟ้องฎีกาได้ทัน ทั้ง ๆ ที่คดีมีข้อเท็จจริงไม่สลับซับซ้อน กรณีนับได้ว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของทนายความจำเลยที่ 1 เอง หาใช่พฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่จำเลยที่ 1 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398-1399/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความบกพร่องเจ้าพนักงานศาล-ทิ้งฟ้องอุทธรณ์: ศาลฎีกายกคำพิพากษาอุทธรณ์ ให้ดำเนินคดีต่อ
คดีทั้งสองสำนวนพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ชำระค่าขึ้นศาลจำนวน 57,420 บาท แล้ว ดังนี้ โดยปกติวิสัยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ก็ชอบที่จะต้องวางค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์ซึ่งเป็นเงินเพียง 240 บาท ตามคำสั่งศาลชั้นต้น ส่วนรายงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเสนอต่อศาลว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลนั้น เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ล่าช้าถึง 6 เดือน ทั้งๆ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 วางค่าธรรมเนียมดังกล่าวภายใน 7 วัน ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ทราบเหตุดังกล่าวตามรายงานเจ้าหน้าที่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ก็ได้ยื่นคำแถลงยืนยันว่าได้วางค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลแล้ว อีกทั้งได้ดำเนินการขอตรวจสมุดรับเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายในช่วงระหว่างวันที่ 29 กันยายน 2542 จนถึงสิ้นปีแต่เจ้าพนักงานศาลผู้รับผิดชอบแจ้งว่าสมุดดังกล่าวสูญหาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงแสดงเจตนาพร้อมจะวางค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่ง น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เอาใจใส่คดี และเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาลแล้วตามระเบียบราชการจะต้องจะต้องเก็บรักษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและต้องใช้เป็นหลักฐานในทางราชการ เว้นแต่จะถึงกำหนดเวลาต้องทำลายตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการปรากฏว่านอกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จะได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานศาลผู้รับผิดชอบว่าสมุดคุมการส่งหมายในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2542 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2542 สูญหายแล้ว และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2544 หลังจากได้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้คู่ความทราบแล้วให้เจ้าพนักงานศาลที่เกี่ยวข้องดำเนินการค้นหาสมุดบัญชีเวรรับเงินนำหมายในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เจ้าพนักงานศาลผู้รับผิดชอบก็ยังคงรายงานต่อศาลเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2544 ว่าสมุดเล่มนั้นสูญหายไปจึงชี้ให้เห็นความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาล รายงานเจ้าหน้าที่มีพิรุธไม่น่าเชื่อถือ พฤติการณ์แห่งคดีประกอบข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้จงใจละทิ้งไม่วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลไม่เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีภาษีอากร: ความบกพร่องทนายจำเลยเป็นเหตุไม่อนุญาต
จำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางในวันที่ 26 ธันวาคม 2544 แล้ว แต่ไม่มาศาลในวันดังกล่าว และไม่ได้ขวนขวายดำเนินการขอคัดถ่ายคำพิพากษาของศาลและคำเบิกความพยานตลอดจนเอกสารต่าง ๆ เพื่อจัดทำอุทธรณ์โดยเร็ว กลับปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนานถึง 20 วัน ทนายจำเลยจึงได้ขอคัดถ่ายคำพิพากษาและคำเบิกความพยาน ซึ่งศาลได้อนุญาตในวันนั้นเอง ต่อมาวันที่ 21 มกราคม 2545 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไปอีก 1 เดือน นับแต่วันครบระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลมีคำสั่งยกคำร้องในวันเดียวกัน และทนายจำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาและคำเบิกความพยานที่ขอคัดถ่ายในวันดังกล่าว แต่จำเลยไม่ได้นำคำฟ้องอุทธรณ์มายื่นทั้งที่ยังเหลือระยะเวลาอีก 7 วัน ก่อนครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ แม้คดีนี้จะมีทุนทรัพย์สูง แต่เป็นคดีไม่ซับซ้อน คำเบิกความของพยานและเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการอุทธรณ์มีไม่มาก ทนายจำเลยเป็นทนายมาตั้งแต่เริ่มการพิจารณา ย่อมทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ อยู่แล้วย่อมสามารถยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาได้ ที่ทนายจำเลยอ้างว่าหลังจากศาลอ่านคำพิพากษาแล้วไม่สามารถติดต่อกับจำเลยได้ และต้องใช้เวลารวบรวมค่าธรรมเนียมศาลนั้น ตามใบแต่งทนายความระบุไว้ชัดแจ้งว่า ทนายจำเลยมีอำนาจในการอุทธรณ์ฎีกาได้ ดังนั้น ทนายจำเลยสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องพบจำเลยก่อน ส่วนเงินค่าธรรมเนียมศาลนั้น แม้จะมีจำนวนสูง แต่ทนายจำเลยมีสิทธิที่จะขอขยายระยะเวลาวางเงินต่อศาลออกไปได้โดยไม่ต้องขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ กรณีจึงเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยที่ดำเนินการล่าช้าเอง ไม่มีเหตุสมควรที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลแจ้งคำสั่งขยายเวลาอุทธรณ์ ความบกพร่องของศาลถือเป็นเหตุสุดวิสัย
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันถัดมาว่าอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แต่น้อยกว่าระยะเวลาที่โจทก์ขอ แม้ท้ายคำร้องของโจทก์จะมีหมายเหตุข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นคำร้อง ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ เมื่อไม่ได้มีการแจ้งคำสั่งของศาลชั้นต้นให้โจทก์ทราบ จะถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วมิได้ การที่โจทก์ไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์น้อยกว่าที่โจทก์ขอจึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ หากแต่เหตุเกิดจากความบกพร่องของศาลชั้นต้นเองที่ไม่ดำเนินการแจ้งคำสั่งศาลให้โจทก์ทราบ กรณีดังกล่าวจึงนับว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องขอครั้งที่สองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิต: ความรับผิดของบริษัทประกันเมื่อกรมธรรม์ออกล่าช้าจากความบกพร่องในการปฏิบัติงาน
ธุรกรรมของจำเลยที่เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว โดยการจะใช้จำนวนเงินสงเคราะห์ ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้ยื่นคำขอ ธุรกรรมดังกล่าวจึงเป็นการรับประกัน ชีวิตตาม ป.พ.พ. มาตรา 889
เมื่อจำเลยยอมรับว่า ช. ผู้เอาประกันมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดไว้ และจำเลยจะต้องผูกพันตนในการที่จะต้องพิจารณาอนุมัติตามคำขอหรือไม่ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันรับฝากเงิน หากจำเลยปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของตนให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ซึ่งขณะนั้น ช. ยังมีชีวิตอยู่ จำเลยย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ได้ เมื่อกรมธรรม์ออกให้แก่ ช. ล่าช้าเกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานจำเลยเพียงฝ่ายเดียว จำเลยย่อมไม่อาจนำข้อกำหนดในตอนท้ายของคำขอเปิดบัญชีฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิต และครอบครัวที่ระบุว่า "ข้าพเจ้า (ผู้เอาประกัน) ยอมรับว่าธนาคารยังไม่มีข้อผูกพันใด ๆ กับข้าพเจ้าจนกว่าธนาคาร จะได้ออกกรมธรรม์การฝากเงินให้แล้ว?" ซึ่งมีความหมายมุ่งเฉพาะกรณีผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตาม หลักเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดโดยมิชอบด้วยความเป็นธรรมหาได้ไม่ และต้องถือว่าสัญญารับประกันชีวิตมีขึ้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันฝากเงินแล้ว ทั้งข้อกำหนดในเรื่องการออกกรมธรรม์ ไม่อาจถือเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในเรื่องความเป็นผลแห่งสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลสมควร การอ้างเหตุเดิมซ้ำๆ โดยไม่ปรับปรุงแก้ไข และไม่ให้ความสำคัญกับคำสั่งศาลถือเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลย
ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้วไม่มาศาล ต้องถือว่าจำเลยทราบคำพิพากษา ศาลชั้นต้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษา เมื่อนับแต่วันพิพากษาถึงวันครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่จำเลยในครั้งที่สองรวมแล้วเป็นเวลาถึง 86 วัน และ เมื่อทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นครั้งที่สาม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเตือนทนายจำเลยในคำร้อง ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สามของทนายจำเลยแล้วว่าการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์โดยอ้าง เหตุเดิมเป็นความเฉื่อยชาของจำเลย ไม่ยุติธรรมแก่ฝ่ายโจทก์ แต่ก็ยังให้โอกาสจำเลยอีกครั้ง ทนายจำเลยกลับมายื่น คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีกเป็นครั้งที่สี่อ้างเหตุเดิมอย่างลอย ๆ ทั้งฎีกาของจำเลยก็ยอมรับว่า การอ้างเหตุเดิม เพื่อขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เนื่องจากเป็นแบบพิมพ์ของพนักงานอัยการที่ใช้ร่างขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ซึ่งในบางครั้งอาจมีข้อความที่คลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงไปเพราะความพลั้งเผลอในการตรวจสอบข้อความโดยไม่ได้อ้างว่ามีพฤติการณ์พิเศษอย่างไร เห็นได้ว่าฝ่ายจำเลยไม่ได้ให้ความสำคัญต่อคำสั่งของศาลชั้นต้นและระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ที่ศาลชั้นต้นขยายให้ การที่จำเลยไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ เป็นเพราะความบกพร่องของฝ่ายจำเลย จึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยต้องทำให้ไม่อาจยื่นคำขอขยายได้ทัน ไม่ใช่จากความบกพร่องภายใน
การที่โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาเป็นเหตุให้ไม่อาจ ทำอุทธรณ์ยื่นได้ภายในกำหนด ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่ต้องยื่นขอก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนด โจทก์เพิกเฉยมิได้ยื่นคำขอขยายระยะเวลา เสียก่อนสิ้นระยะเวลาโดยอ้างว่าเข้าใจผิดอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อในการตรวจดูคำสั่งศาลชั้นต้นของเสมียนทนายโจทก์ เหตุดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องความบกพร่องภายในของโจทก์เอง ยังไม่อาจถือได้ว่า เป็นเหตุสุดวิสัยตามความหมายของมาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาและการรับทราบคำพิพากษาในคดีแรงงาน การไม่ติดตามคดีถือเป็นความบกพร่องของผู้ฟ้อง
ศาลแรงงานกลางนัดฟังคำพิพากษาและได้ปิดประกาศแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบที่หน้าศาลโดยให้มีผลทันทีแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 25, 26 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ไปฟังคำพิพากษาในวันนัดและศาลแรงงานกลางได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังโดยจดแจ้งไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ถือว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาตามกฎหมายแล้ว จึงต้องถือว่าได้มีการอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟังแล้วในวันนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 140 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จะอ้างว่ายังไม่ทราบคำพิพากษาไม่ได้
โจทก์ไม่ติดตามตรวจสอบว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่ เมื่อใด เพราะเข้าใจว่าช่วงนั้นศาลแรงงานกลางมีงานเกี่ยวกับการพิพากษาคดีจำนวนมาก ก็ถือว่าเป็นความผิดหรือบกพร่องของโจทก์เอง ไม่ใช่ความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8876/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา, การบันทึกคำฟ้อง, และความบกพร่องในกระบวนพิจารณาคดี
ความผิดฐานหลบหนีไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160 เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐ ผู้เสียหายที่ 2 ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานนี้ไม่ได้โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกาเกี่ยวกับความผิดฐานนี้ จึงฟังเป็นที่ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์และเป็นหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจา เพื่อสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหาใดและขอให้ลงโทษตามบทกฎหมายใดบ้าง จึงต้องพิจารณาจากฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้และบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกัน แม้บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์จะไม่ได้อ้างกฎหมายและบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ระบุว่าขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 300 พ.ร.บ. จราจรทางบก มาตรา 43, 157 อันเป็นการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสแล้ว ฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้จึงชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 19 วรรคสอง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่ฟ้องหรือให้การด้วยวาจา ให้ศาลบันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้" มีความหมายว่าให้คู่ความลงชื่อไว้ก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าศาลบันทึกฟ้องด้วยวาจาถูกต้องเท่านั้น เมื่อพิจารณาแล้ว การที่คู่ความไม่ได้ลงชื่อไว้ในคดีนี้เกิดจากเจ้าพนักงานศาลไม่ได้นำไปให้คู่ความลงชื่อจึงเป็นเพียงความบกพร่องเท่านั้น กระบวนการพิจารณาดังกล่าวหาได้เสียไปไม่จึงไม่ต้องเพิกถอน
จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยและเพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล เห็นสมควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เฉพาะความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 4
of 5