พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7910/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการขับรถโดยประมาทและไม่คำนึงถึงความปลอดภัยผู้อื่น การปรับบทลงโทษตามกฎหมายจราจร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่นและขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (8), 160 มาด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องฟังว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องดังกล่าวด้วยแต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวและศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้พิพากษาแก้ไข จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5207/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่มีหน้าที่ลดความเร็วเพื่อความปลอดภัย
จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงและไม่ได้ชะลอความเร็วเมื่อมาถึงทางร่วมทางแยก แม้จะได้ความว่าทางเดินรถของฝ่ายแท็กซี่เป็นทางโทมีป้ายหยุดปักอยู่ตรงปากทางและผู้ขับรถแท็กซี่ไม่ได้หยุดรถของตนอันเป็นการกระทำโดยประมาทด้วยก็ตาม แต่การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่รถทุกเส้นทางที่มาบรรจบทางร่วมทางแยกจะต้องลดความเร็วลงให้อยู่ในระดับความเร็วที่ต่ำหรือหยุดรถเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายอันเกิดจากการชนระหว่างรถที่กำลังแล่นผ่าน หาใช่ว่าผู้ที่ขับรถมาในทางเอกจะใช้ความเร็วในอัตราที่สูงโดยขับผ่านทางร่วมทางแยกไปโดยปราศจากความระมัดระวัง เมื่อจำเลยขับรถแล่นเข้าไปในทางร่วมทางแยกด้วยความเร็วสูงทำให้ชนกับรถยนต์คันที่ผู้ตายขับมาเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ย่อมถือได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความประมาทของจำเลยด้วย
พฤติการณ์ความประมาทของจำเลยค่อนข้างร้ายแรง และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 3 คน แม้จำเลยจะวางเงินให้แก่ทายาทของผู้ตายทั้งสามคนก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็มิใช่การวางเงินโดยยอมรับผิดในการกระทำของตน ทั้งเงินดังกล่าวก็เป็นค่าเสียหายส่วนแพ่งที่จำเลยอาจต้องรับผิดต่อทายาทของผู้ตายกรณียังไม่สมควร รอการลงโทษให้แก่จำเลย
พฤติการณ์ความประมาทของจำเลยค่อนข้างร้ายแรง และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 3 คน แม้จำเลยจะวางเงินให้แก่ทายาทของผู้ตายทั้งสามคนก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็มิใช่การวางเงินโดยยอมรับผิดในการกระทำของตน ทั้งเงินดังกล่าวก็เป็นค่าเสียหายส่วนแพ่งที่จำเลยอาจต้องรับผิดต่อทายาทของผู้ตายกรณียังไม่สมควร รอการลงโทษให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8103/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การฟ้องจำเลยที่ถูกจำคุกในเรือนจำต่างเขต และการพิจารณาความปลอดภัยในการย้ายตัว
เรือนจำกลางนครศรีธรรมราชเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 แต่ ป.พ.พ. มาตรา 22 (1) มิได้บัญญัติให้ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เพียงแต่บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นจะรับชำระคดีหรือไม่ก็ได้ เมื่อความผิดคดีนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดทุ่งสง และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอทุ่งสงท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นเป็นผู้สอบสวน จึงอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดทุ่งสงได้ การที่โจทก์ไม่อาจโอนตัวจำเลยไปคุมขังที่เรือนจำจังหวัดทุ่งสงเพื่อฟ้องคดี เพราะเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเกรงว่าจะเกิดความไม่ปลอดภัยในการย้ายจำเลยเป็นเพียงการคาดการณ์เอาเองของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น จึงไม่สมควรให้ศาลชั้นต้นรับชำระหนี้คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิด พ.ร.บ.จราจร ต้องระบุเจตนา 'ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย' จึงจะลงโทษฐานขับรถประมาทได้
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยขับรถด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับอันตรายแก่กาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 (8) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสาม ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6479/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถบรรทุกจากความผิดน้ำหนักเกินกฎหมาย ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยทางหลวง
จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางมีน้ำหนักบรรทุกรวมน้ำหนักรถเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้มาก เพื่อประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทางหลวงแผ่นดิน ทั้งมีผลกระทบต่อผู้ร่วมใช้เส้นทางสัญจรไปมาที่ต้องเสี่ยงต่ออันตรายอันเกิดจากสภาพแห่งท้องถนนที่ได้รับความเสียหายทำให้ยากต่อการควบคุมให้รถแล่นไปได้อย่างปลอดภัย ซึ่งอาจมีผลก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่ได้ ดังนั้น รถยนต์บรรทุกของกลางซึ่งใช้ในการกระทำความผิดจึงเป็นทรัพย์ที่สมควรต้องริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยที่ขับรถขณะเสพยาเสพติด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เพื่อความปลอดภัยสาธารณะ
แม้อัตราโทษตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ มาตรา 102(3 ทวิ),127 ทวิ วรรคสอง กับโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคสอง จะเท่ากัน แต่พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ วรรคสองมีบทบัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยไม่น้อยกว่าหกเดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ อันเป็นมาตรการทำนองเดียวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยในการที่จะคุ้มครองประชาชนทั่วไปมิให้ได้รับอันตรายที่เกิดจากการกระทำของจำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ มาตรา 102(3 ทวิ),127 ทวิ วรรคสอง และไม่พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยนั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นด้วยก็มีอำนาจวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผู้ขับรถเสพยาเสพติด จำเป็นต้องเข้มงวดเพื่อความปลอดภัยสาธารณะและป้องกันการกระทำผิดซ้ำ
การที่จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถยนต์บรรทุกอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้อื่นได้ทุกขณะ เพราะอาการมึนเมาเมทแอมเฟตามีนย่อมทำให้ไม่อาจใช้ความระมัดระวังในการขับรถได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่ร้ายแรง แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและจำเลยเป็นกำลังสำคัญในการเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวดังที่กล่าวอ้างในฎีกา แต่เพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบและเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลอื่น อันจะเป็นการปกป้องประชาชนทั่วไปจากภยันตรายบนท้องถนนที่มักเกิดขึ้นจากผู้ขับรถที่ขาดสติเพราะเสพเมทแอมเฟตามีนสมควรลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ
จำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ จึงต้องระวางโทษสูงกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอีกหนึ่งในสามตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ มาตรา 127 ทวิ วรรคสองเมื่อโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 91 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000บาทถึง 100,000 บาท เฉพาะอัตราโทษจำคุกที่จะลงโทษแก่จำเลยในคดีนี้จึงมีกำหนดขั้นต่ำตั้งแต่ 8 เดือน ที่ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำคุกก่อนลดไว้ 6 เดือน จึงเป็นการลงโทษจำคุกต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด
จำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ จึงต้องระวางโทษสูงกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอีกหนึ่งในสามตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ มาตรา 127 ทวิ วรรคสองเมื่อโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 91 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000บาทถึง 100,000 บาท เฉพาะอัตราโทษจำคุกที่จะลงโทษแก่จำเลยในคดีนี้จึงมีกำหนดขั้นต่ำตั้งแต่ 8 เดือน ที่ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำคุกก่อนลดไว้ 6 เดือน จึงเป็นการลงโทษจำคุกต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7282/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถบรรทุกที่บรรทุกของยื่นเกินความยาวตัวรถ และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย
รถบรรทุกคันที่จำเลยขับเป็นรถที่บรรทุกอ้อยยื่นเกินความยาวของตัวรถขณะที่อยู่ในทางเดินรถ และถนนที่เกิดเหตุมีแสงสว่างเพียงพอที่จะทำให้มองเห็นรถจำเลยได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร จำเลยซึ่งเป็น ผู้ขับรถในทางต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 11 มาตรา 15 กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522) และข้อกำหนดกรมตำรวจ คือต้องใช้หรือมีโคมไฟแสงแดงติดไว้ที่ปลายสุดของต้นอ้อยส่วนที่ยื่นล้ำออกนอกท้ายรถจำเลยโดยให้ไฟสัญญาณแสงแดงส่องออกท้ายรถให้สามารถเห็นแสงไฟได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
การที่จำเลยขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุซึ่งเป็นรถที่บรรทุกต้นอ้อยยื่นล้ำออกนอกตัวรถโดยไม่มีโคมไฟแสงแดง ติดไว้ที่ปลายสุดของต้นอ้อยส่วนที่ยื่นออกไปด้วย ทำให้รถยนต์ที่ ถ. ขับตามหลังมาไม่สามารถมองเห็นรถจำเลยหรือแสงไฟได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร การกระทำของจำเลยเป็นการขับรถโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 11 มาตรา 15 กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522 ) และข้อกำหนดกรมตำรวจ ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการขับรถ และการกระทำดังกล่าวเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้รถยนต์ ที่ ถ. ขับพุ่งชนท้ายรถบรรทุกที่จำเลยขับ จนเป็นเหตุให้ ถ. ได้รับบาดเจ็บสาหัสถือได้ว่าจำเลยขับรถโดยประมาท ส่วนที่ ถ. ขับรถโดยประมาทด้วย ก็หาทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นการกระทำโดยประมาทกลับเป็นไม่ประมาทไปได้ไม่
การที่จำเลยขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุซึ่งเป็นรถที่บรรทุกต้นอ้อยยื่นล้ำออกนอกตัวรถโดยไม่มีโคมไฟแสงแดง ติดไว้ที่ปลายสุดของต้นอ้อยส่วนที่ยื่นออกไปด้วย ทำให้รถยนต์ที่ ถ. ขับตามหลังมาไม่สามารถมองเห็นรถจำเลยหรือแสงไฟได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร การกระทำของจำเลยเป็นการขับรถโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 11 มาตรา 15 กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522 ) และข้อกำหนดกรมตำรวจ ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการขับรถ และการกระทำดังกล่าวเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้รถยนต์ ที่ ถ. ขับพุ่งชนท้ายรถบรรทุกที่จำเลยขับ จนเป็นเหตุให้ ถ. ได้รับบาดเจ็บสาหัสถือได้ว่าจำเลยขับรถโดยประมาท ส่วนที่ ถ. ขับรถโดยประมาทด้วย ก็หาทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นการกระทำโดยประมาทกลับเป็นไม่ประมาทไปได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยอาคาร
โจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารพิพาทให้ผิดไปจากแบบ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43 ที่ให้อำนาจไว้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสาม รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมดังกล่าว และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่น สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินที่อาคารพิพาทตั้งอยู่จึงมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ จำเลยที่ 3 จะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย จึงมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน เมื่ออาคารพิพาทของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของข้อบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย จึงมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน เมื่ออาคารพิพาทของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของข้อบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมผิดแบบและการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยทางอาคาร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแบบซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43ให้อำนาจไว้ โจทก์มิได้ฟ้องคดีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่นสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารตั้งอยู่ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ ย่อมจะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัยมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัยมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้