คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความผิดซ้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดอาวุธปืนและเมทแอมเฟตามีน: ศาลยืนตามเดิม แม้ความผิดไม่เหมือนเดิม
การที่จำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตถือว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7 แล้ว เมื่อจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและไม่มีเหตุสมควร ทั้งไม่เป็นกรณีต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่ง แยกต่างหากจากกัน
ตาม ป.อ. มาตรา 92 บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ถ้าและได้กระทำความผิดใด ๆ อีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ก็ดี ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษก็ดี หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจำคุกก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง" บทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดว่า ความผิดครั้งหลังจะต้องเป็นความผิดเดียวกันกับความผิดครั้งแรก เมื่อจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ภายใน 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษในคดีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้ความผิดคดีนี้จะมิใช่ความผิดเดียวกันกับความผิดดังกล่าวก็อยู่ในเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญาซ้ำ หากกระทำผิดใหม่ภายใน 5 ปีหลังพ้นโทษ แม้ความผิดไม่เหมือนเดิม
ตาม ป.อ. มาตรา 92 ไม่ได้บัญญัติว่า ความผิดครั้งหลังจะต้องเป็นความผิดอย่างเดียวกันกับความผิดครั้งแรก เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนและฐานพาอาวุธปืนเป็นคดีนี้ภายใน 5 ปีนับแต่วันพ้นโทษในคดีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้ความผิดคดีนี้จะมิใช่ความผิดเดียวกันกับความผิดดังกล่าว ก็อยู่ในหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญา: วันพ้นโทษสำคัญกว่ากำหนดรอการลงโทษ
ตาม ป.อ. มาตรา 92 นั้นผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้จะต้องเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและได้กระทำความผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการ ลงโทษไว้ จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษเมื่อจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษเป็นสองเท่าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ต้องรอให้คดีก่อนถึงที่สุดแล้วเท่านั้น
การระวางโทษเป็นสองเท่าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 73 จะต้องปรากฏว่าบุคคลผู้นั้นได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ และพ้นโทษคดีก่อนมาแล้วยังไม่ครบห้าปีมากระทำความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวอีกซึ่งแสดงให้เห็นว่าขณะผู้นั้นกระทำความผิดในคดีหลังคดีก่อนจะต้องถึงที่สุดไปแล้ว จึงจะระวางโทษในคดีหลังเป็นสองเท่าได้ เมื่อคดีก่อนศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาลงโทษจำคุกและปรับ แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปีจำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยมากระทำความผิดคดีนี้ซ้ำอีก อันเป็นการกระทำความผิดในขณะที่คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด จึงระวางโทษจำเลยในคดีนี้เป็นสองเท่าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์จากการเลี้ยงกุ้งในเขตห้าม: ศาลใช้ดุลพินิจไม่ริบเพราะทรัพย์มิได้ใช้เพื่อความผิดซ้ำ
การเลี้ยงกุ้งกุลาดำมิใช่เป็นความผิดในตัวเองหากแต่จะมีความผิดเฉพาะเป็นการเข้าไปเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตที่มีคำสั่งห้ามเลี้ยงเท่านั้น จำเลยเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดในเขตที่มีคำสั่งห้ามเลี้ยงในช่วงระยะเวลาคาบเกี่ยวระยะเวลาที่ผ่อนผันให้เลี้ยง ฉะนั้น เครื่องสูบน้ำ ใบพัดพลาสติก และท่อเหล็กจึงมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดมาแต่เริ่มแรก หากแต่ใช้จนเลยกำหนดระยะเวลาผ่อนผันไปบ้างเท่านั้น ที่ศาลล่างใช้ดุลพินิจไม่ริบ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางโทษทวีคูณ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า: การพ้นโทษตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 113 มีเจตนารมณ์ที่จะลงโทษผู้ที่กลับมากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ซ้ำอีกภายในกำหนดห้าปีนับแต่พ้นโทษในการกระทำผิดครั้งก่อนให้หนักขึ้น โดยไม่ได้คำนึงว่าโทษที่ได้รับจากการกระทำผิดครั้งก่อนจะเป็นโทษชนิดใดเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดครั้งก่อนทั้งจำคุกและปรับ แต่มีการรอการลงโทษจำคุกไว้และจำเลยได้ชำระค่าปรับแล้วจึงถือได้ว่าจำเลยพ้นโทษในการกระทำผิดครั้งก่อนในวันชำระค่าปรับแล้ว จำเลยกลับมากระทำความผิดอีกภายในกำหนดเวลาห้าปี จึงต้องวางโทษจำเลยเป็นทวีคูณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นโทษปรับและการวางโทษทวีคูณในความผิดซ้ำเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
การปรับถือว่าเป็นโทษอย่างหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 18 (4) ดังนั้น แม้คดีก่อนศาลจะลงโทษจำคุกและรอการ ลงโทษให้จำเลย แต่ปรากฏว่าคดีนั้นศาลก็ได้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วย เมื่อมีการชำระค่าปรับครบถ้วน ในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว เมื่อพ้นโทษปรับมายังไม่ครบกำหนดห้าปี จำเลยกลับมากระทำผิดคดีนี้อีก จึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลยตามที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 113 บัญญัติไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นโทษปรับตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ถือเป็นการพ้นโทษตามกฎหมาย และมีผลในการเพิ่มโทษทวีคูณได้
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 113 บัญญัติว่า"บุคคลใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อีก ให้วางโทษทวีคูณ"ไม่ได้ระบุว่าการพ้นโทษจะต้องเป็นการพ้นโทษจำคุกอย่างเดียว การปรับก็ถือว่าเป็นโทษอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(4) ดังนั้นแม้คดีก่อนศาลจะลงโทษจำคุกและรอการลงโทษให้จำเลยแต่ปรากฏว่าคดีนั้นศาลก็ได้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วย เมื่อมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใดย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว เมื่อคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยเคยถูกศาลลงโทษปรับตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาแล้วและพ้นโทษปรับมายังไม่ครบ 5 ปี จำเลยกลับมากระทำความผิดคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เช่นเดียวกันจึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8877/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางโทษทวีคูณในความผิดเครื่องหมายการค้า การปรับถือเป็นโทษทางอาญา
การปรับเป็นโทษอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18(4) ดังนั้น เพียงแต่ได้รับโทษปรับก็ถือว่าต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 113 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษซ้ำจากความผิดเดิม: โทษปรับถือเป็นโทษ, ระยะเวลาคำนวณจากวันชำระค่าปรับ
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 113 ได้กำหนดเรื่องการเพิ่มโทษไว้โดยเฉพาะในกรณีที่จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษมาไม่ครบกำหนดห้าปี โดยไม่ได้ระบุว่าจะต้องเคยต้องโทษจำคุก การปรับก็ถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง ดังนี้เมื่อศาลลงโทษปรับจำเลยและมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว การที่จำเลยเคยกระทำความผิดในข้อหาเดียวกันนี้ และศาลได้พิพากษาลงโทษปรับจำเลย และจำเลยมากระทำความผิดในคดีนี้ เมื่อจำเลยพ้นโทษมาแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี จึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลย ตามมาตรา 113 ดังกล่าว
of 8