พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท-สิทธิฟ้องระงับ: คดีปุ๋ยเคมีปลอมซ้ำซ้อน
ปุ๋ยเคมีปลอมที่จำเลยผลิตในคดีก่อนกับคดีนี้จำนวนเดียวกันวันเวลาที่จำเลยขายปุ๋ยเคมีปลอมอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันและผู้ที่ซื้อปุ๋ยเคมีปลอมจากจำเลยก็เป็นบุคคลคนเดียวกัน คือผู้เสียหายในคดีนี้ ถือได้ว่าการกระทำความผิดของจำเลยฐานขายปุ๋ยเคมีปลอมตามฟ้องในคดีก่อนตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518มาตรา 30,32,62,71,72 กับการกระทำความผิดของจำเลยฐานฉ้อโกงโดยการหลอกลวงขายปุ๋ยเคมีปลอมให้ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ตามฟ้องในคดีนี้ เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษจำเลยฐานขายปุ๋ยเคมีปลอมตามฟ้องในคดีก่อนแล้ว แม้คดีนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ก็ถือได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดซ้ำซ้อนใน พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า: แยกกระทง vs. รวมกรรม
ความผิดฐานมีซากสัตว์ป่าสงวนไว้ในความครอบครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 มาตรา 14 และ มาตรา 38 กับฐานมีไว้ในครอบครองและค้าซึ่งซากสัตว์อื่น ซึ่งเป็นซากสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามมาตรา 16 และมาตรา 40 กฎหมายแยกไว้คนละมาตราเป็นคนละฐานความผิด แสดงว่าเป็นเจตนารมณ์ ของกฎหมายที่ต้องการแยกเป็นคนละความผิดต่างกระทงกัน การกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 ส่วนความผิดฐานค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง กับฐานมีไว้ในครอบครองและค้าสัตว์ป่าคุ้มครองเป็นความผิดตามมาตรา 15 และมาตรา 40บทมาตราเดียวกัน แสดงว่ากฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน เป็นวัตถุประเภทเดียวกัน ทั้งจำเลยกระทำผิดดังกล่าวในคราวเดียวกัน การกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นกรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ. มาตรา 90.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041-1046/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียว ความผิดซ้ำซ้อน การฟ้องร้องหลายสำนวน และการรอการลงโทษ
จำเลยทำผิดเป็นกรรมเดียว แต่โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยเป็น 5 สำนวน จึงแยกสำนวนลงโทษจำเลยเรียงไปแต่ละสำนวนมิได้ มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นว่าจำเลยทำผิดเพียงครั้งเดียว แต่ถูกลงโทษในความผิดอันเดียวกันนั้นซ้ำกันหลาย ๆ ครั้งได้
คดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษ 6 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รอการลงโทษ โจทก์ฎีกาขอมิให้รอการลงโทษจำเลย เป็นฎีกาในเรื่องดุลพินิจของศาล เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษ 6 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รอการลงโทษ โจทก์ฎีกาขอมิให้รอการลงโทษจำเลย เป็นฎีกาในเรื่องดุลพินิจของศาล เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาซ้ำซ้อน ความผิดคนละกระทงต่างวาระกัน และขอบเขตการฟ้องคดีอาญา
มีคนร้ายลักอาวุธปืนของผู้เสียหายไปตั้งแต่วันที่12 ต่อมาวันที่ 16 เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืน พนักงานอัยการโจทก์จึงฟ้องจำเลยฐานมีปืนไว้ในความครอบครองไม่รับอนุญาตเป็นคดีหนึ่ง แล้วฟ้องฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรอีกคดีหนึ่ง ดังนี้เห็นได้ว่าการกระทำผิดฐานมีอาวุธปืนนั้น จำเลยย่อมจะได้กระทำผิดนับแต่วาระแรกที่ได้ปืนนั้นมาไว้ในครอบครอง และเป็นความผิดอยู่เรื่อยไปจนกระทั่งจำเลยถูกจับได้พร้อมอาวุธปืน ส่วนความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรนั้น เป็นความผิดในขณะใดขณะหนึ่งตามที่โจทก์กล่าวหา ฉะนั้น การกระทำผิดของจำเลยที่โจทก์กล่าวหาทั้งสองคดีจึงอาจเป็นความผิดคนละกระทงต่างกรรมต่างวาระกันได้ ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2507
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2507
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12362/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวเบิกความเท็จต่อศาล: การพิจารณาความผิดซ้ำซ้อนและการลดโทษ
การที่จำเลยเบิกความสองครั้งในคดีเดียวกัน คือ ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณา แม้จะเป็นการเบิกความคนละคราว แต่ก็เป็นการนำสาระสำคัญของข้อความในเรื่องเดียวกัน มูลเหตุเดียวกันมากล่าวอีกครั้งโดยมีเจตนาให้โจทก์ต้องโทษในคดีเดียวกันเท่านั้น จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10911/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานนำเข้าของต้องห้ามโดยไม่เสียภาษี: การฟ้องซ้ำซ้อนและการคุ้มกันตามกฎหมายศุลกากร
การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันโดยเป็นการร่วมกันนำหรือพาเอาของต้องห้ามต้องจำกัดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรและค่าภาษีศุลกากร และร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งของต้องห้ามต้องจำกัดดังกล่าวอันเป็นของจำนวนเดียวกัน โดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงค่าอากร ซึ่งโจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองหลายกรรมต่างกันในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ นั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยทั้งสองรับสารภาพนั้นมีลักษณะเป็นการกระทำผิดต่อเนื่องกันในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองกรณีนี้เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 หรือ มาตรา 27 ทวิ เพียงฐานใดฐานหนึ่งเท่านั้น โดยสภาพของการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน กรณีไม่อาจเป็นความผิดทั้งสองฐานซึ่งเป็นความผิดสองกระทง เมื่อปรากฏว่าคำสั่งงดการฟ้องร้องของอธิบดีกรมศุลกากรมีผลเป็นการคุ้มกันจำเลยทั้งสองที่จะถูกฟ้องร้องในกรณีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ ดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว และกรณีเป็นเรื่องจำเลยทั้งสองกระทำความผิดในคราวเดียวกัน โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10347/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนเป็นกรรมเดียว ศาลฎีกายกประเด็นความผิดซ้ำซ้อนแม้ไม่มีการฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าอาวุธปืนลูกซองเดี่ยวเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนซึ่งใช้ในราชการของกระทรวงมหาดไทยอันเป็นหน่วยราชการและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน บทมาตราที่บัญญัติให้เป็นความผิดก็เป็นบทมาตราเดียวกัน วัตถุที่ต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน กฎหมายถือว่าเป็นวัตถุประเภทเดียวกัน การที่จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ในขณะเดียวกันจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนอีกกรรมหนึ่งตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสอง ไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติที่แก้ไขเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน บทมาตราที่บัญญัติให้เป็นความผิดก็เป็นบทมาตราเดียวกัน วัตถุที่ต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน กฎหมายถือว่าเป็นวัตถุประเภทเดียวกัน การที่จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ในขณะเดียวกันจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนอีกกรรมหนึ่งตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสอง ไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติที่แก้ไขเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเบิกความเท็จซ้ำซ้อน สิทธิฟ้องระงับหากเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดเดียวกัน
จำเลยทั้งสองเบิกความเท็จโดยมีเจตนาเพียงอย่างเดียวเพื่อให้ศาลเชื่อถึงที่มาของที่ดินทั้งสองแปลงอันเป็นเหตุที่มูลนิธิสีมาสงเคราะห์ควรจะได้กรรมสิทธิ์ แม้การเบิกความของจำเลยทั้งสองจะทำให้ทั้งโจทก์และสมาคมกำเนิดมิตรเจริญสงเคราะห์ได้รับความเสียหาย แต่ก็เป็นการกระทำเพียงกรรมเดียวซึ่งควรที่จะต้องถูกดำเนินคดีหรือถูกลงโทษเพียงครั้งเดียว เมื่อสมาคมกำเนิดมิตรเจริญสงเคราะห์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับคำเบิกความดังกล่าวว่าเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว ย่อมถือว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไป