พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: ข้อจำกัดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด เมื่อไม่ใช่ความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 3 ให้คำนิยามไว้ว่า หมายความว่าการผลิตนำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดและให้หมายความรวมถึง การสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย ไม่ได้รวมถึงการมียาเสพติดไว้ในครอบครอง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามมาตรา 30 และ 31 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3000/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดของคนต่างด้าวที่เร่ขายสินค้าซึ่งเป็นงานที่ห้ามโดยกฎหมาย และอำนาจการริบของกลาง
ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 ประกอบพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำพ.ศ. 2522 บัญญัติให้งานเร่ขายสินค้าเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำเป็นการค้าหรือหารายได้โดยเด็ดขาดในทุกท้องที่ในราชอาณาจักรจำเลยจึงไม่มีทางที่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพเร่ขายสินค้าได้เลยถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดเพราะฝ่าฝืนกฎหมายที่กำหนดไว้ในตัวไม่ใช่เป็นการกระทำความผิดเพราะไม่ได้รับอนุญาต แผ่นพลาสติกสำหรับปูโต๊ะของกลางที่จำเลยเร่ขาย จึงเป็นของที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ศาลมีอำนาจสั่งให้รับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้หวงห้าม จำเลยต้องพิสูจน์ที่มา หากพิสูจน์ไม่ได้ถือว่าผิดตามกฎหมาย
โจทก์นำสืบได้ว่าเจ้าพนักงานจับไม้หวงห้ามประเภท ก.กับประเภทข. ได้จากจำเลย จำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 84(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 12 โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยรู้อยู่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้หวงห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ของผู้ครอบครองไม้แปรรูป: ไม้ที่ใช้สร้างบ้านเกิน 2 ปี ไม่เป็นความผิด
ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4(4) ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 4 บัญญัติให้ผู้ครอบครองมีหน้าที่พิสูจน์ว่า ไม้ในความครอบครองนั้นไม่เป็นไม้แปรรูปก็ตาม ในเรื่องนี้โจทก์ฎีกาได้แต่ข้อกฎหมาย เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงจากพยานโจทก์ว่า ไม้นั้นไม่เป็นไม้แปรรูปแล้ว ไม้ของกลางที่มีไว้ก็ไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย จำเลยก็ไม่จำต้องนำสืบพิสูจน์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายบุหรี่โดยไม่ได้รับอนุญาตและราคาสูงกว่ากำหนด: จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ยาสูบ หากไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นผู้จำหน่าย
ฟ้องว่าจำเลยจำหน่ายบุหรี่โดยไม่ได้รับอนุญาตและเกินราคาที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนด ดังนี้ คดีไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติยาสูบ มาตรา 19, และ 40 เพราะไม่ได้ระบุว่าจำเลยเป็นผู้จำหน่ายยาสูบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาและ พ.ร.บ.สมาคมฯ ต้องมีรายละเอียดการกระทำความผิดชัดเจน และการกระทำต้องเข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 23 กับพวกอีก 2 คน ทำหนังสือขอให้โจทก์ที่ 1 ในฐานะนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเสริมมิตรเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการสมาคมชุดใหม่ โดยร่วมกันลงลายมือชื่อในหนังสือดังกล่าวในฐานะสมาชิกสามัญของสมาคม ทั้งๆ ที่บุคคลที่ลงลายมือชื่อในหนังสือขอให้เรียกประชุมและผู้เข้าร่วมประชุมใหญ่บางคนมิได้เป็นสมาชิกสามัญของสมาคม แล้วนำเอกสารที่เกี่ยวข้องไปขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมต่อนายทะเบียน แต่เมื่อหนังสือขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญเป็นเอกสารที่จำเลยที่ 1 ถึง 23 กับพวกได้จัดทำขึ้นเองและลงลายมือชื่อของตนเอง นอกจากนั้นบัญชีรายชื่อร่วมการประชุมใหญ่วิสามัญก็มีผู้เข้าร่วมประชุมลงลายมือชื่อของตนเอง กรณีจึงเป็นการที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งแปดสิบสามได้ร่วมกันจัดทำเอกสารที่มีข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับฐานะของผู้จัดทำหนังสือขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญและผู้เข้าร่วมประชุมว่าเป็นสมาชิกสามัญ โดยที่บางคนมิได้เป็นสมาชิกสามัญ ซึ่งอาจมีผลให้การประชุมใหญ่วิสามัญของสมาคมไม่ชอบด้วยข้อบังคับของสมาคมเท่านั้น หาใช่เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ ทั้งมิใช่การลงลายมือชื่อปลอมหรือประทับตราปลอมลงในเอกสาร เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง นอกจากนี้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยที่ 39 ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องในทะเบียนสมาชิกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเสริมมิตรวิทยา อันเป็นการรับรองเอกสารที่มีข้อความเป็นเท็จโดยไม่มีต้นฉบับอยู่จริงนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสี่กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 39 มีหน้าที่รักษาการแทนนายทะเบียนสมาคม มีหน้าที่รับและจำหน่ายสมาชิก รักษาทำเนียบกับทำทะเบียนต่างๆ ของสมาคม ดังนั้นแม้จำเลยที่ 39 จัดทำทะเบียนสมาชิกของสมาคมอันเป็นความเท็จเพราะมีบุคคลจำนวนหนึ่งที่มิได้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์หรือสมาชิกสามัญมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนของสมาคม ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสี่กล่าวหาว่าจำเลยที่ 39 ซึ่งมีหน้าที่จัดทำทะเบียนสมาชิกของสมาคม ได้จัดทำและรับรองเอกสารอันมีข้อความเป็นเท็จเช่นกัน หาใช่เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ทั้งมิใช่การลงลายมือชื่อปลอมหรือประทับตราปลอมลงในเอกสาร เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงไม่
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยทั้งแปดสิบสาม ในความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้ระบุรายละเอียดในฟ้องว่า จำเลยทั้งแปดสิบสามได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าอย่างไร และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการหรือเอกสารมหาชนว่าอย่างไร เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยทั้งแปดสิบสามอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานแจ้งความเท็จและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการหรือเอกสารมหาชน จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ศาลจึงต้องยกฟ้องตามมาตรา 161
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยทั้งแปดสิบสาม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 49, 50, "และ 51 ซึ่งบทบัญญัติแห่งมาตรา 49 เป็นกรณีที่ผู้กระทำผิดใช้ชื่อซึ่งมีอักษรไทยประกอบคำว่า สมาคม"ในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจโดยมิได้เป็นสมาคม เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดสิบสามร่วมกันกระทำการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเสริมมิตรวิทยา โดยกระทำการในนามสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเสริมมิตรซึ่งเป็นสมาคมตาม ป.พ.พ. การกระทำของจำเลยทั้งแปดสิบสามย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 49 และเมื่อสมาคมดังกล่าวเป็นสมาคมตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยทั้งแปดสิบสามจึงไม่เป็นการกระทำให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่าเป็นสมาคมที่ได้จดทะเบียนตาม ป.พ.พ. การกระทำของจำเลยทั้งแปดสิบสามจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 50 และ 51
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยทั้งแปดสิบสาม ในความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้ระบุรายละเอียดในฟ้องว่า จำเลยทั้งแปดสิบสามได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าอย่างไร และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการหรือเอกสารมหาชนว่าอย่างไร เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยทั้งแปดสิบสามอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานแจ้งความเท็จและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการหรือเอกสารมหาชน จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ศาลจึงต้องยกฟ้องตามมาตรา 161
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยทั้งแปดสิบสาม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 49, 50, "และ 51 ซึ่งบทบัญญัติแห่งมาตรา 49 เป็นกรณีที่ผู้กระทำผิดใช้ชื่อซึ่งมีอักษรไทยประกอบคำว่า สมาคม"ในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจโดยมิได้เป็นสมาคม เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดสิบสามร่วมกันกระทำการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเสริมมิตรวิทยา โดยกระทำการในนามสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเสริมมิตรซึ่งเป็นสมาคมตาม ป.พ.พ. การกระทำของจำเลยทั้งแปดสิบสามย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 49 และเมื่อสมาคมดังกล่าวเป็นสมาคมตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยทั้งแปดสิบสามจึงไม่เป็นการกระทำให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่าเป็นสมาคมที่ได้จดทะเบียนตาม ป.พ.พ. การกระทำของจำเลยทั้งแปดสิบสามจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 50 และ 51