พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีอาญา ต้องพิจารณาพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายอย่างละเอียด ไม่ใช่เพียงความขัดแย้งของพยานหลักฐาน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองที่บัญญัติว่า "เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย" หมายความว่า เมื่อศาลชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงในคดีตามที่โจทก์และจำเลยต่างนำสืบแล้ว เห็นได้ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้โดยปราศจากความสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลจึงจะยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยมิใช่แต่เพียงว่าเมื่อข้อเท็จจริงตาม พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแตกต่างหรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริงตาม พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบต่อสู้แล้ว จะให้รับฟังเลยว่าพยานหลักฐาน ของโจทก์มีเหตุสงสัยแล้วยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยเสียทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างบทมาตราผิดพลาดในฟ้องอาญา ศาลปรับบทลงโทษตามความผิดที่สืบได้ตามฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์โดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด และการพาทรัพย์นั้นไป ซึ่งเข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ทวิ แต่โจทก์กลับอ้างบทมาตรา 336 ซึ่งเป็นบทมาตราที่เกี่ยวกับความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ไม่เกี่ยวกับฐานความผิดที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์อ้างบทมาตรา 336 ทวิ ผิดพลาดไป เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้สมตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐาน ความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาต้องวินิจฉัยประเด็นความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัย ถือเป็นการไม่ชอบ
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย แม้จำเลยจะอุทธรณ์เพียงขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลดโทษแก่จำเลย โดยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3ก็ต้องวินิจฉัยดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสองเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษาโดยมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญา ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ประเด็นนั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย แม้จำเลยจะอุทธรณ์ขอให้ศาลลดโทษให้เพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยปัญหาว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่อีกครั้งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วพิพากษายืน ปัญหาดังกล่าวจึงจะถึงที่สุดเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันทำร้ายร่างกายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้ไม่ใช่ความผิดตามฟ้อง ศาลลงโทษได้ตามความผิดที่พิจารณาได้
การที่จำเลยทั้งสองชวนและพาผู้เสียหายออกไปจากเวทีรำวงเมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยที่ 1 ร้องบอกให้พวกของจำเลยทั้งสองที่รอคอยอยู่ก่อนเข้าทำร้ายผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยทั้งสองกับพวกคบคิดวางแผนนัดหมายกันไว้ก่อน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้ทางพิจารณาปรากฏว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดเพียงฐานทำร้ายผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายตามฟ้อง แต่ก็ถือว่าเป็นความผิดที่รวมอยู่ในลักษณะเดียวกัน แม้มิใช่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง และมิใช่มาตราที่โจทก์ขอให้ลงโทษ ศาลก็ลงโทษจำเลยทั้งสองตามที่พิจารณาได้ความได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5114/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การรับสารภาพต้องชัดเจนถึงการกระทำความผิด หากไม่ชัดเจนและโจทก์ไม่สืบพยาน ศาลยกฟ้องได้
คำให้การของจำเลยที่ยื่นต่อศาลมีความว่า "จำเลยได้มาอาศัยอยู่กับ ม.ซึ่งหลบหนีไปแล้ว วันเกิดเหตุผู้เสียหายมาสมัครไปทำงานต่างประเทศกับ ม. ม.ให้จำเลยเขียนใบรับเงินให้เนื่องจากเห็นว่าจำเลยมีความรู้และขณะนั้นเสมียนไม่มาทำงาน แล้วผู้เสียหายมอบเงินให้ ม.จำเลยไม่รู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด แต่เมื่อเป็นความผิดจำเลยก็รับสารภาพ.........." ดังนี้ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นคำให้การที่รับสารภาพว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องเมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน จึงลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมปลอมแปลงเอกสาร แม้ไม่ได้ลงมือเอง หากมีเจตนาและร่วมกระทำถือเป็นความผิดตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้ จ้าง วานผู้อื่นให้ปลอมเอกสารแล้วจำเลยได้นำเอกสารปลอมนั้นไปใช้ ขอให้ลงโทษ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยมิได้ปลอมเอกสารด้วยมือจำเลยเอง แต่ก็ได้ร่วมกระทำโดยจัดให้ผู้อื่นกับพวกปลอมเอกสารขึ้น แล้วจำเลยนำเอกสารนั้นไปใช้ ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ถึงกับจะต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการนำสืบพยานในคดีอาญา: การสมคบคิดกับผู้รับสารภาพและความเชื่อมโยงกับความผิดตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดอาญา จำเลยคนหนึ่งรับสารภาพ แต่อีกคนหนึ่งปฏิเสธโจทก์จะขอสืบพะยานว่าจำเลยคนที่ปฏิเสธได้สมคบกับจำเลยที่รับสารภาพกระทำความผิดอาญานั้นก็ได้ ฉะเพาะในความหมายของการสมคบในนัยที่ว่า จำเลยนั้นได้ลงมือกระทำผิดตามฟ้องนั้นเอง เพราะคำว่าสมคบนั้นเป็นคำที่มีความหมายกว้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8261/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้องในความผิดตามฟ้อง ทั้งหมด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยข้อหาร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288, 80, 83 กับร่วมกันมีอาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาด โดยไม่มีหมายเลขทะเบียนและมีกระสุนปืนไม่ทราบชนิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 86 ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 86 เสียด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 288, 80, 83 และข้อหาร่วมกันมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและมีกระสุนปืนไม่ทราบชนิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220