คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการต้องเป็นการปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ การปลอมเอกสารไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จำเลยมีหน้าที่รายงานและให้ความเห็นในการขอลาออกของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ แต่จำเลยไม่มีหน้าที่ในการทำหนังสือขอลาออก จำเลยปลอมหนังสือขอลาออกของผู้เสียหายและใช้เอกสารปลอมดังกล่าว จึงไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าเป็นผู้ปลอมหนังสือขอลาออกและใช้หนังสือขอลาออกปลอมเท่านั้น ในส่วนที่จำเลยรับรองการลาออกเท็จนั้นโจทก์มิได้ฟ้อง แม้ทางพิจารณาจะได้ความเช่นนั้น ก็เป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องศาลจึงมิอาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3163/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุเบียดบังเงินค่าเช่ารายการ ถือเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2533 ไม่ได้บัญญัติให้สถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรเป็นส่วนราชการของกรมส่งเสริมการเกษตรแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8วิทยุการเกษตรตามคำสั่งแต่งตั้งของอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรมิใช่ถูกแต่งตั้งอย่างข้าราชการไม่มีการสอบคัดเลือกและไม่ต้องรับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) การถอดถอนหรือให้ออกจากตำแหน่งก็เป็นไปตามที่อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเห็นสมควร ดังนี้ ฐานะของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ดำเนินงานของสถานีวิทยุปชส.8 วิทยุการเกษตร ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร จำเลยที่ 1จึงไม่ใช่เจ้าพนักงาน โจทก์ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 รวมอยู่ด้วย ทั้งความผิดตามมาตรา 353 ก็มีโทษเบากว่าความผิดตามมาตรา 151 และ 157ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และหากทางพิจารณาได้ข้อเท็จจริงเช่นนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 353 หรือไม่ ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลการจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตนำเอาเวลาออกอากาศให้บ.เช่าจัดรายการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรและเบียดบังเอาเงินค่าเช่าจาก บ.ไปเป็นของตนโดยไม่นำเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของสถานีวิทยุดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้รับมอบหมายและมิได้มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 แต่ได้ช่วยเหลือและให้ความสะดวกก่อนและขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 และการกระทำของจำเลยที่ 2เป็นความผิดตามมาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินค่าบำรุงฌาปนสถาน ไม่เข้าข่ายความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ แต่เป็นความผิดฐานยักยอก และคดีขาดอายุความ
เงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวเป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานกรมตำรวจมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นเงินสวัสดิการต่อกรมตำรวจ มิใช่เงินของทางราชการ หรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษา จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 คงมีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและการขาดอายุความของความผิดอันยอมความได้
ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานเบียดบังเอาไว้เป็นของตนหรือของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษา แต่เมื่อเงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวเป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นสวัสดิการต่อกรมตำรวจ หาใช่เงินของทางราชการหรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาแต่อย่างใดไม่ จึงลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 ไม่ได้ แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ เมื่อผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญาฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ และการพิพากษาจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องสำหรับจำเลยที่ 5 ว่า ระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม 2521 เวลาใดไม่ปรากฏชัดถึงวันที่ 26 ตุลาคม 2521 เวลากลางวันจำเลยที่ 5 และที่ 8 กับพวกอีกหลายคนซึ่งบางคนถึงแก่กรรมไปแล้วได้ร่วมกันช่วยเหลือให้ความสะดวกในการที่เจ้าพนักงานได้ร่วมกันดำเนินการให้จำเลยที่ 8 ได้มีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ ในนามของนางสาว นภาพร บุญมา ซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริง และเป็นความผิดโดยจำเลยที่ 5 และที่ 8 กับพวกได้ร่วมกันจ้าง หรือวาน หรือมิฉะนั้นก็ได้ใช้ให้จำเลยที่ 1 กับที่ 4 ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 5 กับพวกเป็นผู้สนับสนุนจำเลยอื่นซึ่งเป็นเจ้าพนักงานให้ดำเนินการให้จำเลยที่ 8 ได้มีบัตรประจำตัวประชาชนในนามของผู้อื่น แม้ในตอนหลังจะบรรยายว่าจำเลยที่ 5 กับพวกได้ร่วมกันจ้าง หรือวาน หรือใช้ให้จำเลยอื่นกระทำผิดตามฟ้องก็หาได้ขัดแย้งกันเองไม่ เพราะแม้ว่าทางพิจารณาจะได้ความทางใดทางหนึ่ง จำเลยที่ 5 ก็ย่อมมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เช่นเดียวกัน ส่วนการที่จำเลยที่ 5 ได้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยอื่นซึ่งเป็นเจ้าพนักงานคนใดและอย่างใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณา หาจำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้องไม่ ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่อลดหย่อนภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
กรุงเทพมหานครได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ระดับ 3 ขึ้นไปและเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ระดับ 4 ขึ้นไปเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บภาษีตามพ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ จำเลยเป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ 3 งานรายได้ โดยมีหน้าที่ รับแบบตรวจสอบรายการ สถานที่ กำหนดค่ารายปีเสนอหัวหน้างานพิจารณาสั่งการตามคำสั่งหัวหน้าเขต จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดำเนินการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ ตามคำสั่งกรุงเทพมหานครหรือไม่ มิใช่สาระสำคัญ การที่จำเลยเรียกเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะทำให้ผู้เสียหายเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินน้อยกว่าที่ควรจะต้องเสีย จึงเป็นการกระทำเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจหน้าที่กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148, 157, 162
จำเลยได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานด้านธุรการไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร์และงานบัตรประจำตัวประชาชนเมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยกระทำมิชอบเกี่ยวกับงานด้านทะเบียนราษฎร์และงานบัตรประจำตัวประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148,157 และ 162 จำเลยจึงไม่อาจกระทำความผิดตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 เป็นของผู้เสียหายโดยนิตินัยเท่านั้น
การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าพนักงานของรัฐและทรัพย์หรือเอกสารใดซึ่งเป็นของทางราชการหรือของรัฐนั้นอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นที่จะปกครองหรือรักษาไว้ถูกทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงและนับว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย หากโจทก์ซึ่งเป็นราษฎรจะได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยก็เป็นเพียงผู้เสียหายโดยพฤตินัย มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ (มาตรา 158) เป็นของผู้เสียหายโดยนิตินัย (รัฐ) ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยพฤตินัย (ประชาชน)
การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าพนักงานของรัฐและทรัพย์หรือเอกสารใดซึ่งเป็นของทางราชการหรือของรัฐนั้น อยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นที่จะปกครองหรือรักษาไว้ถูกทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงและนับว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย หากโจทก์ซึ่งเป็นราษฎรจะได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยก็เป็นเพียงผู้เสียหายโดยพฤตินัย มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ – ผู้สนับสนุน – ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
การที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 10 มีเจตนาทุจริตมาแต่แรกร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ทำบัญชีรายชื่อผู้รับจ้างและหลักฐานการเบิกจ่ายค่าแรงค่าควบคุมงาน และกรอกข้อความรับรองชื่อผู้รับจ้างขุดดินและผู้ควบคุมงานตามโครงการต่อเติมสร้างทำนบดินของตำบลเป็นเท็จและเบิกเงินจากทางราชการมากกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายให้แก่ราษฎรที่ทำงาน และควบคุมงาน แล้วเบียดบังเอาเป็นของตนและของผู้อื่นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบและโดยทุจริตจำเลยที่ 5 ถึงที่ 10 ต้องมีความผิดและโดยที่จำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ใหญ่บ้านมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสภาตำบลโดยตำแหน่ง ซึ่งต้องรับผิดชอบร่วมกันกับคณะกรรมการสภาตำบลในการดำเนินการตามโครงการสร้างงานในชนบทตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการสร้างงานในชนบท พ.ศ. 2524 ข้อ 24 การที่จำเลยที่ 5 ที่ 6 ปฏิบัติหน้าที่ไปตามระเบียบดังกล่าวย่อมถือได้ว่าปฏิบัติงานในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ส่วนจำเลยที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาตำบลที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้นมาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515ไม่ได้ระบุให้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการสร้างงานในชนบท พ.ศ. 2524 จะกำหนดให้ต้องรับผิดชอบร่วมกันกับคณะกรรมการสภาตำบลก็หาให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายไม่จำเลยที่ 10 เป็นราษฎรเป็นกรรมการควบคุมงานต่อเติมทำนบดังกล่าวที่สภาตำบลแต่งตั้งกันขึ้นมาเองไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย ดังนั้นจำเลยที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจึงต้องมีความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่วนจำเลยที่ 7 ถึงที่ 10 มิได้เป็นเจ้าพนักงานจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดของจำเลยอื่นเท่านั้น.
of 3