พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2200/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญาจากการไม่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สิน: ความผิดธรรมดา ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคเสรีธรรมแล้ว เป็นผลให้สมาชิกภาพของจำเลยและตำแหน่งกรรมการสาขาพรรคของจำเลยสิ้นสุดลงในวันที่ 6 กันยายน 2544 และจำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งกรรมการในพรรคการเมืองตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง แต่จนถึงวันฟ้องวันที่ 30 ตุลาคม 2545 จำเลยก็ยังมิได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตนคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำเลยจึงมีความผิดเมื่อพ้นกำหนด 30 วันดังกล่าว คือ มีความผิดตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2544 ซึ่งมีบทลงโทษตามมาตรา 84 ระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 500 บาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง และระวางโทษดังกล่าวมีอายุความเพียง 1 ปี ตามอายุความคดีอาญาทั่วไปใน ป.อ. มาตรา 95 วรรคหนึ่ง (5)
จำเลยมิได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ภายในวันที่ 6 ตุลาคม 2544 จำเลยจึงมีความผิดตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2544 การกระทำโดยการงดเว้นและเจตนามิได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิ้น สำเร็จเป็นความผิด เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่กำหนด เป็นความผิดธรรมดาที่เกิดจากการกระทำครั้งเดียว กฎหมายมิได้บัญญัติให้แม้ภายหลังจากนั้นก็ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอยู่ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่ความผิดต่อเนื่อง ส่วนการที่จำเลยยังคงมิได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อมาถึงวันฟ้องเป็นเพียงผลของการกระทำโดยการงดเว้นดังกล่าวเท่านั้น ส่วนที่ความผิดดังกล่าวมีระวางโทษให้ปรับเป็นรายวันต่อไปอีกตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องนั้นเป็นเพียงบทกำหนดโทษ เป็นบทบังคับคดีให้ผู้กระทำความผิดยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อนายทะเบียนพรรคให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยเร็ว เมื่อมิใช่ความผิดต่อเนื่องอายุความจึงเริ่มนับแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2544 ที่จำเลยมีความผิด โจทก์ฟ้องจำเลยวันที่ 30 ตุลาคม 2545 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
จำเลยมิได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ภายในวันที่ 6 ตุลาคม 2544 จำเลยจึงมีความผิดตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2544 การกระทำโดยการงดเว้นและเจตนามิได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิ้น สำเร็จเป็นความผิด เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่กำหนด เป็นความผิดธรรมดาที่เกิดจากการกระทำครั้งเดียว กฎหมายมิได้บัญญัติให้แม้ภายหลังจากนั้นก็ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอยู่ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่ความผิดต่อเนื่อง ส่วนการที่จำเลยยังคงมิได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อมาถึงวันฟ้องเป็นเพียงผลของการกระทำโดยการงดเว้นดังกล่าวเท่านั้น ส่วนที่ความผิดดังกล่าวมีระวางโทษให้ปรับเป็นรายวันต่อไปอีกตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องนั้นเป็นเพียงบทกำหนดโทษ เป็นบทบังคับคดีให้ผู้กระทำความผิดยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อนายทะเบียนพรรคให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยเร็ว เมื่อมิใช่ความผิดต่อเนื่องอายุความจึงเริ่มนับแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2544 ที่จำเลยมีความผิด โจทก์ฟ้องจำเลยวันที่ 30 ตุลาคม 2545 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์และการกระทำผิดต่อเนื่อง: ศาลฎีกาตัดสินว่าการยิงเกิดขึ้นหลังจากขาดตอนจากเหตุปล้นทรัพย์ จึงไม่ผิดตามมาตรา 340 วรรคสาม
คำให้การในชั้นสอบสวนของ ส. และ ช. แม้จะมีลักษณะเป็นคำซัดทอดในระหว่างผู้ต้องหาด้วยกัน แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำให้การเช่นว่านี้เสียทีเดียว หากการซัดทอดมีเหตุผลรับฟังได้ศาลก็มีอำนาจรับฟังประกอบการพิจารณาได้ ทั้งคำให้การดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่ามีเหตุจูงใจว่าให้การเพื่อให้ตนพ้นความผิดหรือได้รับประโยชน์แต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังคำให้การของ ส. และ ช. ประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นคนร้ายร่วมกับพวกในการปล้นทรัพย์ แต่ผู้เสียหายและผู้ตายมิได้ถูกยิงในขณะจำเลยกับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ แต่ถูกยิงขณะจำเลยกับพวกพาผู้เสียหายและผู้ตายไปห่างไกลจากที่เกิดเหตุปล้นทรัพย์ถึง 4 กิโลเมตรและอยู่ในท้องที่ต่างตำบลกับท้องที่เกิดเหตุปล้นทรัพย์ ดังนั้น การที่ผู้เสียหายและผู้ตายถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสและถึงแก่ความตาย จึงมิใช่เป็นผลจากการยิงต่อเนื่องกับการปล้นทรัพย์ การปล้นทรัพย์ได้ขาดตอนไปแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคท้าย ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นคนร้ายร่วมกับพวกในการปล้นทรัพย์ แต่ผู้เสียหายและผู้ตายมิได้ถูกยิงในขณะจำเลยกับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ แต่ถูกยิงขณะจำเลยกับพวกพาผู้เสียหายและผู้ตายไปห่างไกลจากที่เกิดเหตุปล้นทรัพย์ถึง 4 กิโลเมตรและอยู่ในท้องที่ต่างตำบลกับท้องที่เกิดเหตุปล้นทรัพย์ ดังนั้น การที่ผู้เสียหายและผู้ตายถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสและถึงแก่ความตาย จึงมิใช่เป็นผลจากการยิงต่อเนื่องกับการปล้นทรัพย์ การปล้นทรัพย์ได้ขาดตอนไปแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคท้าย ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดครองที่ดินสาธารณประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดต่อเนื่อง และไม่ขาดอายุความ
ความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินโดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมมีขึ้นตั้งแต่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองและยังคงมีอยู่ตลอดเวลาที่จำเลยครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์อยู่ เมื่อปรากฏว่า ขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ ดังนั้น แม้จำเลยจะครอบครองมานานเกิน 10 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน-กระทำอนาจาร: การกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียว
ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนผู้เสียหายไม่ได้กล่าวหาและเจ้าพนักงานตำรวจก็มิได้ตั้งข้อหาแก่จำเลยทั้งสองว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โดยพนักงานสอบสวนเพิ่งมาแจ้งข้อหานี้หลังจากเกิดเหตุแล้วหลายเดือน แต่ไม่ได้สอบปากคำผู้เสียหายหรือตรวจยึดได้อาวุธปืนของกลางแต่อย่างใดคงมีเพียงกระสุนปืนที่ผู้เสียหายนำมามอบให้หลังเกิดเหตุแล้วหลายวัน ซึ่งตามบัญชีของกลางกลับระบุว่ากระสุนปืนดังกล่าวจำเลยที่ 2 นำมามอบให้ผู้เสียหายในวันเกิดเหตุอันแตกต่างจากที่ผู้เสียหายเบิกความไว้ ทำให้น่าสงสัยว่าจำเลยทั้งสองมีและพาอาวุธปืนมายังที่เกิดเหตุจริงหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 1 ที่ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง และเมื่อเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยที่ 1 นำบันไดเหล็กแบบพับขาไปกางตั้งวางริมหน้าต่างชั้นบนบ้านผู้เสียหายและปีนไปเรียกผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายเปิดประตูออกมา จำเลยที่ 1 กอดอุ้มผู้เสียหายและกระทำอนาจารปลุกปล้ำผู้เสียหายที่บริเวณสนามหญ้าข้างหน้าบ้านพักผู้เสียหาย แม้สนามหญ้าดังกล่าวกับบ้านพักไม่มีรั้วล้อมรอบ และไม่มีเครื่องหมายแสดงให้ทราบว่าเป็นแนวเขตของบ้านพักก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าบริเวณดังกล่าวอยู่ข้างหน้าบ้านพักซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายในเวลากลางคืนอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุข และกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายอันเป็นการกระทำต่อเนื่องไม่ขาดตอนกัน จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด
จำเลยที่ 1 นำบันไดเหล็กแบบพับขาไปกางตั้งวางริมหน้าต่างชั้นบนบ้านผู้เสียหายและปีนไปเรียกผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายเปิดประตูออกมา จำเลยที่ 1 กอดอุ้มผู้เสียหายและกระทำอนาจารปลุกปล้ำผู้เสียหายที่บริเวณสนามหญ้าข้างหน้าบ้านพักผู้เสียหาย แม้สนามหญ้าดังกล่าวกับบ้านพักไม่มีรั้วล้อมรอบ และไม่มีเครื่องหมายแสดงให้ทราบว่าเป็นแนวเขตของบ้านพักก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าบริเวณดังกล่าวอยู่ข้างหน้าบ้านพักซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายในเวลากลางคืนอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุข และกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายอันเป็นการกระทำต่อเนื่องไม่ขาดตอนกัน จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดต่อเนื่อง ข่มขืนฯ หน่วงเหนี่ยวกักขัง และการพิพากษาความผิดฐานกระทำอนาจาร
จำเลยกับพวกขึ้นไปบนบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แล้วจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านพาไปข่มขืนกระทำชำเรายังบ้านที่เกิดเหตุนั้นเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันไม่ขาดตอน และตามพฤติการณ์ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหายที่ 2 เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ซึ่งเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกร่วมกันพาหญิงไปเพื่ออนาจารและข่มขืนกระทำชำเรามิใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่หลังจากที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้ว จำเลยกับพวกใส่กลอนขังผู้เสียหายที่ 2 ไว้ในห้องนอนโดยมีพวกของจำเลยอยู่ข้างล่าง ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ไม่อาจหลบหนีไปได้ การกระทำของจำเลยกับพวกในส่วนหลังนี้จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 อีกกรรมหนึ่ง
จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านเพื่อพาไปข่มขืนกระทำชำเรา แต่การจับแขนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาเอาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปให้ได้เท่านั้น หาใช่มีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 ไม่และในระหว่างที่พาผู้เสียหายที่ 2 ไปนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้กระทำการอย่างไรบ้าง อันมีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านเพื่อพาไปข่มขืนกระทำชำเรา แต่การจับแขนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาเอาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปให้ได้เท่านั้น หาใช่มีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 ไม่และในระหว่างที่พาผู้เสียหายที่ 2 ไปนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้กระทำการอย่างไรบ้าง อันมีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท-การกระทำความผิดต่อเนื่อง-การริบยานพาหนะ-ความสงบเรียบร้อย
การกระทำของจำเลยที่ขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปยังที่เกิดเหตุและกระโดดลงจากรถเข้ามาชกท้องผู้เสียหายแล้วฉุดเข้าไปในป่า กอดปล้ำ เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมจำเลยจึงจับศีรษะผู้เสียหายโขกตอไม้ที่พื้น กดศีรษะลงพื้นและนำมีดปลายแหลมออกมาขู่ให้ผู้เสียหายถอดกางเกง แต่ผู้เสียหายหลอกให้จำเลยปล่อยก่อนแล้วถือโอกาสวิ่งหนีออกจากที่เกิดเหตุได้นั้น เป็นความผิดฐานกระทำอนาจารกับความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและฐานกระทำอนาจารนั้น จำเลยกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อจะกระทำชำเราผู้เสียหายเท่านั้น จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยใช้รถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปยังที่เกิดเหตุแล้วกระทำผิด รถจักรยานยนต์ดังกล่าวย่อมเป็นเพียงพาหนะที่ใช้พาไปยังที่เกิดเหตุไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรงจึงไม่อาจริบได้
จำเลยใช้รถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปยังที่เกิดเหตุแล้วกระทำผิด รถจักรยานยนต์ดังกล่าวย่อมเป็นเพียงพาหนะที่ใช้พาไปยังที่เกิดเหตุไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรงจึงไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3864/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมคดีอาญาที่ความผิดเกี่ยวพันต่อเนื่องกัน การนับโทษจำคุกที่เกินกำหนดตามกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า คดีนี้กับคดีก่อนมีลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวเกี่ยวพันกัน จำเลยและผู้เสียหายเป็นบุคคลคนเดียวกัน โจทก์จึงอาจจะฟ้องคดีทั้งสองสำนวนเป็นคดีเดียวกัน แต่ปรากฏว่าโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนโดยศาลชั้นต้นมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองทุกกรรมและจำคุกจำเลยทั้งสองมีกำหนด 20 ปีเต็มตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) ในคดีก่อนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจนำโทษของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ไปนับต่อกับโทษของจำเลยทั้งสองในคดีก่อนของศาลชั้นต้นได้ เพราะจะทำให้จำเลยทั้งสองต้องรับโทษจำคุกเกินกำหนดที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ในการลำเลียงยาเสพติด: ความผิดต่อเนื่องและทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
ความผิดฐานมี เมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15,67 เป็นความผิดที่เกิดขึ้นและมีอยู่ต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา นับตั้งแต่ได้เมทแอมเฟตามีนของกลางมาจนกระทั่งขนเคลื่อนย้ายไป การที่จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีน 245 เม็ด ที่ได้มาทั้งหมดไปซุกซ่อนไว้ที่ใต้พวงมาลัยรถยนต์ของกลางแล้วร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 นำรถยนต์ของกลางเคลื่อนที่ไปตามถนนหลวงล้วนเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นในขณะที่การกระทำความผิดยังต่อเนื่องไม่ขาดตอน ถือได้ว่ารถยนต์ของกลางที่นำมาใช้ลำเลียงเมทแอมเฟตามีนไป เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่โดยตรง โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้นำรถยนต์มาใช้ ด้วยการรู้เห็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์นั้นอยู่ จึงต้องริบรถยนต์ของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณะโดยเจตนา และอายุความความผิดต่อเนื่อง
ที่ดินที่จำเลยซื้อจาก พ. เป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีรูปแผนที่แสดงอาณาเขตและเขตติดต่อไว้อย่างชัดแจ้ง การซื้อขายได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมทราบเป็นอย่างดีว่าที่ดินที่ซื้อด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์มิใช่ที่รกร้างว่างเปล่าเมื่อจำเลยปลูกสร้างบ้านและอาคารโรงงานล้ำเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อจะยึดถือครอบครองทางสาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณารับฟังได้ว่าตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องจำเลยยังยึดถือครอบครองที่พิพาทอันเป็นความผิดอยู่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้หาใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันเป็นสาระสำคัญที่จะต้องพิพากษายกฟ้อง
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหลังจากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9(1)ประกอบมาตรา 108 ทวิ บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเป็นความผิดในทันทีที่เข้าไปยึดถือครอบครองโดยไม่จำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งและมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามเสียก่อน โจทก์ไม่ได้บรรยายข้อความดังกล่าวไว้ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยเริ่มเข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมาอันถือเป็นวันเริ่มต้นกระทำความผิดก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทตลอดมา จึงเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ทุกขณะ ตราบเท่าที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทอยู่ เมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิด คดีจึงไม่ขาดอายุความ
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณารับฟังได้ว่าตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องจำเลยยังยึดถือครอบครองที่พิพาทอันเป็นความผิดอยู่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้หาใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันเป็นสาระสำคัญที่จะต้องพิพากษายกฟ้อง
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหลังจากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9(1)ประกอบมาตรา 108 ทวิ บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเป็นความผิดในทันทีที่เข้าไปยึดถือครอบครองโดยไม่จำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งและมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามเสียก่อน โจทก์ไม่ได้บรรยายข้อความดังกล่าวไว้ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยเริ่มเข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมาอันถือเป็นวันเริ่มต้นกระทำความผิดก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทตลอดมา จึงเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ทุกขณะ ตราบเท่าที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทอยู่ เมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิด คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนคดีเช็ค: การกระทำความผิดต่อเนื่องในหลายท้องที่
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 การออกเช็คในท้องที่ใดย่อมถือได้ว่า การกระทำความผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่นั้นต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องในท้องที่อำเภอบางบาลซึ่งอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาล และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินในเขตท้องที่อำเภอพระนครศรีอยุธยาซึ่งอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาถือได้ว่าการกระทำความผิดคดีนี้ได้กระทำลงในอำเภอบางบาลต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลและสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาย่อมมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้ เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาล และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลทำการสอบสวนแล้ว คดีนี้จึงมีการสอบสวนโดยชอบ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องในท้องที่อำเภอบางบาลซึ่งอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาล และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินในเขตท้องที่อำเภอพระนครศรีอยุธยาซึ่งอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาถือได้ว่าการกระทำความผิดคดีนี้ได้กระทำลงในอำเภอบางบาลต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลและสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาย่อมมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้ เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาล และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลทำการสอบสวนแล้ว คดีนี้จึงมีการสอบสวนโดยชอบ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง