คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความผิดต่างกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7035/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานข่มขืนและฆ่าเพื่อปกปิดความผิด: ศาลฎีกาแก้ไขโทษฐานความผิดต่างกรรม
การกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรากับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน เป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่งได้ เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5664/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีอาวุธปืนและรับของโจรเป็นความผิดต่างกรรมกัน ต้องลงโทษทุกกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91
การมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครอง เป็นความผิดนับแต่วาระแรกที่จำเลยได้อาวุธปืนของกลางมาไว้ในครอบครอง และเป็นความผิดอยู่ตลอดเวลาเรื่อยไปจนกระทั่งจำเลยถูกจับได้พร้อมด้วยอาวุธปืนของกลาง ส่วนความผิดฐานรับของโจรที่จำเลยให้การรับสารภาพในคดีนี้นั้น เมื่อจำเลยรับของโจรอาวุธปืนของกลางในขณะใดขณะหนึ่งในระหว่างวันที่ 7 กันยายน 2547 เวลากลางวันถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 เวลากลางวัน ความผิดฐานรับของโจรอาวุธปืนของกลางจึงเป็นความผิดในขณะใดขณะหนึ่งและเป็นการกระทำความผิดซึ่งอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากความผิดฐานมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองได้การกระทำความผิดของจำเลยที่โจทก์กล่าวหาทั้งสองคดีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ซึ่งต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4610/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจารกับกระทำชำเรา เป็นความผิดต่างกรรมกัน
ความผิดฐานพรากผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหาย เพราะความผิดทั้งสองฐานมีเจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละเจตนาแตกต่างกัน และเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้จำเลยจะกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้เกี่ยวเนื่องกันไป การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 หาใช่เป็นการกระทำกรรมเดียว คือ พรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อกระทำชำเราโดยผู้เสียหายยินยอมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3218/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาต่างกันในการพรากเด็กและกระทำชำเรา ถือเป็นความผิดต่างกรรมกัน
การที่จำเลยพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร และได้กระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กหญิงนั้นยินยอม แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นการกระทำต่อเนื่องในวันเดียวกัน แต่จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาต่างกันคือ จำเลยมีเจตนาพรากเด็กหญิง อ. ไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารอันเป็นเจตนาที่กระทำต่อมารดาของเด็กหญิง อ. ส่วนที่จำเลยกระทำต่อเด็กหญิง อ. เป็นเจตนากระทำชำเราอันเป็นเจตนาต่างหากจากเจตนาพราก จึงมิใช่กระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยในแต่ละวันที่เกิดเหตุตามคำฟ้องจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ (ใบถอนเงินและสมุดคู่ฝาก) เป็นความผิดต่างกรรมกันได้ หากกระทำต่อผู้เสียหายต่างราย
จำเลยได้ปลอมใบถอนเงินเพื่อถอนเงินจากธนาคาร ก. ของผู้เสียหาย และใช้ใบถอนเงินดังกล่าวถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ จ. และ ส. ลูกค้าของธนาคาร ก. อันเป็นความผิดสำเร็จไปแล้ว ต่อมาจำเลยจึงได้กระทำการปลอมสมุดคู่ฝากที่ธนาคาร ก. ออกให้แก่ จ. และ ส. อันเป็นการกระทำเพื่อปกปิดความผิดฐานปลอมและใช้ใบถอนเงินปลอมของจำเลย ความผิดฐานปลอมและใช้สมุดคู่ฝากปลอมจึงเป็นการกระทำต่อ จ. และ ส. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้เสียหายคนละรายกับความผิดฐานปลอมและใช้ใบถอนเงินปลอม ดังนั้น ความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้ใบถอนเงินปลอมกับความผิดฐานปลอมและใช้สมุดคู่ฝากปลอมจึงเป็นความผิดต่างกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมเป็นความผิดต่างกรรมกัน หากกระทำต่อผู้เสียหายคนละราย
เมื่อระหว่างวันที่ 22 กันยายน 2535 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2538 จำเลยปลอมใบถอนเงินและใช้ใบถอนเงินดังกล่าวถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย รวม 20 ครั้ง อันเป็นความผิดสำเร็จไปแล้ว ต่อมาระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2537 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 จำเลยได้ปลอมโดยพิมพ์ข้อความในสมุดคู่ฝากที่ธนาคารออกให้แก่นาง บ. และนาย ส. เพื่อให้บุคคลทั้งสองหลงเชื่อว่าเป็นสมุดบัญชีเงินฝากที่แท้จริง และบุคคลทั้งสองมีเงินฝากอยู่ในบัญชีตรงตามจำนวนที่จำเลยทำขึ้น อันเป็นการกระทำเพื่อปกปิดความผิดฐานปลอมและใช้ใบถอนเงินปลอม จึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายคนละคนกัน เป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกความผิดฐานรับคนต่างด้าวเข้าทำงาน และช่วยเหลือซ่อนเร้น เป็นกรรมต่างกัน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ 2 ข้อ ข้อ ก. ว่า จำเลยรับคนต่างด้าวซึ่งลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และข้อ ข. ว่า ภายหลังการกระทำความผิดข้อ ก. จำเลยให้ที่พำนัก ช่วยซ่อนเร้น และช่วยเหลือด้วยประการใดๆ แก่คนต่างด้าวโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ตามฟ้องของโจทก์จึงสามารถแยกเจตนาของจำเลยในการกระทำความผิดตามฟ้องแต่ละข้อได้อย่างชัดเจน การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ ก. และ ข. จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็นสองกรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษให้ผิดไปจากที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีอาญา การรับสารภาพ และการฟ้องหลายคดีต่างกรรมต่างวาระ
การที่ศาลชั้นต้นนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลยเวลา 9 นาฬิกา แต่เลื่อนมาสอบในเวลา 13.30 นาฬิกา แม้ไม่ได้จดรายงานกระบวนพิจารณา แต่ศาลชั้นต้นก็ดำเนินกระบวนพิจารณาในเวลา 13.30 นาฬิกา ต่อหน้าจำเลยโดยได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่ากระทำผิดจริงหรือไม่ แล้วจดรายงานกระบวนพิจารณาไว้ ถือได้ว่าได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 โดยชอบแล้ว ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ซึ่งมิใช่ความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งฉะนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่เวลา 13.30 นาฬิกา แม้ทนายจำเลยที่จำเลยเตรียมไว้ได้เดินทางกลับไปเสียก่อนก็ตาม ก็หามีผลให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
แม้จำเลยจะยื่นคำให้การต่อศาลไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นการรับสารภาพฐานรับของโจร ฉบับหลังเป็นการปฏิเสธก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้วศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง แล้วจดคำให้การจำเลยไว้แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง ฉะนั้นเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร จึงถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรชัดแจ้งแล้ว แม้ศาลจะไม่ได้สอบคำให้การของจำเลยฉบับหลัง ก็หาใช่กรณีที่ไม่แน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพหรือให้การปฏิเสธแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรคดีนี้กับคดีอื่นรวม 12 คดี อันเป็นการฟ้องว่ากระทำผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร จึงต้องฟังว่าจำเลยกระทำผิดแต่ละคดีต่างกรรมต่างวาระกัน การที่จำเลยถูกจับกุมในวันเดียวกันทุกคดีจะฟังว่ากระทำผิดฐานรับของโจรเพียงครั้งเดียวคราวเดียวในวันที่ถูกจับกุมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7945/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำไม้ แปรรูปไม้ และครอบครองไม้ผิดกฎหมาย ถือเป็นความผิดต่างกรรมกัน และไม่จำกัดปริมาณไม้
การทำไม้การแปรรูปไม้ และมีไม้อันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองต่างเป็นความผิดได้ในตัวเอง และการกระทำตามที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นความผิดต่างกรรมจึงต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
การแปรรูปไม้ที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 ไม่ว่าจะแปรรูปไม้จำนวนเท่าใดก็มีความผิด ไม่ใช่ต้องแปรรูปไม้เกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร จึงจะมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อกระทำอนาจารและการกระทำอนาจารเป็นความผิดต่างกรรมกัน
จำเลยขับรถแท็กซี่พาผู้เสียหายไปถึงปากทางเข้าหมู่บ้านการเคหะบางพลี ผู้เสียหายบอกจำเลยให้ขับรถไปส่งในหมู่บ้าน แต่จำเลยกลับขับรถเลยไปโดยพูดกับผู้เสียหายว่าขอควงผู้เสียหายไปเที่ยวบางแสน เมื่อจำเลยขับรถไปถึงบริเวณหน้าวัดหอมศีล จำเลยเลี้ยวรถกลับมุ่งไปทางกรุงเทพมหานคร และไปจอดอยู่ริมทางหน้าวัดหอมศีลซึ่งอยู่เลยทางเข้าหมู่บ้านการเคหะบางพลีประมาณ 10 กิโลเมตรระหว่างนั้นจำเลยได้ดึงตัวผู้เสียหายไปจูบแก้มรวม 3 ครั้งและพูดขอให้ผู้เสียหายยอมเป็นภริยา การกระทำของจำเลย ที่ไม่ยอมเลี้ยวรถเข้าไปส่งผู้เสียหายที่หมู่บ้านการเคหะบางพลีและขับรถเลยไปเพื่อจะกระทำอนาจารผู้เสียหายเป็นการพราก ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากผู้ดูแล โดยผู้เสียหายไม่เต็มใจไปด้วยจึงเป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 วรรคสาม แล้ว หลังจากนั้นจำเลยได้พาผู้เสียหายไปไกลอีกถึง 10 กิโลเมตร จำเลยจึงได้กระทำอนาจารผู้เสียหายซึ่งเป็นการกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 อีก การกระทำความผิด ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำต่างกรรมกับความผิด ตามมาตรา 318 วรรคสาม ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีจำคุก 1 ปี ฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากผู้ปกครองผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จำคุก 3 ปี รวมจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารแก่ บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี จำคุก 6 เดือน รวมกับโทษจำคุก 3 ปี ฐานพรากผู้เยาว์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เป็นจำคุก 3 ปี 6 เดือน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เฉพาะเรื่องโทษอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งที่จำเลยฎีกาว่า ท. ไม่ได้เป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เสียหายเพราะถ้าเป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลที่ได้รับมอบหมายอำนาจปกครองจากมารดาผู้เสียหายแล้ว ผู้เสียหายต้องพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน ท.ท. จึงจะเป็นผู้ดูแลผู้เสียหายในฐานะผู้ปกครองได้ เมื่อผู้เสียหายกับ ท. ไม่ได้พักอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน ท. จึงมิได้เป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เสียหาย และโจทก์ไม่นำสืบให้ชัดเจนว่า ท. ผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เสียหายอย่างไร ท. จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลย เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกา
of 6