พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญาเกี่ยวกับเพศ ยอมความได้ ผู้เสียหายถอนฟ้อง ศาลลดโทษและรอการลงโทษ
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 3 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งไปฝึกและอบรมยังศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 จังหวัดสงขลา โดยให้ส่งจำเลยที่ 1 ไปฝึกและอบรมมีกำหนด 1 ปี 6 เดือน และส่งจำเลยที่ 2 ไปฝึกอบรมมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน จำเลยทั้งสองฎีกาโดยให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้เสียหายและมารดายื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์และขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำเลยทั้งสอง ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา กระทำอนาจาร และพาไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก, 278 และ 284 เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด สิทธิการนำคดีมาฟ้องของโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ให้จำหน่ายคดี ส่วนความผิดฐานร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นและพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารนั้น เมื่อผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจนเป็นที่พอใจ ทั้งมีความประสงค์ที่จะให้จำเลยที่ 1 และผู้เสียหายอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา จึงลงโทษปรับและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยทั้งสองไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืน กระทำชำเรา และพรากผู้เยาว์ พร้อมประเด็นอายุความสามารถของโจทก์ร่วม
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม ตามฟ้องก็ดี ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยตามมาตรา 319 วรรคแรก ที่พิจารณาได้ความก็ดีมีองค์ประกอบความผิดร่วมกันประการหนึ่งว่า "ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล..." ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุแห่งการกระทำความผิดกฎหมายทั้งสองมาตรานี้ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองคืออำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลนั่นเอง มิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก ดังนั้น ผู้เสียหายคือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดทั้งสองมาตรานี้ตามมาตรา 2 (4) แห่ง ป.วิ.อ. จึงได้แก่บิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เยาว์ทั้งสองในขณะที่จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันกระทำความผิด หาใช่ตัวผู้เยาว์คือโจทก์ร่วมทั้งสองไม่
ขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น โจทก์ร่วมทั้งสองยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 และมาตรา 20 และผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเอง จึงมิได้เป็นไปตามบทบังคับว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมทั้งสองในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมทั้งสองมีอายุเกิน 20 ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมทั้งสองอีก
ขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น โจทก์ร่วมทั้งสองยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 และมาตรา 20 และผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเอง จึงมิได้เป็นไปตามบทบังคับว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมทั้งสองในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมทั้งสองมีอายุเกิน 20 ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมทั้งสองอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทมาตราความผิดทางอาญา: ศาลฎีกามีอำนาจปรับแก้บทมาตราที่โจทก์ฟ้องผิดได้ แม้จำเลยไม่ฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 และมาตรา 390 มิใช่ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 ที่โจทก์ระบุมาในคำขอท้ายฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การรับสารภาพว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง กรณีเป็นเรื่องโจทก์อ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทกฎหมายที่ลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าร่วมเป็นโจทก์อาญา: ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิด
หนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารสิทธิที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกปลอมขึ้นไม่มีข้อความเกี่ยวถึงตัวผู้ร้องเลย ทั้งการที่จำเลยกับพวกนำหนังสือมอบอำนาจปลอมไปยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดิน เพื่อแสดงว่า ฉ. ได้มอบอำนาจให้ พ. ซื้อและขายที่ดิน ก็ไม่เกิดผลกระทบโดยตรงต่อทรัพย์สินของผู้ร้อง เนื่องจากหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารสิทธิปลอม จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิภาระซื้อและขายที่ดินระหว่าง ฉ. กับผู้ขายหรือผู้ซื้อ ที่ดินจึงมิใช่สินสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ฉ. ผู้ร้องจึงไม่เป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยกับพวกจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายของ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจขอเข้าบังคับคดีของผู้เสียหาย: คดีความผิดอื่นที่ไม่ใช่ความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43
ป.วิ.อ.มาตรา 50 บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตามมาตรา 43 และ 44 ให้ถือว่าผู้เสียหายนั้นเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น ผู้เสียหายที่จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตราดังกล่าวจะต้องเป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 เท่านั้น อันได้แก่ คดีลักทรัพย์ ฯลฯ ผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานรุกล้ำคลองชลประทานตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 ไม่ใช่ความผิดตามที่ระบุไว้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 ไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 50 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจขอเข้าดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องรับของโจรต้องเกิดหลังการลักทรัพย์ การบรรยายฟ้องขัดแย้งทำให้ฟ้องไม่ชอบ
ความผิดฐานรับของโจรต้องเกิดหลังจากมีการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์รถจักยานยนต์เกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อนย่อมเป็นคำฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดอย่างชัดเจน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญาและการลดโทษเนื่องจากอาการทางจิต: การพิจารณาความสามารถในการรู้ผิดชอบ
จำเลยได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชกับแพทย์ทางจิตเวช และหลังจากจำเลยสืบพยานไปแล้ว ทนายจำเลยแถลงขอให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชมาวิเคราะห์ว่าจำเลยมีอาการทางจิตหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการต่อสู้คดีของจำเลย และขอหมายเรียกจากศาลไปให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชประสงค์ที่จะขอให้นำตัวจำเลยไปตรวจจิตที่โรงพยาบาล แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ยกเหตุว่าจำเลยเป็นบุคคลวิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีขึ้นกล่าวอ้างในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาคดีศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยก่อน โดยเห็นว่า ศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์แล้วว่า ในระหว่างการสอบสวนและพิจารณาจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ เหตุที่ทนายจำเลยขอส่งตัวจำเลยไปตรวจจิตที่โรงพยาบาลนั้น ไม่เข้าเหตุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 14 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน การดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยกับผู้ตายซึ่งเป็นบิดาของจำเลยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ทั้งไม่มีมูลเหตุใดอันเป็นเรื่องรุนแรงพอที่จะทำให้จำเลยต้องฆ่าผู้ตาย ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจำเลยมาโดยตลอด จำเลยเป็นผู้มีอาการทางประสาท โวยวายว่าจะมีผู้อื่นมาฆ่าจำเลย บิดาและมารดาของจำเลยเคยนำจำเลยไปรักษาอาการทางประสาทที่โรงพยาบาล แต่เมื่อไปถึงโรงพยาบาล จำเลยวิ่งหนีไม่ยอมเข้าไปรักษา ก่อนเกิดเหตุ 2 เดือน จำเลยมีอาการคลุ้มคลั่งกลัวคนอื่นจะมาฆ่า ในวันเกิดเหตุน้องชายของจำเลยได้ยินเสียงเอะอะโวยวายของจำเลยว่ากลัวคนจะมาฆ่า และขณะเกิดเหตุมีผู้เห็นจำเลยยืนถือไม้หน้าสามยืนอยู่ข้างเปลที่ผู้ตายนอนและมีเลือดไหลออกจากจมูกของผู้ตายพร้อมกับตะโกนว่าจำเลยฆ่าผู้ตาย และตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงน่าเชื่อว่าจำเลยมีความผิดปกติในความคิดและการรับรู้ แม้ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ยังไม่เป็นการชัดแจ้งว่า จำเลยกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง แต่การที่จำเลยเกิดความหวาดกลัวว่าจะมีคนมาทำร้าย และหลังเกิดเหตุจำเลยวิ่งหลบหนีไปนั้น แสดงว่าจำเลยมีอาการผิดปกติทางจิตใจหรือจิตบกพร่อง แต่ก็เชื่อได้ว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 65 วรรคสอง
จำเลยกับผู้ตายซึ่งเป็นบิดาของจำเลยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ทั้งไม่มีมูลเหตุใดอันเป็นเรื่องรุนแรงพอที่จะทำให้จำเลยต้องฆ่าผู้ตาย ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจำเลยมาโดยตลอด จำเลยเป็นผู้มีอาการทางประสาท โวยวายว่าจะมีผู้อื่นมาฆ่าจำเลย บิดาและมารดาของจำเลยเคยนำจำเลยไปรักษาอาการทางประสาทที่โรงพยาบาล แต่เมื่อไปถึงโรงพยาบาล จำเลยวิ่งหนีไม่ยอมเข้าไปรักษา ก่อนเกิดเหตุ 2 เดือน จำเลยมีอาการคลุ้มคลั่งกลัวคนอื่นจะมาฆ่า ในวันเกิดเหตุน้องชายของจำเลยได้ยินเสียงเอะอะโวยวายของจำเลยว่ากลัวคนจะมาฆ่า และขณะเกิดเหตุมีผู้เห็นจำเลยยืนถือไม้หน้าสามยืนอยู่ข้างเปลที่ผู้ตายนอนและมีเลือดไหลออกจากจมูกของผู้ตายพร้อมกับตะโกนว่าจำเลยฆ่าผู้ตาย และตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงน่าเชื่อว่าจำเลยมีความผิดปกติในความคิดและการรับรู้ แม้ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ยังไม่เป็นการชัดแจ้งว่า จำเลยกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง แต่การที่จำเลยเกิดความหวาดกลัวว่าจะมีคนมาทำร้าย และหลังเกิดเหตุจำเลยวิ่งหลบหนีไปนั้น แสดงว่าจำเลยมีอาการผิดปกติทางจิตใจหรือจิตบกพร่อง แต่ก็เชื่อได้ว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์ ข่มขืนใจ และข่มขืนกระทำชำเรา ศาลแก้ไขโทษปรับและรอการลงโทษ
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม นั้น เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่าความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นกรรมเดียวกันกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ส่วนความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง กับความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้ถูกข่มขืนใจหรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น และข่มขืนกระทำชำเรานั้น จำเลยกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันโดยมุ่งหมายที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท นอกจากนี้ ศาลล่างทั้งสองมิได้อ้างบทกฎหมายที่เป็นบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและปรับบทลงโทษจำเลยโดยไม่ระบุเป็นความผิดตามวรรคใดในมาตราที่ลงโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ราชพัสดุกับการรบกวนการครอบครอง: การจำแนกประเภททรัพย์สินของแผ่นดินเพื่อกำหนดความผิดทางอาญา
แม้ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 และ 5 ที่ดินพิพาทจึงเป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) (3) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ แต่ความผิดฐานบุกรุกยังคงมีผลบังคับใช้
แม้ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์จะเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 ด้วย อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลล่างลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดและความผิดฐานดังกล่าวไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 ระงับไป คงระงับไปเฉพาะความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 358 เท่านั้น