คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความผิดทางแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหุ้นส่วนรับเหมา: ไม่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอก แต่เป็นผิดสัญญา
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับจังหวัดเพื่อขุดลอกหนองน้ำตามสัญญาจ้าง ต่อมาจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้รับช่วงงานขุดลอกหนองน้ำดังกล่าว โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันรับงานนั้นเพื่อประสงค์จะแบ่งกำไรกัน โดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการดำเนินงาน งานที่รับช่วงมีมูลค่าประมาณ 3,100,000 บาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนงานงวดสุดท้ายประมาณ 1,300,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 4 รับทำแทน และโจทก์ยังไม่ได้รับส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่มูลเหตุเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเข้าหุ้นกันรับช่วงงานขุดลอกหนองน้ำต่อจากจำเลยที่ 2โดยโจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการดำเนินการขุดลอกหนองน้ำ จำเลยที่ 1ทำงานแล้วไม่ยอมแบ่งเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนอยู่ครึ่งหนึ่ง กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1ทำผิดหน้าที่ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์โดยทุจริต แต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเรื่องหุ้นส่วนเท่านั้น คดีของโจทก์ย่อมไม่มีมูลเป็นความผิดอาญาฐานยักยอกตาม ป.อ.อาญา มาตรา 353 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่อาจเป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาและการระงับความผิดทางแพ่ง: การโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่เป็นไปตามสัญญา
โจทก์ร่วมแจ้งความว่าจำเลยที่ 2 ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1ให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยที่ 2 ยืนยันในชั้นสอบสวนว่าสามารถปฏิบัติการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาจะซื้อจะขายให้โจทก์ร่วมได้เมื่อได้รับชำระเงินงวดสุดท้ายจากโจทก์ร่วม พนักงานสอบสวนจึงเห็นว่ากรณียังไม่แน่ชัดว่าจะเป็นความผิดตามที่โจทก์ร่วมกล่าวหาจึงบันทึกเป็นหลักฐานไว้ในรายงานประจำวันซึ่งมีผลเป็นเพียงบันทึกเบื้องต้นหาได้เป็นความเห็นชัดเจนเด็ดขาดว่าเป็นเพียงความรับผิดทางแพ่งแต่ประการใดไม่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ร่วมตามที่ได้ยืนยันตกลงกับโจทก์ร่วมไว้ในเอกสารดังกล่าวฉะนั้น การที่โจทก์ร่วมมาร้องทุกข์มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาด้วยเหตุที่ความจริงแล้วจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาให้แก่บุคคลอื่นไปและไม่สามารถนำมาโอนให้แก่โจทก์ร่วมได้อีก ย่อมเป็นกรณีที่มีมูลความผิดทางอาญาที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจและชอบที่จะดำเนินการสอบสวนเป็นคดีอาญาได้ ข้อความที่ปรากฏในเอกสารรายงานประจำวันดังกล่าวข้างต้นมีผลเป็นเพียงจำเลยได้ตกลงกำหนดนัดวันเวลาที่จะไปโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์ให้โจทก์ร่วมและรับชำระเงินงวดสุดท้ายจากโจทก์ร่วมอันเป็นเพียงการยืนยันจะปฏิบัติตามนิติสัมพันธ์ที่ก่อไว้ตามสัญญาจะซื้อจะขายเดิมเท่านั้น หาได้มีข้อความใด ๆที่มีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความระงับสิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ร่วมแต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์แต่แจ้งความโดยสุจริต ไม่ถือเป็นการละเมิด - ความผิดทางแพ่ง
เมื่ออธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเหล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กแบบยืดและพับได้ให้แก่จำเลยแล้วต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใบม่านบังตาสำหรับเหล็กยืดจำเลยได้ยื่นคำคัดค้านต่ออธิบดีกรมทะเบียนการค้าอธิบดีกรมทะเบียนการค้าวินิจฉัยให้ยกคำคัดค้านของจำเลยจำเลยอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการสิทธิบัตรจำเลยได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินคดีกับโจทก์เจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดผลิตภัณฑ์ของโจทก์เป็นของกลางเมื่อผลิตภัณฑ์ของโจทก์มีลักษณะส่วนใหญ่หรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยมีข้อแตกต่างกันเพียงในรายละเอียดปลีกย่อยอาจทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของจำเลยจึงมีเหตุที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522มาตรา36ให้มีสิทธิผลิตผลิตภัณฑ์หรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรหรือขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีผลิตแต่เพียงผู้เดียวการแจ้งความร้องทุกข์ของจำเลยจึงมิใช่เป็นการนำข้อความอันเป็นเท็จซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานแต่เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อคุ้มครองสิทธิของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่เจ้าพนักงานตำรวจอายัดและยึดทรัพย์สินต่างๆของโจทก์เป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนได้ใช้ดุลพินิจอายัดและยึดสิ่งของซึ่งน่าจะเป็นพยานหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์หรือยันผู้ต้องหาในคดีอาญาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายของพนักงานสอบสวนไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หากเจ้าพนักงานตำรวจผู้ยึดมิได้ดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลรักษาทรัพย์สินของตนเองก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจให้รับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดโจทก์จะมาเรียกร้องจากจำเลยไม่ได้แม้ตามบันทึกการตรวจค้นระบุว่าจำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ในการยึดและอายัดสิ่งของทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายเชื่อเครื่องเพชรไม่ถือเป็นยักยอก หากผิดสัญญาเป็นเรื่องแพ่ง
ผู้เสียหายมอบเครื่องเพชรให้จำเลยไปขาย โดยผู้เสียหายคิดเอาราคา 32,300 บาท มีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะจ่ายเงินตามราคาของให้เมื่อครบ 1 เดือน นับแต่วันเอาของไป ถ้าขายไม่ได้จะคืนของภายใน 1 เดือน เช่นกันโดยไม่ได้จำกัดว่าจำเลยจะต้องขายในราคาเท่าใด เช่นนี้ เงินที่ขายเครื่องเพชรดังกล่าวได้จึงตกเป็นของจำเลย เพียงแต่จำเลยมีความผูกพันว่าจะต้องนำเงิน 32,300 บาท มาคืนให้แก่ผู้เสียหายตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้น กรณีจึงมิใช่จำเลยได้รับมอบหมายให้รับเครื่องเพชรหรือราคาเครื่องเพชรไว้แทนผู้เสียหายแต่เป็นกรณีผู้เสียหายขายเชื่อเครื่องเพชรให้จำเลยไป แม้จำเลยไม่จ่ายเงินแก่ผู้เสียหายและไม่คืนเครื่องเพชรก็เป็นเรื่องผิดสัญญาแพ่ง ไม่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอกตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งซื้ออาหารล่วงหน้าไม่ชำระเงิน เป็นผิดสัญญาแพ่ง ไม่เข้าความผิดมาตรา 345
มาตรา 345 เป็นเรื่องสั่งซื้อและบริโภคอาหารด้วย และเป็นการกระทำต่อเนื่องกันในเวลานั้น การที่ไปติดต่อตกลงสั่งอาหารล่วงหน้าหลายวัน โดยให้นำอาหารไปเลี้ยงในสถานที่อีกแห่งหนึ่ง เมื่อไม่ชำระราคา ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาในทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 345

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเก็บเงินแล้วไม่ส่งมอบ: เป็นผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่ใช่ความผิดอาญา
ทำสัญญากับเขาว่าจะเป็นผู้เก็บเงินส่งให้ภายในเวลามีกำหนด เมื่อจำเลยเก็บเงินได้ไม่ส่งในกำหนดก็ไม่มีผิดทางอาชญาเป็นผิดทางแพ่ง
วิธีจารณาอาชญา พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ปัญหากฎหมาย ศาลเดิมไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ยืนฎีกาในข้อกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องพิจารณาคู่ความเดียวกัน และสัญญาชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
กรณีจะเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 นั้น คู่ความทั้งสองคดีต้องเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อคดีก่อน ก. เป็นโจทก์มีโจทก์คดีนี้เป็นผู้ฟ้องแทนในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ก. ผู้เยาว์ แต่คดีโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวในฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่คู่ความเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
บันทึกข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยกระทำละเมิดต่ออำนาจปกครองของโจทก์โดยพรากผู้เยาว์ไปจากโจทก์ ไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าคู่กรณีประสงค์จะระงับคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อแผ่นดิน สัญญาประนีประนอมยอมความตามบันทึกดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150