คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความผิดสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้น, การไม่จดทะเบียนสมรส, และผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องสินสอด
ภายหลังจากโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาหมั้น และแต่งงานตามประเพณีแล้ว ได้อยู่กินร่วมหลับนอนกันที่บ้านของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาจำเลยที่ 1 นานถึง 8 เดือนโดยโจทก์มิได้ประกอบอาชีพใด เอาแต่เที่ยวเตร่และเล่นการพนัน แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้รังเกียจในตัวโจทก์นอกจาก ความประพฤติ การที่ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 สมัครใจอยู่กิน ด้วยกันเป็นเวลานาน โดยมิได้ไปจดทะเบียนสมรส จึงเกิด จากการละเลยของทั้งสองฝ่ายที่มิได้ยึดถือเอาการจดทะเบียนสมรส เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการที่จะได้อยู่กินด้วยกันตามประเพณี เท่านั้น จึงมิอาจกล่าวโทษได้ว่าการที่มิได้ไปจดทะเบียนสมรส เกิดจากความผิดของฝ่ายใด แม้ต่อมามีการทำบันทึกตกลงกัน ว่าทั้งสองฝ่ายจะไปจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้ปลูกบ้านในที่ดินของจำเลยที่ 2 ตาม ข้อตกลงการที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรส กับโจทก์ จึงยังไม่อาจถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย - ความผิดของคู่สัญญา - สิทธิอาศัย - การเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดินกับโจทก์ ครั้นถึงวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์ไม่สามารถนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนได้ อันเป็นความผิดของฝ่ายโจทก์เอง หาใช่ความผิดของจำเลยไม่ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย
โจทก์ยินยอมให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทจนกว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่สามารถนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนได้ สิทธิอาศัยของจำเลยจึงยังคงมีอยู่ตามสัญญา เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงไม่มีสิทธิเลิกสัญญาและบอกกล่าวให้จำเลยออกจากที่ดินและอาคารพิพาท การที่จำเลยอยู่ในอาคารโดยมีสิทธิตามสัญญาจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดสัญญาประกันตัว: ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นคู่สัญญาแต่ฟ้องให้รับผิดในฐานะเป็นกรมซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3ปฏิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันหรือไม่ต่อไปเสียเองหรือส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นสาระแก่คดีที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสามไม่มีอำนาจริบเงินประกันตัวผู้ต้องหาของโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษา ศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้ล่าช้ามามากแล้ว เห็นสมควรที่จะได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวโดยไม่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา247
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทราบวันนัดส่งตัวผู้ต้องหาแล้วผิดนัด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกัน ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ความผิดสัญญา, ฟ้องเคลือบคลุม, ข้อจำกัดการฎีกาในฟ้องแย้ง
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ฟ้องอ้างหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่24มิถุนายน2535แต่ปรากฎว่าหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคู่ฉบับเก็บไว้ฝ่ายละฉบับกลับลงวันที่21มิถุนายน2535เห็นได้ว่าเป็นสัญญาคนละฉบับกับที่ฟ้องฟ้องจึงเคลือบคลุมนั้นเมื่อจำเลยให้การมิได้อ้างเหตุนี้ว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมจำเลยเพิ่มจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญานั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในส่วนฟ้องแย้งเพราะทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกิน200,000บาทและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวขัดกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อเป็นเช่นนี้ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา146วรรคแรกโดยถือตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: การคิดค่าเสียหายจากความผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, และการเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลภายนอก
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยนำสืบมานั้นมีข้อเท็จจริงที่ถูกต้องตรงกันรับฟังได้ว่างานในงวดที่4โจทก์ทั้งสองยังไม่ได้ทำถนนงานไฟฟ้ายังไม่เรียบร้อยส่วนงานในงวดที่5ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายยังไม่ได้ติดตั้งสุขภัณฑ์ติดตั้งดวงโคมไฟแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้ทำงานสีแล้วและสรุปว่างานในงวดที่4และงวดที่5ที่โจทก์ทั้งสองยังไม่ได้ทำได้แก่ถนนทาสีงานสุขภัณฑ์และงานไฟฟ้าบางส่วนซึ่งจะเห็นได้ว่าเหตุผลสำคัญแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์นั้นศาลอุทธรณ์ถือเอาพยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยนำสืบข้อเท็จจริงถูกต้องตรงกันมารับฟังเป็นข้อยุติว่าแต่จำเลยกลับฎีกาโต้เถียงว่ารายการค่าใช้จ่ายการสร้างบ้านเอกสารหมายจ.7โจทก์ที่2จัดทำขึ้นภายหลังจากที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้แล้วและมีรายการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างรวม6รายการคำนวณเป็นเงินมากถึง248,620บาทแต่โจทก์ทั้งสองไม่มีหลักฐานใบส่งของหรือใบเสร็จรับเงินมานำสืบประกอบจึงรับฟังไม่ได้นั้นย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าฎีกาของจำเลยข้อนี้จำเลยหาได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรเพราะเหตุใดไม่จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ผิดสัญญาและจำเลยถูกบุคคลภายนอกเรียกร้องค่าเสียหายเพราะจำเลยผิดสัญญาจะขายทาวน์เฮาส์ให้คนอื่นเป็นเงิน150,000บาทนั้นค่าเสียหายในส่วนนี้มิใช่เป็นค่าเสียหายที่จำเลยต้องเสียไปเนื่องจากการที่โจทก์ผิดสัญญาอันเป็นผลโดยตรงและเกี่ยวเนื่องจากเหตุที่โจทก์ผิดสัญญาตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้านหากแต่เป็นค่าเสียหายอันเนื่องมาจากพฤติการณ์พิเศษเมื่อจำเลยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนหรือขณะทำสัญญาว่าจำเลยมีข้อผูกพันต่อบุคคลภายนอกที่จะต้องขายบ้านทาวน์เฮาส์เพื่อย้ายเข้ามาอยู่บ้านที่จ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา222วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วน และเบี้ยปรับจากสัญญา
จำเลยและจำเลยร่วมเป็นสามีภริยากันและเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกัน การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยจำเลยร่วมมิได้รู้เห็นหรือให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวไม่ผูกพันจำเลยร่วม คงสมบูรณ์มีผลผูกพันเฉพาะที่ดินพิพาทส่วนของจำเลยเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อาจบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินพิพาททั้งแปลงตามสัญญาได้ก็ตาม แต่โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของจำเลยได้ การที่จำเลยไม่ยอมโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของตนให้โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
สัญญามีว่าถ้าจำเลยไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาและเรียกค่าเสียหาย 60,000 บาท ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคแรก เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแล้ว และโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ ต้องเสียหายอย่างไร ทั้งมิได้นำสืบไว้ จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายตามตัวอย่าง VS สัญญาซื้อขายตามสภาพสินค้า: ความผิดสัญญาและอายุความ
การที่เจ้าหนี้ประกาศแจ้งความประกวดราคาสินค้าที่ต้องการซื้อโดยได้กำหนดตามลักษณะเฉพาะของสินค้าอันเป็นสาระสำคัญที่จะนำมาใช้งานไว้ด้วยเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. เสนอราคาของสินค้าโดยมีคุณลักษณะเฉพาะตรงตามที่เจ้าหนี้ผู้ซื้อได้กำหนดไว้และเจ้าหนี้ตกลงซื้อแล้ว การซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายธรรมดาอันเกิดจากการเสนอและสนองรับตรงกัน หาใช่เป็นการซื้อขายตามตัวอย่างหรือตามพรรณาไม่ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ส่งมอบสินค้าที่มีคุณลักษณะไม่ตรงตามสัญญากับใบเสนอราคา และไม่ตรงตามที่เจ้าหนี้กำหนด ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ.จึงเป็นผู้ผิดสัญญาซื้อขาย เจ้าหนี้ย่อมเสียหาย และชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.จึงต้องร่วมรับผิดคืนเงินค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้
สิทธิเรียกร้องให้คืนเงินกรณีสัญญาซื้อขายเลิกกันไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม หาใช่ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 504 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน - ความผิดสัญญาข้าราชการ - เหตุสุดวิสัย - การไล่ออกก่อนทำสัญญา
ปัญหาว่าการที่ พ. ไม่สามารถกลับเข้ารับราชการได้เพราะโจทก์มีคำสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากการกระทำผิดวินัยก่อนจำเลยทำสัญญาค้ำประกันนั้นเมื่อปรากฏตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศในสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาแล้วก็ดีหรือการศึกษาของข้าพเจ้าต้องยุติลงด้วยประการใด ๆก็ดี ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะกลับมาปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการทันที ฯลฯ" และ ข้อ 7 มีข้อความว่า "ถ้าข้าพเจ้าผิดสัญญาข้อ 5ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินแก่กรมการศึกษานอกโรงเรียน ดังต่อไปนี้ก.ถ้าข้าพเจ้าไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการเลย ข้าพเจ้ายอมชดใช้เงินทุน หรือเงินเดือนทั้งหมด ฯลฯ" เห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของสัญญาข้อ 5 และ 7 มีความมุ่งหมายว่าหาก พ.สำเร็จการศึกษาหรือการศึกษายุติลงด้วยประการใด ๆ แล้ว พ. ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่งจึงจะถือว่าผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้สั่งให้ พ.ออกจากราชการจึงไม่ใช่กรณีที่พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ. นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใดการที่โจทก์สั่งให้ พ. ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ. ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าวเมื่อพ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณา, สัญญาจะซื้อขาย, การนำสืบพยาน, ความผิดสัญญา, การผูกพันสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 1480ป.วิ.พ. มาตรา 57, 62, 88, 142, 183 วรรคสอง เดิม (183 ตรี ใหม่)
ในคดีที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา เมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องครั้งแรก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนก่อน ผู้ร้องสอดสามารถปฏิบัติได้ แต่ก็ไม่ปฏิบัติ และในการยื่นคำร้องสอดครั้งที่สองก่อนที่จะสืบพยานโจทก์นัดแรก ผู้ร้องสอดก็ไม่เสียค่าขึ้นศาลให้ถูกต้องอีก แม้ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องครั้งที่สามเมื่อสืบพยานโจทก์ไปแล้ว 2 ปาก เหลือพยานโจทก์ที่จะสืบต่อไปอีก 2 ปาก อันเป็นเวลาที่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่พฤติการณ์ของผู้ร้องสอดดังกล่าวก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาตให้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้ หาจำต้องอนุญาตทุกกรณีไม่ และที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าทนายคนเดิมไม่เคยแจ้งให้ผู้ร้องสอดทราบว่าต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างใด ผู้ร้องสอดอาศัยทนายความดำเนินคดีให้ ทนายความดำเนินคดีบกพร่องไปในทางที่ไม่ชอบนั้นผู้ร้องสอดก็ไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวได้ เพราะทนายความเป็นตัวแทนของผู้ร้องสอดเอง ผู้ร้องสอดต้องรับผิดที่ตัวแทนได้กระทำการแทนไป
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งการสืบพยานโจทก์ในวันดังกล่าว 2 ปาก ทนายจำเลยก็มาซักค้านพยานโจทก์ด้วยโดยมิได้คัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการกำหนดหน้าที่นำสืบและคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดนัดพิจารณาแต่อย่างใด จึงมีผลว่าจำเลยยอมรับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผ่านมาแล้ว จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านว่า ศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบและกำหนดให้จำเลยนำพยานเข้าสืบก่อนไม่ชอบในวันหลังจากสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว การที่จำเลยคัดค้านดังกล่าวก็เพื่อจำเลยจะมีโอกาสนำพยานมาสืบใหม่นั่นเอง ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าการกำหนดหน้าที่นำสืบและหน้าที่การนำพยานเข้าสืบไม่ถูกต้องอย่างใด กรณีไม่มีเหตุที่จะกำหนดหน้าที่นำสืบและการนำพยานเข้าสืบใหม่
จำเลยโดยทนายจำเลยทราบวันนัดชี้สองสถานแล้วไม่มาศาลศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดให้จำเลยนำพยานเข้าสืบก่อน แล้วนัดสืบพยานจำเลยแม้จะจำเลยไม่มาในวันนัดชี้สองสถานก็ถือว่าจำเลยทราบกระบวนพิจารณาของศาลในวันนั้นแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสอง (เดิม) เมื่อศาลกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยวันที่ 14 กรกฎาคม 2531 เวลา 9 นาฬิกา จึงต้องถือว่าจำเลยทราบวันเวลานัดสืบพยานจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยาน จำเลยจึงขาดนัดพิจารณา ข้อที่จำเลยอ้างว่าทนายจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต จะนำมาเป็นข้ออ้างว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดหาได้ไม่ เพราะทนายจำเลยเป็นตัวแทนของจำเลยเอง และศาลชั้นต้นก็ได้มีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ไปแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 205 วรรคสาม (3)
สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาททำที่บ้านจำเลย การต่อรองราคาทำต่อหน้าพันตรี ถ.สามีจำเลย เหตุที่ไม่ได้ให้สามีจำเลยให้ความยินยอมในการซื้อขายเนื่องจากจำเลยบอกว่าจำเลยและสามีไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ประกอบกับสำเนา น.ส.3 ก็มีชื่อจำเลยคือนางนิตยา สงวนจิตร เพียงผู้เดียว ทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ก็ยังระบุชื่อ น.ส.นิตยา สงวนจิตร พฤติการณ์ดังกล่าวจึงมีเหตุผลให้โจทก์เชื่อว่า จำเลยมิได้สมรสกับสามีจึงได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับจำเลย สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 และแม้โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้โอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายโดยโจทก์ไม่ได้ขอชำระราคาที่ดินตอบแทนด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องไม่ชอบ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์โดยมีเงื่อนไขให้โจทก์ชำระราคาที่ระบุไว้ในสัญญาได้ เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
การพิจารณาโดยขาดนัดอย่างเช่นคดีนี้เป็นการพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว ไม่มีการนำสืบพยานหลักฐานของจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อน กรณีไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 88 (เดิม) โจทก์จึงมีสิทธิระบุพยานเพิ่มเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาจะซื้อจะขาย, การบอกเลิกสัญญา, ความผิดสัญญาจากเหตุสุดวิสัย
การฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะว่าให้ใช้บังคับเสียภายในระยะเวลาเท่าใดจึงต้องถือว่ามีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การที่เจ้าพนักงานที่ดินยังไม่รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยทั้งสองให้แก่โจทก์ เนื่องจากโฉนดที่ดินฉบับสำนักงานที่ดินชำรุดนั้น ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ ไม่ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาจะซื้อจะขาย จำเลยทั้งสองจะอ้างเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญากับโจทก์ไม่ได้ การบอกเลิกสัญญาไม่มีผล สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยยังใช้บังคับอยู่ จำเลยทั้งสองจึงต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้โจทก์ตามสัญญา.
of 4