คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความผิดเกี่ยวพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7628/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องความผิดหลายฐาน: แจ้งข้อหาความผิดหลักเพียงพอต่อการดำเนินคดีความผิดอื่นที่เกี่ยวพัน
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134ที่บังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบเจตนารมณ์ก็เพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด และเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของตนโดยไม่ต้องระบุอ้างถึงตัวบทกฎหมายที่กระทำผิด และในกรณีที่การกระทำนั้นผิดกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกันก็ตามพนักงานสอบสวนก็หาจำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตราหรือทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไม่ แต่ เมื่อได้แจ้งข้อหา อันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิด อันเกี่ยวพันกันด้วยอีกพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิด ทุกข้อหาได้ ฉะนั้น การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลย ว่านำหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือยังมิได้ผ่านศุลกากร เข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่ามีไม้สักแปรรูป ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอีกฐานหนึ่ง อันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างออกไปและอยู่ในกฎหมายต่างฉบับกัน ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครอง โดยมิได้รับอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิด ฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ฐานมีไม้สักแปรรูป ไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9018/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและความผิดเกี่ยวพัน: คดีหมิ่นประมาทจากหนังสือพิมพ์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ด้วยถ้อยคำซึ่งเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ และจำเลยที่ 2 บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งได้ลงข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ดังกล่าว อันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ ถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วย จึงเป็นความผิดเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 (2) แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวที่กรุงเทพมหานคร แต่หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นได้ออกวางจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร ซึ่งรวมทั้งจังหวัดปทุมธานี อันถือว่าความผิดได้เกิดในจังหวัดปทุมธานีด้วย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 22 และมาตรา 24 ศาลจังหวัดปทุมธานีมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ได้ แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ก็หามีผลทำให้ศาลจังหวัดปทุมธานีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9018/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลคดีหมิ่นประมาท: ความผิดเกิดได้หลายท้องที่ แม้เริ่มที่ กทม. แต่จำหน่ายหนังสือพิมพ์ทั่วประเทศถือเป็นเขตอำนาจศาลในจังหวัดนั้นได้
จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์อันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ และจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ได้ลงข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์ดังกล่าวในหนังสือพิมพ์อันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์และหมิ่นประมาท จึงเป็นความผิดเกี่ยวพันกันโดยความผิดหลายฐานได้กระทำลงโดยมีเจตนาอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24(2) แม้จำเลยที่ 1 จะให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งตั้งอยู่แขวงป้อมปราบเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร อันเป็นความผิดเกิดในกรุงเทพมหานครก็ตาม แต่หนังสือพิมพ์ที่จำเลยที่ 2ลงข้อความนั้นออกวางจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร ซึ่งรวมทั้งจังหวัดปทุมธานี อันถือว่าความผิดได้เกิดในจังหวัดปทุมธานีด้วย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22และมาตรา 24 แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยที่ 2ก็ไม่มีผลทำให้ศาลจังหวัดปทุมธานีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับโทษตามมาตรา 91 ป.อาญา ต้องมีการเกี่ยวพันของการกระทำความผิดในคดีทั้งสอง
การที่จำเลยจะได้รับการปรับโทษใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90ต้องปรากฏว่าการกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้กับคดีก่อนมีความเกี่ยวพันกันจนอาจรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เมื่อเงินที่จำเลยเบียดบังในคดีทั้งสองเป็นเงินคนละประเภทสถานที่เบิกเงินการเบิกจ่ายเงินและการส่งเงินคืนก็แตกต่างกันพยานคนละชุดกันการสอบสวนคดีนี้ได้กระทำขึ้นภายหลังที่จำเลยถูกฟ้องและศาลพิพากษาคดีก่อนแล้วการกระทำความผิดของจำเลยในคดีทั้งสองจึงไม่เกี่ยวพันกันและไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6767/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยกฟ้องอาญาเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ และความผิดเกี่ยวพันกัน
ป.วิ.อ. มาตรา 185, 215, 225
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา 55, 78 วรรคแรกหรือไม่ และยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง ได้ด้วยเพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบ มาตรา 215และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดหลายกรรมต่างท้องที่: ความผิดเกี่ยวพันและการรวมฟ้อง
จำเลยถูกกล่าวหาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เหตุเกิดท้องที่ สภ.อ.เมืองนราธิวาส ปรากฏว่าจำเลยได้ไปแจ้งความที่ สภ อ.สุไหงโก-ลก ว่าเช็คที่จำเลยถูกดำเนินคดีหายไป ซึ่งเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกง พนักงานสอบสวน สภ อ. เมือง-นราธิวาส ย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยเกี่ยวกับความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกงได้ เพราะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (4) และโจทก์ย่อมฟ้องรวมในฟ้องเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 ทั้งความผิดฐานแจ้งความเท็จ มีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างสถานที่ แต่ก็ได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกัน และเป็นความผิดเกี่ยวพันกัน ซึ่งจะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ โดยไม่ต้องขอผัดฟ้องพร้อมกับความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาความผิดเกี่ยวพัน พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดอื่นได้ แม้ไม่แจ้งข้อหาโดยเฉพาะ
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134กำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหานั้นก็เพื่อประสงค์ให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด และเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของผู้ต้องหาซึ่งเป็นความผิดนั้น โดยไม่ต้องระบุอ้างถึงตัวบทกฎหมายที่ผู้ต้องหากระทำผิด ในกรณีที่การกระทำอันหนึ่งผิดกฎหมายหลายบท พนักงานสอบสวนไม่จำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตรา ในเมื่อได้แจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วย พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้ เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่า จำเลยพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรแล้วแม้ไม่แจ้งข้อหาว่าพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตด้วย ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อกันในคดีความผิดหลายกระทงที่เกี่ยวพันกัน ศาลต้องคำนึงถึงเพดานโทษรวมตามกฎหมาย
คดีแรกที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วและคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษต่อจากคดีแรกนั้น เป็นความผิดซึ่งเกิดในคราวเดียวกัน ลักษณะและพฤติการณ์แห่งคดีเหมือนกัน เจ้าพนักงานจับกุมในคราวเดียวกันและผู้เสียหายคนเดียวกัน ทั้งความผิดทั้งสองสำนวนเกิดขึ้นและปรากฏต่อพนักงานสอบสวนก่อนวันที่จำเลยถูกจับกุมในคดีนี้ เห็นได้ว่าโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ กรณีเช่นนี้ศาลลงโทษจำคุกจำเลยได้ไม่เกินยี่สิบปี แม้ว่าโจทก์จะแยกฟ้องจำเลยเป็นสองสำนวนและขอให้นับโทษต่อกันก็ตาม แต่เมื่อรวมโทษที่จำเลยจะได้รับแล้วต้องไม่เกินยี่สิบปี เมื่อคดีนี้ศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กฎหมายกำหนดแล้วศาลจะนับโทษจำเลยต่อจากคดีแรกไม่ได้
เมื่อปรากฏจากคำฟ้องว่า ระหว่างสอบสวนจำเลยไม่ถูก ควบคุมในคดีนี้ แต่ถูกคุมขังในคดีแรก การคำนวณระยะเวลาจำคุกในคดีนี้ต้องหักจำนวนวันที่จำเลยถูก คุมขังในคดีแรกจากระยะเวลาจำคุก 20 ปี ในคดีนี้ เพื่อมิให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกเกินกำหนด 20 ปี ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
แม้คดีนี้จะถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษในคดีแรกเกินกว่า 20 ปี อันไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้นับโทษจำเลยทั้งสองคดีติดต่อกันให้ถูกต้อง ศาลก็มีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้ลงโทษจำเลยทั้งสองคดีติดต่อกันไม่เกิน 20 ปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปล้นทรัพย์มีผลถึงความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืน หากข้อเท็จจริงไม่พอรับฟังความผิดฐานปล้นทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องความผิดฐานอื่นได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืน พาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต และร่วมกับพวกใช้อาวุธปืนดังกล่าวกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์แล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องไปถึงความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตของจำเลยได้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน แม้ว่าความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจะยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาในการยกฟ้องความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืน พาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต และร่วมกับพวกใช้อาวุธปืนดังกล่าวกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์แล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องไปถึงความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตของจำเลยได้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน แม้ว่าความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจะยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม.
of 2