คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความผิดเฉพาะตัว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบอาวุธปืน: ความผิดเฉพาะตัวของผู้กระทำ และอำนาจศาลตามบทบัญญัติกฎหมายอาวุธปืน
อาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนที่มีใบอนุญาตให้มีและ ใช้เป็นของผู้ร้องโดยถูกต้อง ความผิดของจำเลยอยู่ที่ การมีอาวุธปืนของผู้อื่นไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืน ดังกล่าวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดเฉพาะตัว อาวุธปืนของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้น และแม้จะถือว่าเป็นอาวุธ ซึ่งเมื่อจำเลยพาไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควรแล้ว ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 แต่ในเมื่อคดีนี้ โจทก์ฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ ซึ่งมีบทลงโทษตามมาตรา 72 ทวิ อีกบทหนึ่ง และศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 ทวิ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษ หนักที่สุดแล้วศาลก็ย่อมไม่อาจพิพากษาให้ริบอาวุธปืน ของกลางได้ เพราะมาตรา 72 ทวิ มิได้บัญญัติให้อำนาจศาล สั่งริบอาวุธปืนที่พาไปโดยผิดกฎหมายได้เลย และจะสั่ง ให้ริบอาวุธปืนโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องซึ่งเป็นบทเบาก็ไม่ได้ด้วย เพราะศาล ไม่ได้ลงโทษจำเลยตามบทนี้ เมื่ออาวุธปืนของกลางริบไม่ได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำ ความผิดของจำเลยหรือไม่อีกต่อไป เมื่อศาลพิพากษาให้ริบอาวุธปืน ของกลางไปแล้ว ต่อมาผู้ร้องมาร้องขอคืน ก็ต้องคืนอาวุธปืน ของกลางแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเฉพาะตัวตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่มีความผิด
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ข้อ 17 บัญญัติว่า "ผู้ได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานตามข้อ 4 หรือผู้ได้รับอนุญาตตามข้อ 5 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อ 7 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และในกรณีที่เป็นความผิดต่อเนื่องให้ปรับอีกวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังทำการฝ่าฝืนอยู่" เห็นได้ว่าผู้ที่จะมีความผิดดังกล่าว คือ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับสัมปทานเท่านั้น จึงเป็นความผิดเฉพาะตัว ไม่อาจมีการร่วมกันกระทำความผิดกับผู้ที่มิได้รับใบอนุญาตหรือมิได้รับสัมปทานด้วยได้เพราะเป็นความผิดอาญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับสัมปทานประกอบกิจการไฟฟ้าจากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน คือ จำเลยที่ 1 มิใช่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ว่าจะในฐานะกรรมการผู้จัดการหรือในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ข้อ 17 แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225