คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความผูกพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการปกครองบุตร: ศาลพิจารณาจากความพร้อมของผู้เลี้ยงดูและความผูกพันกับบุตร
เมื่อโจทก์คลอดบุตรผู้เยาว์แล้วได้เลี้ยงดูด้วยตนเองตลอดมา ต่อมาโจทก์ไม่อาจทนอยู่กับจำเลยที่บ้านจำเลยได้ ต้องกลับไปอยู่บ้านบิดามารดาโจทก์ โจทก์ก็นำบุตรผู้เยาว์ไปเลี้ยงดูด้วย แม้บิดาจำเลยไปหลอกนำบุตรผู้เยาว์กลับมาที่บ้านจำเลย โจทก์เพียรพยายามขอพบบุตรผู้เยาว์ แต่ถูกกีดกันไม่ให้พบ โจทก์ยังคงห่วงใยและมีความรักบุตรผู้เยาว์แม้ถูกฝ่ายจำเลยพรากไป ทั้งโจทก์มีรายได้สามารถอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ด้วยตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือของจำเลย ส่วนจำเลยเมื่อบิดาจำเลยนำบุตรผู้เยาว์กลับมา จำเลยและบิดามารดาจำเลยไม่อาจเลี้ยงดูได้เพราะต้องไปทำงานทุกคน ต้องให้ญาติฝ่ายบิดาจำเลยเลี้ยงบุตรผู้เยาว์ตลอดมาจนถึงวัยเรียน และจำเลยมีรายได้น้อย ยังต้องพึ่งพาบิดามารดาจำเลยอยู่ ไม่อาจเลี้ยงดูบุตรภริยาได้ โจทก์จึงสมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด, ความผูกพันจากกิจการของตัวแทน, ค่าเสียหายจากการไม่ชำระหนี้
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้หนึ่งที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 นอกจากนี้แผนผังอาคารพาณิชย์และใบเสนอราคาหัวกระดาษเอกสารดังกล่าวระบุชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งย่อมทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเอกสารของจำเลยที่ 1 ประการสำคัญบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ระบุชัดเจนว่าโครงการสร้างอาคารพาณิชย์พิพาทเป็นโครงการของจำเลยที่ 1 แสดงว่า จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำเสมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตน
การตั้งตัวแทนที่ต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ใช้บังคับแก่กรณีการตั้งตัวแทนตามปกติทั่ว ๆ ไป แต่การเป็นตัวแทนเชิดเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหาจำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 มิได้กำหนดให้ผู้ขายต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขาย ดังนั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายจึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก็ดี จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาแล้วก็ดี ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
จำเลยที่ 1 ไม่โอนสิทธิการเช่าที่ดินและอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ประกอบมาตรา 222 โดยต้องเป็นความเสียหายที่ปกติย่อมเกิดขึ้นหรือเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษเท่านั้น ไม่จำต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วจริง ๆ ดังนั้น เมื่อขณะจำเลยที่ 2 เสนอขายอาคารพาณิชย์พิพาทมีราคาห้องละ 2,000,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ห้องละ 850,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6392/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายกรณีปลาแฟนตาซีคาร์พตาย: พิจารณาจากราคา ความพิเศษ และความผูกพันทางจิตใจ
จำเลยที่ 1 รับเหมาก่อสร้างอาคารซึ่งติดกับแนวเขตที่ดินของบิดามารดาโจทก์ซึ่งโจทก์พักอาศัยอยู่ด้วย ทำให้มีเศษวัสดุก่อสร้างตกหล่นเข้าไปในบริเวณบ้านดังกล่าวและบ่อปลา เป็นเหตุให้ปลาแฟนตาซีคาร์พที่โจทก์เลี้ยงในบ่อตายจำเลยที่ 1 ผู้รับเหมาก่อสร้าง จำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมงาน และจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ปลาแฟนซีคาร์พ 7 ตัวของโจทก์ เป็นปลาพันธุ์ดีที่โจทก์ซื้อซึ่งนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น โจทก์เลี้ยงดูปลาอย่างดี มีบ่อเลี้ยงปลาที่ดีทั้งระบบนิเวศน์ระบบพักน้ำและระบายน้ำ เมื่อคำนึงถึงราคาที่ซื้อมา ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าบำรุงดูแลรักษาตลอดจนระยะเวลาที่โจทก์ใช้ในการเลี้ยงดูปลาจนถึงวันที่ปลาตายเป็นเวลาเกินกว่า6 ปี ประกอบกับปลาทั้งเจ็ดตัวนี้เคยส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลทุกตัวจนมีผู้เสนอขอซื้อในราคาตัวละ 150,000 บาท จึงย่อมเป็นปลาที่โจทก์ภาคภูมิใจและมีค่าอย่างสูงในด้านจิตใจของโจทก์ ไม่อาจนำราคาปกติของปลาแฟนตาซีคาร์พทั่วไปในท้องตลาดมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายได้ เมื่อพิจารณาประกอบพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้ว เห็นควรกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 700,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้อนุบาล: พิจารณาจากความผูกพัน การดูแลต่อเนื่อง และประโยชน์สูงสุดของผู้รับอนุบาล
ผู้ร้องเป็นผู้ช่วย ว.ซึ่งเป็นผู้อนุบาลคนเดิมที่ดูแลและเลี้ยงดูอ. ซึ่งเป็นบุคคลวิกลจริต โดยพักอาศัยอยู่ที่บ้านเดียวกันตลอดมา และนับแต่ ว. ถึงแก่กรรมผู้ร้องก็เป็นผู้ดูแลและพา อ. ไปรักษายามเจ็บป่วยมาโดยตลอด ย่อมถือว่าผู้ร้องเป็นผู้ซึ่งปกครองดูแล อ.คนไร้ความสามารถจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้อนุบาลของอ. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28
เมื่อคำนึงถึงประโยชน์และความผาสุกของ อ. ในอันที่จะได้อยู่ในบ้านเดิมที่ตนได้พักอาศัยตลอดมาตั้งแต่เด็กจนปัจจุบันเป็นเวลาเกินกว่า 50 ปี การได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่องและความรัก ความอบอุ่น รวมตลอดถึงความห่วงใยแล้วผู้ร้องมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้อนุบาลของ อ.มากกว่าผู้คัดค้านทั้งปรากฏว่าอ. บรรลุนิติภาวะแล้วไม่มีคู่สมรสและบิดามารดา ศาลจึงมีอำนาจแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลของ อ.แทนว. ซึ่งเป็นผู้อนุบาลคนเดิมที่ถึงแก่ความตายแล้วได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1569/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8334/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก: ความผูกพันของจำเลยตามหนังสือค้ำประกัน
หนังสือค้ำประกันมีข้อความว่า "?บริษัท ต. ได้ค้ำประกันการซื้อสินค้าถุงพลาสติกระหว่าง ซ. (ผู้ซื้อ) กับโจทก์ (ผู้ขาย) ? หากบริษัท ต. ไม่สามารถชำระเงินให้ จำเลย สาขาสุพรรณบุรี ตกลงชำระเงินแทนให้ 600,000 บาท" จำเลยได้ทำหนังสือค้ำประกันฉบับดังกล่าวขึ้น โดยบริษัท ต. ยื่นคำขอให้จำเลยออกหนังสือสัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า จำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์หากบริษัท ต. ไม่ชำระหนี้ โดยบริษัท ต. กับจำเลยจัดทำหนังสือค้ำประกัน จากนั้น ทางบริษัท ต. ได้จัดส่งเอกสารดังกล่าวให้โจทก์ หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบริษัท ต. กับจำเลยมิใช่สัญญาที่จำเลยทำกับโจทก์ว่าหากบริษัท ต. ผู้ค้ำประกันไม่ชำระหนี้ จำเลยจะชำระแทน จึงมิใช่สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 กรณีจึงมิใช่สัญญาที่จำเลยเป็นผู้รับเรือนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 682 วรรคหนึ่ง แต่หนังสือสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทำสัญญากับบริษัท ต. ยินยอมจะชำระหนี้ให้โจทก์ เมื่อโจทก์แสดงเจตนาแก่จำเลยว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6922/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องสอดเป็นจำเลยร่วมขึ้นอยู่กับส่วนได้เสียโดยตรงในมูลหนี้เดิม ไม่ใช่ความผูกพันที่เกิดขึ้นภายหลัง
หนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยอันเป็นฐานแห่งสัญญาจำนองนั้น ผู้ร้องมิได้มีส่วนได้เสียเกี่ยวพันด้วย ที่ผู้ร้องอ้างว่า ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนองและรับช่วงภาระการจำนองมาด้วยก็เป็นความเกี่ยวพันรับผิดชอบหลังจากผลพิพาทในมูลหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยอีกชั้นหนึ่ง ดังนี้ผู้ร้องยังไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องในผลแห่งคดีที่โจทก์กับจำเลยพิพาทกันในส่วนที่เกี่ยวกับมูลหนี้กู้ยืมในคดีนี้ จึงไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8599/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อนุญาโตตุลาการ-บังคับตามคำชี้ขาด-ความผูกพันสัญญาซื้อขาย-บทกฎหมายความสงบเรียบร้อย
ไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องเรียกตัวผู้เป็นอนุญาโตตุลาการมาไต่สวนก่อนมีคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีโดยไม่มีการนำสืบตัวผู้เป็นอนุญาโตตุลาการจึงเป็นการชอบแล้ว
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการถือว่าเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณี เป็นแต่หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดแล้ว ยังไม่อาจที่จะบังคับได้จนกว่าจะได้มีการนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก่อน เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมีคำพิพากษาตามหรือปฏิเสธคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว จึงต้องห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทจะมีมากน้อยเพียงใดเว้นแต่การอุทธรณ์จะเป็นไปตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มาตรา 26(1) ถึง (5) จึงจะอุทธรณ์ได้ การที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์อ้างว่าอนุญาโตตุลาการกระทำการไม่สุจริตและผู้ร้องใช้กลฉ้อฉล คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 26(1) จึงอุทธรณ์ได้
แม้การซื้อขายที่มีราคาเกินกว่า 500 บาท มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ดังที่ผู้คัดค้านฎีกา แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็มิใช่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านได้เกิดขึ้นแล้วโดยชอบ เพียงแต่จะฟ้องร้องบังคับกันได้หรือไม่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น นอกจากนี้คำคัดค้านของผู้คัดค้านในชั้นอนุญาโตตุลาการก็มิได้ยกข้ออ้างที่ว่าการตกลงซื้อขายระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้คัดค้านไว้เป็นสำคัญไว้เป็นสำคัญที่ผู้ร้องไม่อาจยกขึ้นบังคับดังกล่าวแต่อย่างใด การที่อนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยความผูกพันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเฉพาะเรื่องความรับผิดในการที่ผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายแล้วมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้อง จึงชอบแล้ว เมื่อผู้คัดค้านไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยที่ผู้คัดค้านก็ยอมรับในคำคัดค้านของตนว่าจะยอมผูกพันตามคำสั่งกระบวนพิจารณาและกฎระเบียบของข้อบังคับอนุญาโตตุลาการจนเป็นเหตุให้ผู้ร้องนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่จะใช้บังคับผู้คัดค้านต่อไป ซึ่งศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งมานั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯ ที่บัญญัติไว้โดยชอบแล้ว คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่มีส่วนใดขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนดังเช่นที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบริการจัดหาผู้ซื้อ: สัญญาสำเร็จผลผูกพัน แม้มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาภายหลัง
โจทก์จัดหาผู้ซื้อมาทำสัญญาซื้อขายกับจำเลย โดยจำเลยให้ค่าบริการแก่โจทก์ร้อยละ 1.5 ของยอดขายตามสัญญา คิดเป็นเงิน 7,470,604.95 บาท ตกลงแบ่งชำระเป็น 3 งวด ดังนั้น เมื่อจำเลยชำระเงินให้โจทก์เพียงงวดเดียว จำเลยจึงต้องรับผิดชำระงวดที่สองและงวดที่สามที่เหลือ แม้ต่อมาผู้ขายจะตกลงเปลี่ยนแปลงสัญญากับ ผู้ซื้อใหม่โดยลดยอดขายลงก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดที่จะต้องชำระเงินจนครบ เพราะถือว่าได้มีการทำสัญญาซื้อขายกันเป็นผลสำเร็จเนื่องจากการที่โจทก์ชี้ช่องหรือจัดการแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7285/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเล่นแชร์: ความผูกพันตามข้อตกลงและข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534
จำเลยซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ไปได้แล้วย่อมมีหน้าที่ผูกพันตามข้อตกลงต้องส่งเงินคืนคือสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ การที่จำเลยประมูลแชร์ได้แล้วสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ที่ยังประมูลไม่ได้เช็คนั้นจึงมีมูลหนี้ต่อกันจำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 6(1) ถึง (4) เท่านั้น ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันกฎหมายฉบับนี้หาได้มีบทบัญญัติห้ามเล่นแชร์แต่อย่างใดไม่การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง อันเกิดจากการตกลงกันระหว่างผู้เล่น จึงต้องมีผลผูกพันและบังคับกันได้ตามกฎหมายการชำระหนี้ค่าแชร์ตามฟ้องจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานพิเศษนอกเหนือหน้าที่ปกติ ไม่ถือเป็นความผูกพันในฐานะนายจ้างลูกจ้าง สิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนจึงไม่เกิดขึ้น
การส่งสิ่งพิมพ์ในช่วงบ่ายโจทก์จะเป็นผู้ไปเบิกสิ่งพิมพ์และจำเลยจะลงรายการเบิกหนังสือพร้อมราคาหนังสือที่เบิกไว้โดยคิดค่าสิ่งพิมพ์จากโจทก์ราคา70เปอร์เซ็นต์ของราคาปกจากนั้นโจทก์มีหน้าที่เก็บค่าสิ่งพิมพ์และนำเงินไปหักลดยอดหนี้ค่าสิ่งพิมพ์กับจำเลยทั้งการไปรับสิ่งพิมพ์ในช่วงบ่ายโจทก์จะไปรับหรือไม่ก็ได้ไม่มีการลงเวลาทำงานหากไม่ไปรับก็ไม่ถือว่าเป็นการขาดงานดังนี้ลักษณะงานในช่วงดังกล่าวจึงเป็นงานพิเศษที่โจทก์และจำเลยตกลงต่อกันนอกเหนือหน้าที่การงานตามปกติที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยมีความผูกพันต่อกันในฐานะนายจ้างลูกจ้างในงานดังกล่าวนี้
of 8