คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความยุติธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4091/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การฟ้องบังคับชำระหนี้ขัดต่อหลักความยุติธรรม
จำเลยติดต่อขอชำระหนี้ และส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่รับชำระหนี้กลับยื่นฟ้องจำเลย การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์เพื่อบังคับจำเลยชำระหนี้ทั้งหมดเป็นการอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลและความยุติธรรม
การย่นหรือขยายระยะเวลาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 26 นั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดให้คู่ความต้องยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานก่อนสิ้นสุดระยเวลาตามที่กำหนดไว้ แม้ระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางในคดีนี่จะสิ้นสุดไปแล้ว โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลางได้ ส่วนศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือไม่เพียงใด ก็ต้องพิจารณาถึงความจำเป็นหรือเหตุอันจำเป็นของโจทก์ว่ามีจริงหรือไม่เพียงใด และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมหรือไม่ ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าโจทก์ยื่นขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามกฎหมาย แล้วยกคำร้อง โดยมิได้พิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นตามคำร้องของโจทก์และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมหรือไม่ จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีต้องแสดงเหตุให้ศาลเห็นว่าหากไม่อนุญาตจะทำให้เสียความยุติธรรม แม้ป่วยจริงก็ต้องแสดงเหตุผลประกอบ
ในการขอเลื่อนคดีของคู่ความนั้น กฎหมายได้บัญญัติรายละเอียดและเหตุที่จะขอเลื่อนคดีไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 39 และ 40 การที่จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีเป็นครั้งที่ 5 และยื่นใบรับรองแพทย์มาด้วยเพื่อยืนยันว่าทนายจำเลยทั้งสองป่วยจริงไม่สามารถมาศาลได้ แม้โจทก์มิได้คัดค้านและข้อเท็จจริงจะฟังว่าทนายจำเลยทั้งสองป่วยจริงซึ่งมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ แต่คำร้องขอเลื่อนคดีระบุเพียงว่าขอเลื่อนคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ได้แสดงให้เห็นชัดเจนในคำร้องว่าหากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไร จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคหนึ่ง อีกทั้งการที่คู่ความขอเลื่อนคดีเพราะป่วยเจ็บ ศาลก็ไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 41 กล่าวคือ ตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจอาการป่วยเจ็บเสมอไป เพราะกรณีตามมาตรา 41 นั้น เป็นเรื่องที่ศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่เชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขอเลื่อนคดีป่วยถึงกับไม่สามารถมาศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, การรับคำฟ้องใหม่, และผลกระทบต่อการดำเนินคดี: กรณีทนายความไม่มีใบอนุญาต
แม้ ป. จะเรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 แล้วก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์ทั้งสองหลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และ ว. ได้ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับคดีโจทก์ทั้งสิ้น ป. จึงทำหน้าที่เป็นทนายความให้โจทก์ทั้งสองเพียงร่างคำฟ้องและลงชื่อในคำฟ้องเท่านั้น จำเลยทั้งเก้าก็มีโอกาสต่อสู้คดีตามคำฟ้องได้เต็มที่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทั้งสองทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ทั้งสองลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้โต้แย้งว่าข้อความในคำฟ้องเดิมไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งสอง ซึ่ง พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 มุ่งให้ความ คุ้มครอง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไป เนื่องจากจำเลยทั้งเก้าซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนโจทก์ทั้งสองก็สืบพยานจนเหลือพยานอีกเพียง 2 ปากเท่านั้น คดีก็จะเสร็จสิ้นการพิจารณา ตรงกันข้ามหากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของโจทก์ตั้งแต่ยื่นคำฟ้องอันจะส่งผลให้โจทก์ต้องทำคำฟ้องใหม่ จำเลยทั้งเก้าทำคำให้การใหม่ และสืบพยานกันใหม่ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่บังคับให้จำเลยทั้งเก้าต้องทำคำให้การและสืบพยานเหมือนเดิม จำเลยทั้งเก้าย่อมมีโอกาสแก้ไขปรับปรุงรูปคดีที่อาจเสียเปรียบให้กลับได้เปรียบได้ อันทำให้จำเลยทั้งเก้าได้เปรียบทางเชิงคดีซึ่งหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นชอบด้วยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่สั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาตามคำร้องของจำเลยที่ 7 และที่ 8 และให้แก้ไขคำฟ้องใหม่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของ ป.วิ.พ. มาตรา 27 แล้ว
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้น และไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยทั้งเก้าจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 กรณีนี้จึงเท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังทนายความถูกเพิกถอน และผลกระทบต่อความยุติธรรมในการพิจารณาคดี
ป. เป็นผู้เรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 แต่โจทก์ก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์หลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และ ว. ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับคดีทั้งสิ้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไป จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำสั่งรับคำฟ้องฉบับใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้นและไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6543/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตเลื่อนคดี: เหตุผลความจำเป็นและผลกระทบต่อความยุติธรรม
จำเลยเคยขอเลื่อนคดีมาครั้งหนึ่งแล้ว ในครั้งหลังจำเลยขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุว่า จำเลยมีอาชีพเลี้ยงสุกรและสุกรล้มป่วยเนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลง จำเลยต้องการดูแลสุกรจึงไม่อาจมาศาลได้ กรณีมิใช่เหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ อีกทั้งตามคำขอเลื่อนคดีมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่า ถ้าไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจะทำให้เสียความยุติธรรมศาลจึงไม่อาจให้เลื่อนคดีได้ ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยจึงเป็นปัญหาอันไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยในคดีแรงงานและการรับฟังพยานนอกบัญชีรายชื่อเพื่อความยุติธรรม
ที่โจทก์แถลงขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อจำเลยก็เนื่องมาจากจำเลยยื่นคำให้การระบุชื่อจำเลยแทนชื่อบริษัทที่โจทก์ฟ้อง ทั้งจำเลยก็มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย คงต่อสู้ว่าจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยผิดตัว เพียงแต่ระบุชื่อจำเลยผิดเท่านั้น
การที่โจทก์แถลงขอแก้ไขชื่อจำเลยให้ตรงกับความเป็นจริงถือว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อย โจทก์สามารถแถลงขอให้แก้ไขได้ทันที การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้แก้ไขจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 180 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว จึงนำบทบัญญัติมาตรา 88 แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับไม่ได้ นอกจากนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจศาลแรงงานสามารถเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
แม้โจทก์จะอ้างตนเองและนำ ย.เข้าเบิกความต่อศาลแรงงานโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ แต่ศาลแรงงานก็อนุญาตให้โจทก์และ ย.เข้าเบิกความเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานจึงชอบที่จะรับฟังพยานของโจทก์ดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์ลาออกจากงานเอง การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่โจทก์ลาออกเองตามที่จำเลยให้การต่อสู้ แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์กระทำผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 84,177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4091/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่มีเหตุจำเป็น และการพิสูจน์ความเสียหายจากการไม่อนุญาตเลื่อนคดี
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีครั้งแรกไปแล้ว โจทก์จะมาขอเลื่อนคดีครั้งต่อไปอีกไม่ได้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ และโจทก์จะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลด้วยว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ศาลจึงจะสั่งให้เลื่อนคดีไปได้ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคหนึ่ง แต่ในการขอเลื่อนคดีของโจทก์ครั้งที่ 2 นี้ อ้างว่าต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจของโจทก์เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ทนายความของโจทก์อีกคนหนึ่งนำไปขึ้นศาลต่างจังหวัดและไม่อาจกลับมาทัน จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบในวันนี้ได้ ทั้งที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องหมายเลข 2 ของโจทก์ และทนายโจทก์ก็ไม่ได้มาศาลเพื่อแถลงประกอบให้ศาลเห็นว่าเหตุที่อ้างนั้นเป็นเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ นอกจากนี้โจทก์ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไร คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานโจทก์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: โจทก์ฟ้องฐานใด ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษฐานนั้น ย่อมถือว่าโจทก์ได้รับความยุติธรรมแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรต้องถือว่าศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยเต็มตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เพื่อให้ลงโทษจำเลยเป็นอย่างอื่นได้อีก
คดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินที่จำเลยรับไว้ในการกระทำผิดฐานรับของโจรและยังไม่ได้คืนให้แก่ผู้เสียหายเท่านั้น หาใช่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามฟ้องไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวนเต็มตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายนั้นยังไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในคดีฉ้อโกงและการบังคับคดี
จำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ร่วมได้เงิน 700,000 บาทไป ศาลก็ชอบที่จะสั่งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินจำนวนนี้คืนให้แก่โจทก์ร่วมเพราะเมื่อร่วมกันกระทำความผิดก็ต้องร่วมกันชดใช้ การสั่งเช่นนี้เป็นการสั่งโดยคำนึงถึงความผิดทางอาญาของจำเลยทั้งสองเป็นสำคัญ ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้โดยคำนึงถึงคดีแพ่งที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2 ระหว่างดำเนินคดีนี้ และเห็นว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้มีการยอมความกันแล้ว หากจำเลยที่ 2ไม่ปฏิบัติ โจทก์ร่วมมีสิทธิขอให้บังคับคดีในคดีแพ่งดังกล่าวได้ จึงไม่ถูกต้อง เพราะคดีแพ่งดังกล่าวโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2 คนเดียว มิได้ฟ้องจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์ยกคำขอของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในการใช้เงินคืน ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดไป และข้อเท็จจริงได้ความตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า จำเลยที่ 2 ยังไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งดังกล่าวและมีทรัพย์สินไม่เพียงพอแก่การบังคับคดีด้วย ย่อมไม่เป็นการยุติธรรมต่อโจทก์ร่วม ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในเงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องคืนแก่โจทก์ร่วมตามที่ทางพิจารณาได้ความ
of 7